คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

สถานประกอบการกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1410868347197-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? เมื่อสตรีทำงานนอกบ้านเพิ่มขึ้น บทบาทของสถานประกอบการที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมจึงมีความเด่นชัดขึ้น ตัวอย่างของสถานประกอบการที่มีการบริหารจัดการเรื่องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นอย่างดี ได้แก่?

บริษัทไทยซัมมิทฮาร์เนส ซึ่งมีกระบวนการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบวงจร ได้แก่

  • มีการขึ้นทะเบียนพนักงานตั้งครรภ์ เพื่อจะทราบว่า ตั้งครรภ์กี่เดือน ฝากครรภ์ที่ไหน คลอดเมื่อไร จะเลี้ยงลูกอย่างไร
  • เปลี่ยนงานให้มีความปลอดภัยทั้งแม่และลูก
  • จัดการฝึกอบรมดูแลครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 3 เดือน
  • จัดการฝึกอบรมจิตปัญญาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (mindfulness of breastfeeding) เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 6 เดือน
  • เมื่อมารดาคลอด จะมีการร่วมแสดงความยินดีกับการคลอดในช่วงระยะหลังคลอด
  • มีสนับสนุนเรื่องมุมนมแม่ และอุปกรณ์ในการเก็บน้ำนม
  • มีการให้ประกาศนียบัตรแก่มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • เมื่อมารดากลับมาทำงาน ส่งเสริมให้มารดาคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งเรื่องการส่งนมแม่กลับบ้าน

? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนโดยการจัดการสอนให้มารดามีความรู้ชัดแจ้ง และมีความสามารถในการสอนปู่ ย่า ตา ยาย ให้สามารถสอนให้ป้อนนมแม่แก่ทารกได้

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Providers ของ พยัพ แจ้งสวัสดิ์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

 

 

ศูนย์เด็กเล็กกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3332784848_bba8a16fdc_o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ศูนย์เด็กเล็ก เป็นเสมือนที่ที่จะช่วยเหลือมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมารดากลับไปทำงาน โดยหากอยู่ใกล้กับที่ทำงาน มารดาอาจใช้เวลาพักมาให้นมลูกได้ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยมารดาในกรณีที่ไม่สามารถมาให้นมลูกได้ด้วย การดูแลทารกที่ศูนย์เด็กเล็กและการพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กมีคุณภาพจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?มีโครงการตัวอย่างของศูนย์เด็กเล็กที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ โครงการศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่คู่นมแม่ ที่มีการดำเนินตามคำย่อ กิน กอด เล่น เล่า ดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ?-เรื่องการกิน จะมีส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 2 ปี โดยเป็นนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยถึง 2 ปี สนับสนุนให้มารดาบีบเก็บน้ำนม และสามารถมาให้ลูกกินนมได้ มีการให้ความรู้กับผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น ปู่-ย่า ตา-ยาย และผู้ดูแลทารกในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ มีทัศนคติที่ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเข้าใจบทบาทของตนเองในการช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? -เรื่องการส่งเสริมด้านพัฒนาการให้สมวัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เน้น

  • การกอด ซึ่งการกอดจะเป็นการให้อาหารใจสำหรับเด็กที่ดูแล
  • การเล่น ที่จะส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
  • การเล่า คือ การเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก

? ? ? ? ?จะเห็นว่า ในปัจจุบัน สตรีทำงานนอกบ้านเพิ่มขึ้น บทบาทของศูนย์เด็กเล็กจึงยิ่งมีความสำคัญ

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Voice from Providers ของ กรรณิการ์ ชัยหมื่น ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

 

กินนมแม่แล้วลูกตัวเหลืองจริงไหม

S__38208300

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมแม่มีประโยชน์อย่างมาก แม้ว่าการรณรงค์ให้กินนมแม่จะพบภาวะตัวเหลืองในทารกสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการได้รับนมแม่ที่ไม่เพียงพอ (breastfeeding jaundice) ใน 2-3 วันแรก ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจ เริ่มให้ลูกดูดนมเร็ว ดูดนมบ่อยวันละ 8-12 ครั้ง ดูดถูกต้องและดูดจนเกลี้ยงเต้า น้ำนมจะมาได้ดี ทำให้สามารถป้องกันและลดปัญหานี้ได้ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากนมแม่เองที่ทำให้ทารกตัวเหลือง (breast milk jaundice) มักพบในช่วงหลัง 5-7 วันหลังคลอด หากค่าของสารเหลือง (bilirubin) ไม่สูงมาก ไม่ต้องการการรักษา เพียงติดตามดูอย่างต่อเนื่องก็เพียงพอ การหยุดนมแม่ชั่วคราวอาจจำเป็นเพื่อการวินิจฉัยในมารดาบางราย แต่หากให้การวินิจฉัยได้แล้ว สามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ ดังนั้น เมื่อมารดาและครอบครัวมีความเข้าใจที่ดีแล้ว คงหายวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเหลืองจากนมแม่

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Fact & Myth ของ ศ.คลินิก พญ.อุไรวรรณ โชติเกียรติ, รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

 

นมผสมมีเสริมสารอาหารครบถ้วนมากกว่านมแม่จริงหรือ

16

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ยังมีความเชื่อที่พบได้บ่อยว่า นมผสมมีเสริมสารอาหารครบถ้วนมากกว่านมแม่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว นมแม่เป็นเสมือนต้นแบบที่ใช้ในการผลิตนมผสมที่แม้จะมีความพยายามจะเสริมสารใดเติมใส่ลงไปให้เสมอเหมือน ก็ยังไม่เทียบเท่านมแม่ เนื่องจากนมแม่มีชีวิตมีจิตวิญญาณของแม่ที่เสริมใส่ลงไปในภูมิคุ้มกันที่จะปกป้องทารกที่เป็นลูกที่นมผสมไม่สามารถจะมีได้ นอกจากนี้ นมแม่ยังมีสเต็มเซลล์ (stem cell) ซึ่งมีความสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ใดๆ ก็ได้ จึงสามารถช่วยซ่อมแซมเมื่ออวัยวะใดของร่างกายเกิดการเสียหายหรือบาดเจ็บ

??????????? อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมในพื้นที่พบมารดามีความขาดแคลนสารอาหารบางอย่าง ได้แก่ ธาตุเหล็ก วิตามินดี ไอโอดีน การเสริมสารอาหารเหล่านี้ให้กับมารดา จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้มารดามีนมแม่ที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กระบวนการในระหว่างการฝากครรภ์และการคลอด การแก้ไขภาวะซีดระหว่างฝากครรภ์ของมารดา การชะลอการหนีบตัดสายสะดือระหว่างการคลอด ร่วมกับการให้อาหารเสริมตามวัยแก่ทารกหลังหกเดือนที่มีเนื้อสัตว์ที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก จะช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กในทารกได้

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Fact & Myth ของ ศ.คลินิก พญ.อุไรวรรณ โชติเกียรติ, รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

ลูกฉลาดและรวยกว่าหากได้กินนมแม่

2-2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มีการศึกษาในประเทศบราซิล เปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่นานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปเทียบกับทารกที่กินนมแม่น้อยกว่า 1 เดือนแล้วติดตามไปนาน 30 ปี พบว่า ทารกที่กินนมแม่มากกว่า 1 ปี จะมีคะแนนความฉลาด (IQ) มากกว่าทารกที่กินนมแม่น้อยกว่า 1 เดือนถึง 3.76 คะแนน และมีรายได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าราว 3200 บาทต่อเดือน (341 บราซิลเลียน เรียล)1,2

????????? มารดาที่ได้ทราบข้อมูลนี้ น่าจะมีความตั้งใจและเอาใจใส่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น เนื่องจาก ?สัญชาตญาณความเป็นแม่จะทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของลูกก่อนเสมอ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Victora CG, Horta BL, Loret de Mola C, et al. Association between breastfeeding and intelligence, educational attainment, and income at 30 years of age: a prospective birth cohort study from Brazil. Lancet Glob Health 2015;3:e199-205.
  2. การบรรยาย Breastfeeding and Work-Let?s Make it Work! ของ ผศ.พญ.ศิรินุช ชมโท ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 2 กันยายน 58