คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนมแม่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น

IMG_6149

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า การที่มารดามีความรู้ เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การที่มารดาจะมีความรู้ เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ส่วนหนึ่งมารดาอาจจะได้ความรู้จากการอ่านหนังสือ หรือการค้นคว้าผ่านฐานข้อมูลความรู้ในอินเตอร์เน็ต แต่อีกส่วน อาจได้จากการให้คำปรึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความรู้และคำปรึกษาเรื่องประโยชน์และความสำคัญของนมแม่ในระหว่างการฝากครรภ์ ซึ่งมารดาจะให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ใกล้จะต้องปฏิบัติจริง คือ ในระยะหลังคลอดต้องให้นมลูก ดังนั้น ผลของการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการศึกษาพบว่า การให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยพบมารดาที่ได้รับการให้คำปรึกษามีระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่ามารดาที่ไม่ได้รับการให้คำปรึกษาถึง 60 วัน1 การให้คำปรึกษาแก่มารดาในระยะฝากครรภ์จึงถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Khan AI, Kabir I, Eneroth H, et al. Effect of a randomised exclusive breastfeeding counselling intervention nested into the MINIMat prenatal nutrition trial in Bangladesh. Acta Paediatr 2017;106:49-54.

การให้ลูกดูดจุกนมหลอกลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3650

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การให้ลูกดูดจุกนมหลอกเพื่อให้ลูกสงบหรือหยุดร้องมีผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงได้ เพราะการดูดจุกนมหลอกช่วยเพียงให้ทารกพึงพอใจจากการได้ดูดจุกนมเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้เกิดการกระตุ้นการสร้างน้ำนม หรือฝึกการให้ลูกได้กินนมแม่ตามที่ต้องการเมื่อมีอาการหิว มีการศึกษาวิจัยยืนยันว่า การให้ลูกดูดจุกนมหลอกลดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวถึงราวร้อยละ 30 ในระหว่างการอยู่ที่โรงพยาบาล1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความรู้แก่มารดาให้มีความเข้าใจ และปฏิบัติตนเองในการให้นมลูกได้อย่างถูกต้อง เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สูงขึ้น ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Kair LR, Colaizy TT. Association Between In-Hospital Pacifier Use and Breastfeeding Continuation and Exclusivity: Neonatal Intensive Care Unit Admission as a Possible Effect Modifier. Breastfeed Med 2017;12:12-9.

การศึกษาของมารดาสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3642

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ปัจจัยในเรื่องการศึกษาของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การศึกษาทำให้มารดามีความรู้ เห็นประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า ปัจจัยเรื่องการศึกษามีความสำคัญมากกว่าเชื้อชาติในการส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ดังนั้น รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการศึกษา รวมทั้งการจัดการให้ความรู้เรื่องนมแม่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ร่วมกับการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติของมารดาโดยบุคลากรทางการแพทย์ น่าจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นและมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Hendrick CE, Potter JE. Nativity, Country of Education, and Mexican-Origin Women’s Breastfeeding Behaviors in the First 10 Months Postpartum. Birth 2017;44:68-77.

การมีประสบการณ์ที่พบเห็นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลทัศนคติของมารดา

img_2202

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การที่สตรีได้มีประสบการณ์การเห็นหรือได้ใกล้ชิดกับมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเป็นญาติพี่น้อง เพื่อน หรือคนในครอบครัว ส่งผลต่อทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะส่งผลต่อการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การรณรงค์การช่วยสร้างบรรยากาศที่ทำให้ทุกคนคุ้นเคยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ทางสื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต แผ่นพับ หนังสือ หรือป้ายที่ติดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะสร้างกระแสสังคม และวัฒนธรรมนมแม่ ทำให้นมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานที่แม่จะมอบอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก ค่านิยมนี้จะส่งผลต่อมารดาและคนในสังคม ที่หากพบว่ามารดาไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติหรือแปลก หากเราสร้างสังคมที่มีค่านิยมนมแม่ได้ ก็จะได้ทารกที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่ดี มีความเฉลียวฉลาด และมีสุขภาพที่ดีในอนาคต สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ การกำหนดการพัฒนาเรื่องนมแม่ไว้ในแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว 20 ปีจึงควรมีการดำเนินการ สร้างแผน ติดตามและประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

เอกสารอ้างอิง

  1. Jefferson UT. Breastfeeding Exposure, Attitudes, and Intentions of African American and Caucasian College Students. J Hum Lact 2017;33:149-56.

ภาวะจิตใจของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1089

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะจิตใจมีผลต่อร่างกาย ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็เช่นกัน หากมารดามีอาการซึมเศร้า มีความวิตกกังวลในจิตใจ รวมทั้งมีประวัติคู่นอนใช้ความรุนแรงทางเพศ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา1 ซึ่งสะท้อนผลของจิตใจที่กระทบต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติของมารดา หากมารดาได้รับความเข้าใจ การเอาใจใส่ที่ดี และการสนับสนุนของบุคลากรทางการแพทย์ สามี และคนในครอบครัวอย่างเหมาะสม ก็น่าจะช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าทางด้านจิตใจที่เป็นผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้เพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Islam MJ, Baird K, Mazerolle P, Broidy L. Exploring the influence of psychosocial factors on exclusive breastfeeding in Bangladesh. Arch Womens Ment Health 2017;20:173-88.