คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

ข้อเท็จจริงในการใช้ยากระตุ้นน้ำนมในระยะแรกหลังคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ก่อนอื่น ควรมาทำความเข้าใจกับการสร้างน้ำนม ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

????? ระยะที่ 1 เริ่มในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ราว 5 เดือน ระยะนี้ต่อมเต้านมจะมีความพร้อมในการสร้างน้ำนม แต่ที่มักไม่พบมีการหลั่งน้ำนมเนื่องจากมารดาจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนที่สร้างจากรกสูงคอยยับยั้งการหลั่งน้ำนม

ระยะที่ 2 หลังคลอดในระยะแรก ราว 1-3 วันหลังการคลอด เมื่อมีการคลอดรก ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลดลงในทันที??? ในขณะที่มีฮอร์โมนโปรแลคตินสูง และมีปริมาณคอร์ติซอล (cortisol) ที่พอเหมาะ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหัวน้ำนม ในช่วงนี้จะมีการเพิ่มของเลือด ออกซิเจน และน้ำตาลมาเลี้ยงที่เต้านมมากขึ้น ร่วมกับในเต้านมเริ่มมีการสร้างและหลั่งน้ำนมออกมา ทำให้มารดาตึงคัดเต้านม การสร้างน้ำนมในระยะนี้จะเป็นหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลือง (colostrum) โดยกลไกการสร้างจะสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ลดลงเป็นหลัก

ระยะที่ 3 จะเป็นช่วงตั้งแต่ราว 3-7 วันหลังคลอด ระยะนี้ปริมาณน้ำนมจะมีความสัมพันธ์กับการกระตุ้นโดยการดูดนมและการให้นมจนเกลี้ยงเต้าจะเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการสร้างน้ำนม จากข้อมูลหลักฐานในปัจจุบัน สารที่มีผลยับยั้งการสร้างน้ำนมอยู่ในน้ำนม ได้แก่ โปรตีนเวย์ (whey) ที่ทำหน้าที่ควบคุมเป็นกลไกย้อนกลับ (feedback inhibitor of lactation) หรือทำหน้าที่เป็นสารยับยั้งการสร้างน้ำนม (lactation inhibitory factor) ในกรณีที่มีน้ำนมอยู่ในเต้านมจะควบคุมให้ผลิตน้ำนมน้อย และในกรณีที่น้ำนมเกลี้ยงเต้าจะควบคุมให้ผลิตน้ำนมมาก

ยาที่มักใช้ในการกระตุ้นน้ำนม ได้แก่ domperidone ยานี้จะออกฤทธิ์ในการกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้น แต่หากมาดูข้อมูลของระดับโปรแลคตินในช่วงหลังคลอดแล้ว จะพบว่า ?ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินในช่วงระยะ 7 วันแรกหลังคลอด หากมารดามีการกระตุ้นให้ทารกดูดนมบ่อย ๆ จะเท่ากับ 100 ng/ml ซึ่งจะใกล้เคียงกับระดับของฮอร์โมนโปรแลคตินเมื่อได้รับยาในระยะหลังคลอดช่วง 7 วันแรก?1-4 ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นในการที่จะใช้ยา domperidone ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ควรแนะนำให้มารดาให้ทารกดูดนมบ่อย ๆ ตั้งแต่วันละ 8 ครั้งขึ้นไป บุคลากรทางการแพทย์ควรมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยานี้ เพื่อให้การเลือกใช้ยาทำได้อย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงอันตรายจากการใช้ยา domperidone ซึ่งต้องมีความระมัดระวังในการใช้ยาในมารดาที่เป็นโรคหัวใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Walker M. Breastfeeding Management for the Clinician: Using the Evidence. Boston: Jones and Bartlett, 2006: 63-66.2.
  2. Riordan J. Breastfeeding and Human Lactation, 3rd ed. Boston and London: Jones and Bartlett, 2005: 75-77.
  3. Serri O, Chik CL, Ur E, Ezzat S. Diagnosis and management of hyperprolactinemia. CMAJ. 2003 Sep 16;169(6):575-81.
  4. da Silva OP, Knoppert DC, Angelini MM, Forret PA. Effect of domperidone on milk production in mothers of premature newborns: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. CMAJ. 2001;164:17-21.

ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเมตาบอลิกสูงขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันคนในสังคมมีโรคทางเมตาบอลิกเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล โรคทางเมตาบอลิก ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคทางหลอดเลือดสูงขึ้นที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่า วิธีการคลอดมีผลต่อการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในทารกได้ โดยทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ และโรคทางเมตาบอลิกสูงกว่าทารกที่คลอดปกติทางช่องคลอด นอกจากนี้ หากทารกคลอดด้วยวิธีการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางเมตาบอลิกถึง 2.63 เท่า1 ดังนั้น หากมีการดูแลให้การคลอดมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสมตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเมตาบอลิกในทารกซึ่งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้เมื่อทารกเจริญวัยขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.

 

 

การชักนำการคลอดเสี่ยงต่อทารกตัวเหลือง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การดูแลการคลอดมีผลต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก การชักนำการคลอด คือ การกระตุ้นให้มารดามีการเจ็บครรภ์และคลอดบุตรโดยเป็นผลมาจากหลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกผ่านเข้าทางเส้นเลือด อมใต้ลิ้น หรือเหน็บช่องคลอด ปัจจุบันมีการชักนำการคลอดสูงขึ้น ซึ่งมีทั้งการชักนำการคลอดตามเหตุผลทางการแพทย์และการชักนำการคลอดด้วยเหตุอื่น ๆ เช่น การดูฤกษ์ยาม การเลือกเวลาที่สะดวกหรือว่างของแพทย์ หลังการชักนำการคลอด ส่วนหนึ่งของมารดาจะคลอดได้ทางช่องคลอด โดยมีที่เหลืออาจต้องใช้หัตถการในการทำคลอดคือใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศหรือการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาหลังจากการคลอดโดยหัตถการก็คือ การพบทารกตัวเหลืองสูงขึ้นถึง 2.75 เท่าของทารกที่คลอดปกติ1 ซึ่งเมื่อทารกมีภาวะตัวเหลืองก็มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเฉพาะ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการส่องไฟหรือการถ่ายเลือดทำให้อาจขัดขวางการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด ผลจึงกระทบถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.