คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การให้ลูกดูดนมกับการเจ็บแผลจากการคลอด

bf53

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การดูดนมของทารกช่วยลดความเจ็บปวดในการเจาะเลือดและฉีดวัคซีนในทารก จึงมีผู้สนใจว่า การให้ลูกดูดนมจะลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดคลอดและแผลฝีเย็บของมารดาได้หรือไม่ ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ความเจ็บปวดแผลขณะก่อนและหลังการให้ลูกดูดนม ไม่มีความแตกต่างกัน1 แต่พบมีอาการปวดเกร็งของมดลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งกลไกนี้จะช่วยให้มดลูกหดรัดต่อและช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอด จากข้อมูลการศึกษาน่าจะแสดงว่า การให้ลูกดูดนมหลังคลอดอาจช่วยดึงความสนใจในเรื่องความเจ็บปวดแผลขณะให้นมลูก แต่อาการปวดแผลยังเหมือนเดิม ดังนั้น การให้ยาระงับความเจ็บปวดแผลหลังคลอดแก่มารดาให้เพียงพอยังมีความจำเป็น เพื่อลดความเครียดจากการเจ็บแผล ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำนมของมารดาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Wen L, Hilton G, Carvalho B. The impact of breastfeeding on postpartum pain after vaginal and cesarean delivery. J Clin Anesth 2015;27:33-8.

 

ลานนม การเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นมลูก

20140709_breastfeeding_mothers_6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ลานนมมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยมีสีคล้ำหรือเข้มขึ้น เพื่อช่วยให้ทารกมองเห็นลานนมและหัวนมชัดเจน เมื่อทารกจะคืบคลานมาหาหัวนมและลานนมเพื่อดูดนม กลิ่นที่จำเพาะของลานนมจากต่อมมอนต์โกเมอรี่ก็มีส่วนช่วยให้ทารกจดจำหัวนมและลานนมได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของลานนมที่สูงขึ้น ความเป็นกรดด่าง (pH) สูงขึ้น และความยืดหยุ่นของลานนมยังมีการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในวันแรกหลังคลอด1 เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่ธรรมชาติช่วยสร้างมาสำหรับมนุษย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Straface G. The higher temperature in the areola supports the natural progression of the birth to breastfeeding continuum. PLoS One 2015;10:e0118774.

 

 

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf30

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จากการมีการหลั่งฮอร์โมนแห่งความรักหรือออกซิโตซินที่ให้มารดามีความผูกพันกับบุตร อย่างไรก็ตาม หากมารดามีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะมีความวิตกกังวลเรื่องรูปร่างของมารดาที่เปลี่ยนแปลงไป และหยุดให้นมแม่ได้เร็ว1 ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ ควรสนับสนุนให้สามีและครอบครัวช่วยกันประคับประคองการเปลี่ยนแปลงที่มีมากมายของมารดาหลังคลอด อันจะทำให้มารดาผ่านประสบการณ์การคลอดและการเลี้ยงลูกหลังคลอดไปด้วยดี การเกิดวิกฤตการณ์ซึมเศร้าหลังคลอดลดลง การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วก็ลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Volpe F, Giustardi A, Canella A, Straface G, Soldera G. Body image in breastfeeding women with depressive symptoms: a prospective study. J Matern Fetal Neonatal Med 2015:1-5.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

bf22

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์หลายอย่างต่อมารดาและทารก แต่มีการศึกษาสตรี 9128 คนที่ปักกิ่ง ประเทศจีนถึงความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานพบว่า สตรีที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบมีความเสี่ยงในการมีภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1.18 เท่า (95%CI 1.05-1.32) และพบเบาหวานมากกว่าสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1.3 เท่า (95%CI 1.11-1.53)1 โดยในสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยิ่งนาน ความเสี่ยงยิ่งลดลง ดังนั้น ดูเหมือนว่า โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ในสตรี ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งต้นเหตุส่วนใหญ่มาจากความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และมะเร็งเต้านม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhang BZ, Zhang HY, Liu HH, Li HJ, Wang JS. Breastfeeding and maternal hypertension and diabetes: a population-based cross-sectional study. Breastfeed Med 2015;10:163-7.

 

การลดการเป็นสาวเร็วโดยให้ทารกกินนมแม่

รูปภาพ28

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเข้าสู่วัยรุ่นหรือเป็นสาวเร็วมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวและการกินอาหาร มีการศึกษาเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่และทารกที่กินนมผสมพบว่า ทารกที่กินนมแม่จะมีพัฒนาของเต้านมที่เข้าสู่วัยสาวช้ากว่าทารกที่กินนมผสม โดยมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่กินนมแม่ด้วย1 ดังนั้นทารกที่กินนมแม่น่าจะน่าจะลดการเป็นสาวเร็วซึ่งในปัจจุบันพบเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านอื่นๆ ด้วย และน่าจะส่งผลต่อการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ อันเป็นการทำให้ปัญหานี้บรรเทาลงจากการกลับสู่พื้นฐานการเริ่มต้นกินแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนแรก และกินอาหารตามวัยร่วมกับนมแม่ต่อเนื่องนาน 2 ปีหรือมากกว่านั้น ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและสุขภาพของทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Kale A, Deardorff J, Lahiff M, et al. Breastfeeding versus formula-feeding and girls’ pubertal development. Matern Child Health J 2015;19:519-27.