การตัดฝีเย็บ ในปัจจุบันระหว่างการคลอด การตัดฝีเย็บจะเลือกใช้ในรายที่มีความจำเป็นเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นต้องตัดฝีเย็บในผู้คลอดทุกราย
คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ
การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ
วิดีโอการหนีบตัดสายสะดือ
การชะลอการหนีบตัดสายสะดือ
วิดีโอการช่วยคลอดไหล่และลำตัวของทารก
กระบวนการการช่วยคลอดไหล่และลำตัวทารก
วิดีโอการฉีดยาชาระหว่างการคลอด
กระบวนการฉีดยาชาระหว่างการคลอด
เวลาในการหนีบตัดสายสะดือหลังคลอดกับพัฒนาการของระบบประสาท
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน การหนีบตัดสายสะดือในทารกหลังคลอดปกติจะรอเวลานาน 30 วินาทีถึง 2 นาที ซึ่งจะช่วยให้เลือดที่อยู่ในรกได้โอนถ่ายมาสู่ทารกมากขึ้น โดยจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะซีดในทารกได้ และยังมีประโยชน์ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วย นอกจากนี้ มีการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางระบบประสาทของทารกที่มีการชะลอการตัดสายสะดือทารกหลังคลอด (นาน 2 นาทีหรือมากกว่า) กับทารกที่มีการหนีบตัดสายสะดือเร็ว (น้อยกว่า 10 วินาที) พบว่าเมื่ออายุ 4 ปี เด็กที่มีการชะลอการหนีบตัดสายสะดือหลังคลอดมีคะแนนของพัฒนาการของกล้ามเนื้อขนาดเล็กและการเข้าสังคมได้ดีกว่าเด็กที่มีการหนีบตัดสายสะดือเร็ว1 ดังนั้น แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรชะลอการหนีบตัดสายสะดือ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ในมารดาและทารก
เอกสารอ้างอิง
- Andersson O, Lindquist B, Lindgren M, Stjernqvist K, Domellof M, Hellstrom-Westas L. Effect of Delayed Cord Clamping on Neurodevelopment at 4 Years of Age: A Randomized Clinical Trial. JAMA Pediatr 2015.