คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การให้ยาแก้ปวดระหว่างการคลอด

BUSIN201

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ระหว่างการรอคลอด มารดาจะเจ็บปวดท้องร้าวไปด้านหลัง ซึ่งเป็นอาการของการเจ็บครรภ์คลอด โดยอาการปวดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก การลดอาการเจ็บครรภ์ ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การฝึกให้มารดาผ่อนคลาย การนวดหลัง การฝังเข็ม การให้กำลังใจและการสนับสนุนจากผู้ช่วยเหลือการคลอด แต่ในบางกรณีที่มารดาจำเป็นต้องได้รับยาแก้ปวด ยาแก้ปวดที่ใช้บ่อยระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด ได้แก่ ยากลุ่มมอร์ฟีน ซึ่งออกฤทธิ์แก้ปวดได้ดี ยามอร์ฟีน หากฉีดเข้ากล้าม จะเริ่มออกฤทธิ์ใน ? ชั่วโมง ระดับยาในเลือดของมารดาจะสูงสุดใน 50-90 นาที และระยะเวลาการออกฤทธิ์นาน 3-6 ชั่วโมง1 หากมารดาเบ่งคลอดในช่วงที่ระดับยาในเลือดของมารดาสูง ยาจะผ่านไปสู่ทารกและกดการหายใจของทารกได้ ซึ่งทารกหลังคลอดจะอ่อนเปลี้ย หายใจไม่ดี ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาต้านฤทธิ์มอร์ฟีน คือ ยา naloxone และจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังการหายใจของทารกต่ออีก 6 ชั่วโมง โดยระหว่างนี้ การกระตุ้นให้ทารกกินนมแม่ทำได้ แต่ทารกอาจมีอาการง่วงซึม ทำให้ต้องกระตุ้นปลุกทารกบ่อยให้ดูดนม ทารกอาจต้องการการเอาใจใส่มากกว่าปกติในช่วงนี้ แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ทารกจะกลับเป็นปกติ การดูแลหลังจากนี้สามารถดูแลตามปกติหลังคลอดได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Skidmore-Roth L, editor. Mosby?s 2015 nursing drug reference. 28th Missouri: Elsevier inc; 2015.

 

การได้รับสารที่เป็นพิษจากสิ่งแวดล้อมในระหว่างการให้นมบุตร

362225_8693290_1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในชีวิตประจำวัน มารดาอาจได้รับสารเคมีต่างๆ จากอาหารและสิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว มีการศึกษาติดตามและตรวจสอบพบสารพทาเลท (phthalates) และไดออกซิน (dioxin) ในนมแม่1,2 ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะได้รับจากอาหาร จากการศึกษานี้ มารดาควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการได้รับสารเหล่านี้โดยดูแลเรื่องการเลือกคุณภาพของอาหารที่รับประทาน อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์เทียบกับความเสี่ยง นมแม่ยังได้รับการแนะนำให้เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก อาหารอื่นๆ สำหรับทารกก็มีรายงานความเสี่ยงเช่นกัน ได้แก่ การพบสารไดออกซินในนมผสม หรือการพบเมลามีนในนมผสม ซึ่งมีรายงานการทำให้เกิดไตวายและนิ่วในไตของทารกในประเทศจีนมากกว่า 50000 ราย มีรายงานการพบเมลามีนในนมผสมในแอฟริกาตะวันออกด้วย3 ดังนั้น สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน มีความเสี่ยงหลากหลายที่เราควรเฝ้าติดตาม ไม่ใช่เพื่อความกลัวหรือวิตกกังวล แต่เพื่อการวางแผนหลีกเลี่ยงและป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตัวเราและลูกหลานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ?????????????

เอกสารอ้างอิง

  1. LaKind JS, Berlin CM, Mattison DR. The heart of the matter on breastmilk and environmental chemicals: essential points for healthcare providers and new parents. Breastfeed Med 2008;3:251-9.
  2. Geraghty SR, Khoury JC, Morrow AL, Lanphear BP. Reporting individual test results of environmental chemicals in breastmilk: potential for premature weaning. Breastfeed Med 2008;3:207-13.
  3. Schoder D. Melamine milk powder and infant formula sold in East Africa. J Food Prot 2010;73:1709-14.

 

 

การสูบบุหรี่ในระหว่างการให้นมบุตร

379526_11220500_0

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การสูบบุหรี่ มารดาจะได้รับสารนิโคตินและสารพิษอื่นๆ หลายชนิดจากบุหรี่ ซึ่งขณะสูบบุหรี่ทารกอาจจะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่หรือได้รับผ่านน้ำนมของมารดาที่สูบบุหรี่ สารพิษแต่ละตัวผ่านน้ำนมไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม แนะนำให้มารดาไม่ควรสูบบุหรี่ในบ้านหรือก่อนการให้นมบุตร ทางเลือกในการลดอันตรายจากสูบบุหรี่ของมารดา คือ การใช้แผ่นแปะนิโคติน ซึ่งจะช่วยลดการผ่านของนิโคตินไปสู่ทารกได้1 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้มารดาเลิกสูบบุหรี่ได้มากขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Ilett KF, Hale TW, Page-Sharp M, Kristensen JH, Kohan R, Hackett LP. Use of nicotine patches in breast-feeding mothers: transfer of nicotine and cotinine into human milk. Clin Pharmacol Ther 2003;74:516-24.

 

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างการให้นมบุตร

371834_9510825_3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ไวน์ หรือค็อกเทล (cocktail) แอลกอฮอล์ที่มารดาได้รับจะผ่านไปสู่น้ำนมได้ดี โดยระดับแอลกอฮอล์ในน้ำนมใกล้เคียงกับในกระแสเลือดมารดา1 ซึ่งหากมารดาดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่า 2 ดื่มมาตรฐานต่อวัน (หนึ่งดื่มมาตรฐานเท่ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 10 กรัม ซึ่งเท่ากับ เหล้า 40 ดีกรีประมาณ 1.5 ออนซ์ เบียร์ 5% ประมาณ 12 ออนซ์ หรือไวน์ 8-12% ประมาณ 5 ออนซ์) อาจส่งผลต่อทารกทำให้ระบบประสาทสั่งงานกล้ามเนื้อช้า2,3 นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังลดการหลั่งน้ำนมโดยการกดการทำงานของออกซิโตซินด้วย4 ร่างกายมารดาจะกำจัดแอลกอฮอล์หนึ่งดื่มมาตรฐานในหนึ่งชั่วโมง หากมารดาดื่มในปริมาณปานกลางร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ในสองชั่วโมง5 ดังนั้น หลังดื่มแอลกอฮอล์ควรเว้นระยะการให้นมบุตรนาน 1-2 ชั่วโมง6 แต่หากมารดาดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นประจำทุกวันควรหลีกเลี่ยงการให้นมบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Mennella JA, Beauchamp GK. The transfer of alcohol to human milk. Effects on flavor and the infant’s behavior. N Engl J Med 1991;325:981-5.
  2. Little RE, Anderson KW, Ervin CH, Worthington-Roberts B, Clarren SK. Maternal alcohol use during breast-feeding and infant mental and motor development at one year. N Engl J Med 1989;321:425-30.
  3. Streissguth AP, Barr HM, Martin DC, Herman CS. Effects of maternal alcohol, nicotine, and caffeine use during pregnancy on infant mental and motor development at eight months. Alcohol Clin Exp Res 1980;4:152-64.
  4. Cobo E. Effect of different doses of ethanol on the milk-ejecting reflex in lactating women. Am J Obstet Gynecol 1973;115:817-21.
  5. Ho E, Collantes A, Kapur BM, Moretti M, Koren G. Alcohol and breast feeding: calculation of time to zero level in milk. Biol Neonate 2001;80:219-22.
  6. Mennella JA. Regulation of milk intake after exposure to alcohol in mothers’ milk. Alcohol Clin Exp Res 2001;25:590-3.

 

การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระหว่างการให้นมบุตร

bf20

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? คาเฟอีน พบในเครื่องดื่มที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ระยะเวลาครึ่งชีวิต 4.9 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ ระยะเวลาครึ่งชีวิตในทารกแรกเกิด 97.5 ชั่วโมง ระยะเวลาครึ่งชีวิตในทารกจะลดลงเมื่อทารกอายุมากขึ้น โดยเมื่อทารกอายุ 3-5 เดือน ระยะเวลาครึ่งชีวิตเท่ากับ 14 ชั่วโมง และเมื่อทารกอายุหกเดือน ระยะเวลาครึ่งชีวิตจะเท่ากับ 2.6 ชั่วโมง โดยทั่วไปกาแฟ 1 แก้วจะมีคาเฟอีนตั้งแต่ 50-150 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของกาแฟและความเข้มข้นในการชง หลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ระดับคาเฟอีนในน้ำนมจะสูงสุดใน 1-2 ชั่วโมง ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ (relative infant dose) ร้อยละ 521 ดังนั้นทารกจะได้รับคาเฟอีนประมาณครึ่งหนึ่งของระดับคาเฟอีนในมารดา แต่การกำจัดคาเฟอีนในทารกจะช้ากว่า ทำให้คาเฟอีนอยู่ในทารกนาน2 ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางของทารก ทำให้ทารกตื่นตัว กระสับกระส่ายได้ ผลเสียในระยะยาวยังไม่ทราบ ดังนั้น หากมารดาจะดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในบางครั้งในปริมาณที่ไม่มาก สามารถทำได้ แต่ควรดื่มในช่วงหลังให้นมบุตร เพื่อจะได้เว้นระยะห่างให้ระดับคาเฟอีนลดลงเมื่อถึงเวลาที่จะให้นมครั้งต่อไป และเมื่อทารกอายุมากขึ้นแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Tyrala EE, Dodson WE. Caffeine secretion into breast milk. Arch Dis Child 1979;54:787-9.
  2. Ryu JE. Caffeine in human milk and in serum of breast-fed infants. Dev Pharmacol Ther 1985;8:329-37.