คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานพยาบาล

DSC00094-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละสถานพยาบาลมีความแตกต่างกัน สถานพยาบาลที่มีการใช้นโยบายของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะมีกระบวนการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชัดเจนกว่าสถานพยาบาลที่ไม่ได้ใช้นโยบายนี้ในการดำเนินงานเรื่องอนามัยแม่และเด็ก การมีสถานที่อยู่ในเขตเมืองและชนบทเป็นปัจจัยหนึ่งที่น่าจะผลต่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน โดยมีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า สถานพยาบาลในเขตเมืองจะมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าสถานพยาบาลที่อยู่ในเขตชนบท1

??????????????? ในประเทศไทย หากมารดาต้องการที่จะคลอดบุตรในสถานพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาและครอบครัวจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของโรงพยาบาลที่จะไปฝากครรภ์และคลอด โดยดูการใช้นโยบายสายสัมพันธ์แม่ลูกของสถานพยาบาล สำหรับการใช้การอยู่ในเขตเมืองหรือชนบทของสถานพยาบาล ไม่มีข้อมูลการศึกษาว่ามีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม มารดาและครอบครัวอาจมีความลำบาก เนื่องจากศึกษาข้อมูลทางเลือกของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาลแต่ละสถานพยาบาลมีจำกัด และการค้นหาข้อมูลในสื่อสารสนเทศหรืออินเตอร์เน็ตมีพบน้อย การเพิ่มการสื่อสารหรือการรับรู้ว่าสถานพยาบาลใดมีนโยบายและการปฏิบัติที่ชัดเจนในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางช่องทางสื่อที่หลากหลาย น่าจะช่วยให้มารดาและครอบครัวตัดสินใจในการฝากครรภ์และคลอดบุตรในสถานพยาบาลที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Allen JA, Perrine CG, Scanlon KS. Breastfeeding Supportive Hospital Practices in the US Differ by County Urbanization Level. J Hum Lact 2015.

 

ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

DSC00090-1

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาหากมีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โอกาสจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จจะสูง ทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกัน และมีความสำคัญต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จที่นานขึ้น1 ดังนั้น การปรับเปลี่ยนทัศนคติของมารดาให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน่าจะเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องช่วยกันสร้างให้เกิดมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมที่เร่งรีบและมารดาต้องทำงานนอกบ้านมาก ค่านิยมที่เข้าใจเองว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมน่าจะง่าย สามารถให้คนที่เลี้ยงลูกชงนมผสมได้ความสะดวก และนมผสมจะทดแทนนมแม่ได้ยังคงมีอยู่มาก การมีพี่เลี้ยงหรือกลุ่มที่ให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยแม่ช่วยสนับสนุนและเป็นกำลังใจ ยังมีความขาดแคลน การเข้าถึงของมารดาในทุกกลุ่มยังทำได้ไม่ดี ทั้งๆที่ทราบว่า ทั้งทัศนคติและการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงต้องอาศัยทุกภาคส่วนในสังคมต้องช่วยกันสร้างสังคมนมแม่ในประเทศไทยให้เกิดขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Srinivas GL, Benson M, Worley S, Schulte E. A clinic-based breastfeeding peer counselor intervention in an urban, low-income population: interaction with breastfeeding attitude. J Hum Lact 2015;31:120-8.

 

 

ความเสี่ยงในระยะยาวของทารกจากการผ่าตัดคลอด

BUSIN200

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มนุษย์มีพัฒนาการของมดลูกเพื่อการตั้งครรภ์และมีพัฒนาการของช่องคลอดสำหรับการคลอด การผ่าตัดคลอดเป็นการรักษาในมารดาบางคนที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่ในปัจจุบันมีการผ่าตัดคลอดในมารดาที่มีความเสี่ยงต่ำโดยไม่จำเป็นมากขึ้น โดยอาจเนื่องจากความวิตกกังวลหรือกลัวเรื่องการฟ้องร้องจากมารดาและครอบครัว ทำให้อัตราการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลสูงราวร้อยละ 40-50 และอัตราการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลเอกชนสูงราวร้อยละ 70-80 มีการศึกษาถึงผลระยะยาวที่เกิดกับทารกที่ผ่าตัดคลอด พบว่า ทารกที่ผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 โรคหอบหืด และโรคอ้วนสูงกว่าทารกที่คลอดทางช่องคลอด1 รายละเอียดมีดังนี้

??????????????? ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 21.3 ในขณะที่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 19

??????????????? ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดโรคหอบหืดร้อยละ 9.5 ในขณะที่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดมีโอกาสเกิดโรคหอบหืดร้อยละ 7.9

??????????????? ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดโรคอ้วนร้อยละ 19.4 ในขณะที่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดมีโอกาสเกิดโรคอ้วนร้อยละ 15.8

??????????????? ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลความรู้ ความเข้าใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และค่านิยมของมารดา ครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ และแพทย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาวแก่ทารกที่จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นอนาคตของชาติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Blustein J, Liu J. Time to consider the risks of caesarean delivery for long term child health. BMJ 2015;350:h2410.

 

 

 

ความเสี่ยงของการมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก

BUSIN127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่น และสตรีตั้งครรภ์ มีการศึกษาพบว่าการมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเด็กและช่วงวัยรุ่นน่าจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคทางจิตเวช ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า (depressive disorder) โรคอารมณ์แปรปรวน (bipolar disorder) ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder)1 โดยสำหรับความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น การอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็ก ควรมีการเลือกลักษณะการรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็กและความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ส่วนการเสริมธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์นอกจากจะลดภาวะซีด ยังช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยด้วย2

เอกสารอ้างอิง

  1. Chen MH, Su TP, Chen YS, et al. Association between psychiatric disorders and iron deficiency anemia among children and adolescents: a nationwide population-based study. BMC Psychiatry 2013;13:161.
  2. Haider BA, Olofin I, Wang M, Spiegelman D, Ezzati M, Fawzi WW. Anaemia, prenatal iron use, and risk of adverse pregnancy outcomes: systematic review and meta-analysis. BMJ 2013;346:f3443.

 

 

วิดีโอการเข้าเต้าท่าฟุตบอล

วิดีโอการเข้าเต้าท่าฟุตบอล