รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?ก่อนอื่นต้องให้ข้อมูลของภาวะลิ้นติดของทารกแรกเกิดที่ทำให้เกิดปัญหามารดาเจ็บหัวนมขณะให้นมลูกและทำให้ทารกดูดนมได้ไม่ดี โดยแสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่พบในประเทศไทย โดยรวบรวมจากงานวิจัยที่ได้มีการศึกษาจากโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์1 โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนที่พบปัญหาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เท่าที่มีข้อมูลแก่สังคมและผู้ที่มีบทบาทรับผิดชอบทั้งในด้านการแพทย์ การบริหารงานระบบสุขภาพ รวมทั้งรัฐบาล เพื่อสร้างกระแสความใส่ใจในปัญหาและขนาดของปัญหา จากนั้น สร้างแนวทางการดูแลรักษา วางระบบให้แก่หน่วยงานสุขภาพ บทบาทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลชุมชนควรจะมีบทบาทในการคัดกรองให้การวินิจฉัยเบื้องต้นและส่งต่อมาที่โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งต้องมีการจัดอบรมบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลชุมชนให้มีศักยภาพในการให้การวินิจฉัย และอบรมบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ให้ทั้งมีศักยภาพในการวินิจฉัยและให้การรักษาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มโรงพยาบาลปฐมภูมิ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายโรงเรียนแพทย์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ และโสต ศอ นาสิกแพทย์ที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และความตระหนักให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และจัดอบรมหลักสูตรรระยะสั้นเพื่อช่วยให้เกิดการดูแลรักษาในระบบและจัดต่อเนื่องจนเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อไป โดยเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาไปพร้อมกัน
เอกสารอ้างอิง
ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ภาวะลิ้นติดของทารกแรกเกิดมักทำให้เกิดปัญหามารดาเจ็บหัวนมขณะให้นมลูกและทำให้ทารกดูดนมได้ไม่ดี แต่การวินิจฉัยภาวะนี้ยังมีนิยามที่ใช้หลากหลาย ทำให้อุบัติการณ์ที่รายงานมีความแตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทย จากการเก็บข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ มศว พบราวร้อยละ 13-14 โดยพบภาวะลิ้นติดที่มีความจำเป็นต้องให้การรักษาประมาณครึ่งหนึ่งของที่พบทั้งหมด คือ ภาวะลิ้นติดปานกลางและรุนแรง โดยหลังการให้การวินิจฉัย หากทำการผ่าตัดแก้ไขภายในสัปดาห์แรกหลังคลอดได้ 1 จะลดปัญหาเรื่องมารดาเจ็บหัวนม ทารกกินได้น้อย หรือทารกตัวเหลือง และเป็นการช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาการขาดการดูแลและการให้การผ่าตัดรักษาที่ยังขาดบุคลาการทางการแพทย์ที่รับผิดชอบที่ชัดเจน โดยบางแห่งกุมารแพทย์เป็นผู้ดูแล แต่บางแห่งอาจเป็นศัลยแพทย์ แพทย์ทางโสต ศอ นาสิก หรือสูติแพทย์ดูแลเอง ในขณะที่ส่วนใหญ่ขาดผู้ดูแลและวางระบบการให้การรักษา ดังนั้น การบริหารจัดการสร้างระบบและเครือข่ายการดูแลรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?ประโยชน์ของนมแม่มีมากมายหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การถ่ายทอดภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านการติดเชื้อให้แก่ทารกโดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจ และการเกิดท้องเสีย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า การให้ลูกกินนมแม่นาน ยิ่งลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ และการเกิดท้องเสีย อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานั้นเปรียบเทียบความเจ็บป่วยของทารกที่กินนมแม่ที่สามเดือน และหกเดือน โดยการกินนมแม่ที่หลังคลอดที่สามเดือนนั้นวิเคราะห์ผลในทารกที่กินนมแม่เป็นหลัก แต่ที่หลังคลอดหกเดือนวิเคราะห์ผลในทารกที่กินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริม ซึ่งพบว่า ทารกที่กินนมแม่ที่หกเดือนมีผลต่อการลดการติดเชื้อลงได้ถึงร้อยละ 551 ดังนั้น หากส่งเสริมให้มารดาได้ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนแรกหลังคลอด อัตราการลดการติดเชื้อในทารกอาจพบน้อยลงได้อีก จึงมีความน่าสนใจที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมในระยะต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Raheem RA, Binns CW, Chih HJ. Protective effects of breastfeeding against acute respiratory tract infections and diarrhoea: Findings of a cohort study. J Paediatr Child Health 2017.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า รายได้ของครอบครัวมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ครอบครัวที่มีรายได้สูงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกหลังคลอดกลับพบว่า มารดาที่มีรายได้ของครอบครัวสูงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกหลังคลอดน้อยกว่ามารดาที่มีรายได้ของครอบครัวต่ำ 1 สิ่งนี้อาจสะท้อนถึงผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่อาจช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัว นอกจากนี้ อาจสะท้อนถึงการตัดสินใจแก้ไขปัญหาโดยการซื้อและให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกในมารดาที่มีรายได้สูง อาจตัดสินใจง่ายกว่าที่จะทางเลือกนี้ ดังนั้น แม้ในครอบครัวที่มีรายได้สูงก็ยังคงจำเป็นที่จะต้องเน้นถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Qin H, Zhang L, Zhang L, et al. Prevalence of Breastfeeding: Findings from the First Health Service Household Interview in Hunan Province, China. Int J Environ Res Public Health 2017;14.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)