รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ปัจจุบันในประเทศไทยมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูง ในสมัยก่อนที่เทคโนโลยีในการดมยาสลบและการผ่าตัดยังไม่ดี การผ่าตัดคลอดจะเป็นเรื่องที่อาจส่งผลทำให้ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้สูง เมื่อกระบวนการการดูแลรักษารวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ดีขึ้น มารดาและครอบครัวเริ่มที่จะมีความคิดและค่านิยมว่าการผ่าตัดคลอดเป็นทางเลือกของการคลอดที่สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อบ่งชี้ โดยเมื่อถึงกำหนดคลอด มารดาจะบอกแพทย์ผู้ดูแลว่า กลัวเจ็บครรภ์คลอด ขอผ่าตัดคลอด หรือต้องการคลอดตามฤกษ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทารกที่คลอดออกมาโชคดีหรือมีดวงดี ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะแม้ในปัจจุบันการผ่าตัดคลอดก็ยังคงมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการคลอดปกติตามธรรมชาติและยังมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะมีผลทำให้การเริ่มต้นการให้นมลูกช้า (มีการศึกษาพบว่าการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะช้ามารดาที่คลอดปกติกว่า 2 เท่า )1 ?ซึ่งส่งผลต่อการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรก การกระตุ้นน้ำนมทำได้ช้า และพบมารดาที่ผ่าตัดคลอดมีความรักความผูกพันน้อยกว่ามารดาที่คลอดปกติตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยการผ่าตัดคลอด บุคลากรทางการแพทย์ควรพยายามปรับเปลี่ยนการดูแลเพื่อส่งเสริมให้มารดาได้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เร็วขึ้น เช่น เลือกการให้ยาระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังทำให้มารดาสามารถรู้ตัว สามารถทำการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและเริ่มกระตุ้นดูดนมได้เร็ว ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Kambale RM, Buliga JB, Isia NF, Muhimuzi AN, Battisti O, Mungo BM. Delayed initiation of breastfeeding in Bukavu, South Kivu, eastern Democratic Republic of the Congo: a cross-sectional study. Int Breastfeed J 2018;13:6.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการการดูแลวางแผนแก้ไข เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักยังมีการทำงานของอวัยวะบางส่วนที่ยังไม่พร้อม โดยพบอาการหายใจเร็วได้บ่อย นอกจากนี้ ยังพบการทำงานของกระเพาะลำไส้อาจเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบและขาดเลือด ทารกควบคุมอุณหภูมิกายยังไม่ดีทำให้มีโอกาสตัวเย็น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ต้องการตู้อบที่ไว้ช่วยควบคุมอุณหภูมิให้ทารก ต้องการเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามการหายใจและการเต้นของหัวใจเพื่อประเมินอันตรายที่จะเกิดกับทารก ดังนั้น ทารกเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากรเครื่องมือที่มีราคาสูง ต้องการบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดูแล ซึ่งหากคลอดก่อนกำหนดนานก็ยิ่งต้องใช้เวลานานในการดูแลหรือเลี้ยงจนกว่าทารกจะโตพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงสูง และยังมีสถานที่ที่มีความพร้อมในการรับดูแลทารกเหล่านี้ไม่เพียงพอกับอุบัติการณ์ของการเกิดการคลอดก่อนกำหนดที่เพิ่มขึ้น และเมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นในวัยเด็กยังมีความเสี่ยงที่จะพบอาการของสมาธิสั้นสูงขึ้นโดยเฉพาะทารกเพศหญิง 1 ?การวางแผนการป้องกันและบรรเทาปัญหาการคลอดก่อนกำหนดจึงควรเริ่มต้นวางแผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อสร้างกลไกหรือระบบส่งต่อที่เหมาะสมที่จะดูแลทารกเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
1.????? Ask H, Gustavson K, Ystrom E, et al. Association of gestational age at birth with symptoms of attention-deficit/hyperactivity disorder in children. JAMA Pediatr.? Published online June 25, 2018. doi:10.1001/jamapediatrics.2018.1315
VIDEO
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องอยู่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต มักได้รับการป้อนนมด้วยจุุกนมจากขวดและติดจุกนม เมื่อมาให้นมจากเต้า ทารกอาจจะปฏิเสธการดูดนมจากเต้า เนื่องจากการดูดนมจากเต้า ทารกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมและลานนมลึก ร่วมกับใช้ลิ้นดุนหรือกดไล่นมจากบริเวณลานนม ซึ่งกลไกการดูดนมจะยากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ทารกจะอมจุกนมเพียงตื้น ๆ มักเรียกภาวะที่ทารกปฏิเสธการดูดจากเต้านี้ว่า การสับสนหัวนม (nipple confusion)
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาพบเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของไทยพบร้อยละ 14.81 การคุมกำเนิดถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาของคุณศิณัฐชานันท์ วงษ์อินทร์ ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่ามารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องเพศศึกษาและการคุมกำเนิด สาเหตุของการมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดจากการอยากลอง สถานที่ที่เกิดการมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บ้านตนเองหรือบ้านเพื่อน แม้มารดาวัยรุ่นที่ศึกษาจะขาดความรู้ แต่พบว่ามีทัศนคติที่ดีต่อการคุมกำเนิด ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์ช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องเพศศึกษาและการคุมกำเนิดที่ถูกต้องเหมาะสม น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมลงได้
เอกสารอ้างอิง
Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)