รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? กลุ่มอาการสมาธิสั้น (attention deficit hyperactive disorders หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติทางจิตประสาทที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางพฤติกรรมและจิตใจ การแสดงออกของอาการจะมีลักษณะขาดสมาธิในการจดจ่อในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีผลการเรียนจะต่ำ มีอารมณ์โกรธ ซึมเศร้า มีแรงกระตุ้นผลักดันให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย อยู่ไม่สุก โดยอาการมักเริ่มต้นเห็นอาการในวัยเด็ก ความชุกของกลุ่มอาการสมาธิสั้นที่พบทั่วโลกพบร้อยละ 5-8 ซึ่งจะพบเด็กที่ยังคงมีอาการต่อเนื่องไปถึงวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งของความชุกที่พบ มีรายงานถึงผลกระทบที่เกิดจากการมีความผิดปกติในกลุ่มอาการสมาธิสั้น ได้แก่ ทำให้เสียการเรียน สูญเสียอาชีพและบทบาทของด้านสังคม เพิ่มโอกาสการใช้ยาเสพติด เพิ่มอุบัติเหตุจากการจราจร เพิ่มโอกาสเกิดโรคทางจิตประสาทอื่นๆ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในภาพรวมของสังคม?
??????????? จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ได้แก่ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียดหรือภาวะกดดันสภาวะจิตหรือสังคม นิโคตินจากการสูบบุหรี่ การกินเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดโคเคน ภาวะแทรกซ้อนและการบาดเจ็บที่ศีรษะของทารกจากการคลอด ภาวะขาดเลือดหรือออกซิเจนของทารกในครรภ์ รวมถึงภาวะต่างๆ ที่ส่งผลทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทำให้เกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคกลุ่มเมตาบอลิก (metabolic disease) ได้
??????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด
??????????? มีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซินพบว่าช่วยหรือซ่อมแซมกลไกการเกิดการตั้งโปรแกรมอดออมของทารกได้1 ดังนั้น การให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งมีการกระตุ้นออกซิโตซินตามธรรมชาติก็น่าจะมีส่วนช่วยในการลดการเกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? การดำเนินชีวิตอย่างสมดุล พอเพียง และพอดี มีการวางแผนสำหรับการตั้งครรภ์เมื่อมีความพร้อมและอายุที่เหมาะสม การใส่ใจดูแลการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นพื้นฐานที่สุขภาพที่ดี เมื่อมารดามีสุขภาพที่ดี โอกาสที่จะสร้างให้เกิดลูกที่ดีและมีคุณภาพจะดีขึ้น แต่คำว่าสุขภาพนั้น ต้องมองถึงสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณด้วย ตัวอย่างเช่น หากมารดาตั้งครรภ์ ก่อนหน้านี้เคยกินกาแฟทุกวันเป็นประจำวันละ 1 แก้ว เมื่อตั้งครรภ์แล้วจึงงดกาแฟเด็ดขาด เนื่องจากความวิตกกังวลว่าจะเกิดผลเสียต่อทารก แล้วอดไม่ได้ กินกาแฟไปหนึ่งแก้วแล้วเครียดหนัก กลับอาจเกิดผลเสียต่อทารกจากความเครียดของมารดามากกว่าการกินกาแฟ หรือมารดาที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยก่อนตั้งครรภ์ แต่เห็นว่า การออกกำลังกายเป็นผลดีต่อการตั้งครรภ์ จึงตั้งหน้าตั้งตาออกกำลังกายอย่างหนักจนน้ำหนักลดระหว่างการตั้งครรภ์ ก็อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดีเช่นกัน อีกตัวอย่างหนึ่ง การได้รับแอลกอฮอล์หลังคลอดขณะให้นมบุตร อาจเกิดจากกินยาดองเหล้าหรือการเช้าสังคมเพียงเล็กน้อย ร่วมกับการหลีกเลี่ยงเว้นช่วงระยะเวลาให้นมบุตรให้เหมาะสม มีรายงานว่าไม่มีผลเสียต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกที่อายุหนึ่งปี1 แต่หากมารดาเครียด ความเครียดนี้อาจมีผลกระทบต่อการหลั่งน้ำนมโดยอาจส่งผลให้น้ำนมลดลงได้ นี่อาจแสดงถึงการใช้ชีวิตอย่างสมดุล มีความรู้ความเข้าอย่างเหมาะสม มีจิตใจที่เบิกบาน ไม่วิตกกังวล เครียดจนเกินไป มีการเข้าสังคม มีเพื่อนบ้านและสภาพแวดล้อมที่ดี มีจิตอาสาที่จะเผื่อแผ่และแบ่งบัน สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้เกิดผลที่ดีในการที่จะสร้างลูก เด็กที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ อย่างที่ประเทศชาติต้องการ โดยการมีนโยบายที่เสนอให้มีลูกเพื่อชาติ
เอกสารอ้างอิง
Wilson J, Tay RY, McCormack C, et al. Alcohol consumption by breastfeeding mothers: Frequency, correlates and infant outcomes. Drug Alcohol Rev 2017.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ครรภ์แฝดเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่ในปัจจุบันพบเพิ่มขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากค่านิยมของสตรีที่แต่งงานช้าลง เมื่อแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่ต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบเพิ่มขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์แฝดเป็นสิ่งที่พบตามมา เนื่องจากการที่ครรภ์แฝดมีโอกาสที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวจากการอยู่ในพื้นที่ในครรภ์มารดาที่มีความจำกัด ต้องอยู่ในภาวะแบ่งกันกินแบ่งกันอยู่ หลังคลอดทารกมีโอกาสต้องเข้ารักษาที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตเพิ่มขึ้น ทำให้การเริ่มนมแม่ทำได้ช้า รวมทั้งเมื่อให้นมแม่ได้แล้วยังต้องจัดเวลาเพื่อให้นมแก่ทารกที่มากกว่าหนึ่งคนให้เพียงพอ จึงมักพบว่าระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีครรภ์แฝดมักให้นมลูกได้สั้นกว่ามารดาที่เป็นครรภ์เดี่ยว มีความพยายามที่จะให้คำปรึกษา อบรม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์แฝด ซึ่งการให้คำปรึกษาที่ดีก็น่าจะช่วยให้มารดาและครอบครัวเตรียมพร้อมที่จะช่วยให้ลูกได้กินนมแม่ได้ดีขึ้น แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่เหนือกว่าจากการที่ให้ความรู้และให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แฝดจากการศึกษาทดลองแบบสุ่ม (randomized controlled trial)1 อย่างไรก็ตาม การดูแล การช่วยป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนของทารกแฝดให้น้อยลง น่าจะช่วยให้โอกาสของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีและมีสูงขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Whitford HM, Wallis SK, Dowswell T, West HM, Renfrew MJ. Breastfeeding education and support for women with twins or higher order multiples. Cochrane Database Syst Rev 2017;2:CD012003.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่พบเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เมื่อมารดาตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นวัยรุ่น ส่วนใหญ่มักอยู่ในวัยเรียน ซึ่งปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเกิดการคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อย และหากมีการตั้งครรภ์ในมารดาที่อายุน้อยกว่า 13 ปี อุ้งเชิงกรานของมารดาอาจจะยังขยายขนาดไม่เพียงพอ ทำให้การคลอดบุตรยากลำบากและเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น หลังคลอดมารดาวัยรุ่นโดยเฉพาะที่อยู่ในวัยเรียนมักมีอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมารดามักมีอารมณ์ความรู้สึกโดดเดี่ยวและมีความกังวลว่า คนอื่นๆ จะคิดอย่างไรกับการตั้งครรภ์ของตนเอง นอกจากนี้มักเกิดคำถามในใจว่า จะให้นมลูกได้ที่ไหน จะปั๊มนมให้ลูกได้อย่างไร และส่วนหนึ่งมีการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเมื่อมารดากลับไปเรียนต่อ 1 ดังนั้น จะเห็นว่า ปัญหาของมารดาวัยเรียนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ต้องการการดูแลให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาทั้งทางร่างกายและทางจิตใจที่บุคลากรทางการแพทย์ควรมีความเข้าใจถึงปัญหาของมารดาวัยเรียนเป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
West JM, Power J, Hayward K, Joy P. An Exploratory Thematic Analysis of the Breastfeeding Experience of Students at a Canadian University. J Hum Lact 2017;33:205-13.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่กินนมแม่มักมีน้ำหนักที่ลดลงหลังคลอดในสัปดาห์แรก ซึ่งหากน้ำหนักของทารกลดลงไม่เกินร้อยละ 7 จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อย แต่หากน้ำหนักทารกลดลงมากกว่าร้อยละ 7 พบว่าส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก 1 การที่เป็นเช่นนี้ เพราะเกณฑ์ในการให้การดูแลทารกเพิ่มเติมคือ น้ำหนักทารกที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 7 การแก้ไขปัญหาแนะนำการป้องกันการลดลงของน้ำหนักทารกมากกว่าการที่ปล่อยให้น้ำหนักทารกลดลงมากกว่าร้อยละ 7 แล้วจึงให้การรักษา การที่ทารกคลอดครบกำหนดน้ำหนักลดเกินกว่าร้อยละ 7 จะสามารถป้องกันได้โดยการบริหารจัดการให้ทารกได้เริ่มกินนมตั้งแต่ในชั่วโมงแรกหลังคลอด มีการกระตุ้นดูดนมที่สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งเสริมให้น้ำนมมาเร็ว ทำให้ลดปัญหาทารกที่มีน้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 7 ได้ ดังนั้น การใส่ใจกับกระบวนการช่วยให้น้ำนมมาเร็วและทำให้ทารกได้รับนมเพียงพอจะช่วยป้องกันปัญหานี้และอาจส่งผลต่อการลดภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดด้วย
เอกสารอ้างอิง
Thulier D. Challenging Expected Patterns of Weight Loss in Full-Term Breastfeeding Neonates Born by Cesarean. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2017;46:18-28.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)