คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การติดเครื่องฟังหัวใจทารกระหว่างการรอคลอด

IMG_0111

 

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในระหว่างการรอคลอด ในโรงพยาบาลที่มีเครื่องฟังหัวใจทารกและเครื่องตรวจจับการหดรัดตัวของมดลูกแบบอิเลคทรอนิคส์ (cardiotocography) มักจะใช้เครื่องนี้ในการดูแลมารดาและทารกระหว่างรอคลอด ซึ่งจะสามารถตรวจฟังหัวใจทารกและตรวจการหดรัดตัวของมดลูกได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การให้การดูแลมารดาระหว่างรอคลอดสะดวกมากขึ้น มีการศึกษาว่า การใช้เครื่องตรวจจับการหดรัดตัวของมดลูกแบบหัวตรวจอยู่ที่หน้าท้อง (external monitoring) กับหัวตรวจอยู่ในมดลูก (internal monitoring) ไม่มีความแตกต่างกันในผลของการดูแลมารดาและทารก1 และในโรงพยาบาลที่ไม่มีเครื่องมือนี้ การตรวจฟังหัวใจทารกและตรวจจับการหดรัดตัวของมดลูกโดยพยาบาลที่ชำนาญ ก็ไม่มีความแตกต่างกันในผลการดูแลเช่นเดียวกัน

? ? ? ? ? ?ประเด็นสำคัญในการดูแลระหว่างการรอคลอด คือ การไปตรวจเยี่ยมมารดาและทารกพร้อมกับอ่านผลการตรวจจากเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวก แต่หากไม่ไปตรวจดูแลตามระยะที่ควรจะเป็น ผลการตรวจจากเครื่องมือนี้จะเป็นหลักฐานในการแสดงการดูแลที่ต่ำกว่ามาตรฐานได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bakker JJ, Janssen PF, van Halem K, et al. Internal versus external tocodynamometry during induced or augmented labour. Cochrane Database Syst Rev 2013;8:CD006947.

 

 

 

 

 

 

 

การรักษาการแพ้ท้องระหว่างการตั้งครรภ์

w3

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?อาการแพ้ท้อง ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งในมารดาที่มีอาการน้อย อาจปรับเปลี่ยนลักษณะการกินอาหารเป็นรับประทานครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น โดยมีอาหารว่างระหว่างมื้ออาหารก็จะช่วยได้ แต่หากไม่ดีขึ้น การรักษาด้วยการให้วิตามินบีหก การให้ยาแก้แพ้ dimenhydrinate หรือยาแก้คลื่นไส้ ondansetron1 หรืออาจใช้การแพทย์ทางเลือก ได้แก่ การกินน้ำขิง การฝังเข็ม ก็สามารถช่วยได้

? ? ? ? ? ? สำหรับในกรณีที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง (hyperemesis gravidarum) การให้มารดานอนพักรักษาที่โรงพยาบาลจะช่วยบรรเทาอาการได้ดี โดยในมารดาที่มีความดันโลหิตสูง? มารดาที่มีอาการแพ้เริ่มตั้งแต่อายุน้อย หรือมารดาที่ได้รับยาแก้แพ้ จะเป็นตัวทำนายผลของการตั้งครรภ์ที่ไม่ดี2

เอกสารอ้างอิง

  1. Pasternak B, Svanstrom H, Hviid A. Ondansetron in pregnancy and risk of adverse fetal outcomes. N Engl J Med 2013;368:814-23.
  2. Fejzo MS, Magtira A, Schoenberg FP, et al. Antihistamines and other prognostic factors for adverse outcome in hyperemesis gravidarum. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2013;170:71-6.

 

การเสริมไอโอดีนระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร

bf44

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเสริมไอโอดีนระหว่างการตั้งครรภ์จะมีประโยชน์ในกรณีที่มารดาที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการขาดไอโอดีน ซึ่งจะช่วยป้องกันสาเหตุที่ป้องกันได้ในการเกิดทารกที่มีสติปัญญาต่ำและมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ช้า ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานไอโอดีนวันละ 220 ไมโครกรัม และสตรีที่ให้นมบุตรรับประทานไอโอดีนวันละ 290 ไมโครกรัม1 สำหรับในประเทศไทยมีการศึกษาว่าการเสริมไอโอดีนระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีประโยชน์ต่อมารดาและทารกเช่นกัน2

เอกสารอ้างอิง

  1. Stagnaro-Green A, Sullivan S, Pearce EN. Iodine supplementation during pregnancy and lactation. JAMA 2012;308:2463-4.
  2. Sukkhojaiwaratkul D, Mahachoklertwattana P, Poomthavorn P, et al. Effects of maternal iodine supplementation during pregnancy and lactation on iodine status and neonatal thyroid-stimulating hormone. J Perinatol 2014;34:594-8.

 

 

การรับประทานพืชสมุนไพรระหว่างการตั้งครรภ์

w36

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? การใช้พืชสมุนไพรระหว่างการตั้งครรภ์บางชนิดมีประโยชน์และบางชนิดอาจก่อให้เกิดโทษแก่มารดาและทารกได้ น้ำขิงมีประโยชน์ในการลดอาการคลื่นไส้ในมารดาที่มีอาการแพ้ท้องได้ แต่มีการศึกษาในประเทศอิตาลีถึงการกินน้ำมันอัลมอนด์ (almond oil) คาโมมายล์ (chamomile) และ fennel (พืชตระกูลผักชี) ต่อเนื่องกันอย่างน้อยสามเดือน พบว่าอาจมีอันตรายได้ โดยมีผลต่อระยะเวลาการตั้งครรภ์และน้ำหนักทารก ซึ่งในมารดาที่กินน้ำมันอัลมอนด์มีความเสี่ยงต่อการเกิดการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น 2.09 เท่า1 (95% confidence interval: 1.08-4.08)

เอกสารอ้างอิง

  1. Facchinetti F, Pedrielli G, Benoni G, et al. Herbal supplements in pregnancy: unexpected results from a multicentre study. Hum Reprod 2012;27:3161-7.

 

ยาฆ่าแมลงกับสตรีตั้งครรภ์

w32

 

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ยาฆ่าแมลงและยาฆ่าศัตรูพืช หากมีการใช้ในระหว่างที่สตรีตั้งครรภ์มีรายงานว่าทำให้เกิดอันตรายแก่ทารกโดยทำให้เกิดความผิดปกติของแขนขาและระบบประสาทเมื่อใช้เป็นเวลานาน ดังนั้น สตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและการได้รับยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าศัตรูพืช

เอกสารอ้างอิง

  1. Long VE, McMullen PC. Telephone triage for obstetrics and gynecology. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2010; 50.