คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การช่วยเหลือทารกที่ปฏิเสธการเข้าเต้าตลอด

hand expression13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การที่ทารกปฏิเสธการเข้าเต้าตลอดทุกครั้งที่ให้กินนม บุคลากรทางการแพทย์ควรให้มารดาเล่าอาการการปฏิเสธการเข้าเต้าของทารกว่าเป็นตั้งแต่เมื่อไร มีครั้งไหนที่เข้าเต้าได้หรือไม่ ความถี่ในการให้นมเป็นอย่างไร ได้เคยให้นมขวดทารกกินหรือไม่ และน้ำนมมารดาไหลเป็นอย่างไร เนื่องจากอาจพบสาเหตุหลายสาเหตุร่วมกันได้

? ? ? ? ? ?การช่วยเหลือทารกที่ปฏิเสธการเข้าเต้าตลอด?เริ่มต้นจาก การสังเกตท่าและลักษณะการเข้าเต้าของทารกว่าเหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมจัดท่าให้ทารกสามารถเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อท่าให้นมลูกถูกต้อง ควรดูเวลาของการให้นมมีความเหมาะสมไหม การให้นมควรให้เมื่อทารกมีลักษณะที่บ่งบอกถึงอาการหิว (feeding cues) หากมารดาเพิ่งป้อนนมไปและนำทารกเข้าเต้า ทารกอาจปฏิเสธการเข้าเต้า หากมารดาปล่อยให้ทารกหิวจนร้องไห้หงุดหงิด ทารกก็จะปฏิเสธการเข้าเต้าได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อมารดาจัดท่าให้นมลูกได้ดีแล้ว หากทารกยังปฏิเสธการเข้าเต้า มารดาควรอุ้มทารกในลักษณะให้เนื้อแนบเนื้อบนหน้าอก (skin-to-skin contact) และรอจนกระทั่งทารกมีอาการที่บ่งบอกว่าหิว จึงเริ่มเข้าเต้าอีกครั้ง นอกจากนี้ การบีบน้ำนมและทาน้ำนมบริเวณหัวนมให้ทารกได้กลิ่นจะช่วยในการเข้าเต้าได้ และในกรณีที่ทารกเคยได้นมขวดมาก่อน น้ำนมอาจไหลเร็ว การบีบน้ำนมด้วยมือให้นมน้ำนมไหลได้ดีก่อนการเข้าเต้าก็จะช่วยเช่นกัน สำหรับทารกที่ขณะเข้าเต้าสังเกตเห็นมีการหายใจติดขัด อาจมีน้ำมูกอุดตันในจมูกหรือทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทารกดูดนมได้ลำบาก หรือหากทารกเจ็บป่วยทำให้การดูดนมได้ไม่ดีหรือปฏิเสธการดูดนม ควรให้การรักษาไปพร้อมกับการฝึกการเข้าเต้า โดยอาจใช้หลอดฉีดยาใส่นมต่อสายติดไว้ที่ลานนม และหยดน้ำนมช่วยขณะทารกเข้าเต้า กระบวนการเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดพร้อมติดตามจนทารกเข้าเต้าและดูดนมได้ดี จึงจะทำให้มารดามั่นใจในการให้นมแม่และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ทำไมทารกจึงปฏิเสธการเข้าเต้า

01_136_4-1

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การปฏิเสธการเข้าเต้าของทารกในการกินนมแม่ มีหลายลักษณะ ตั้งแต่ปฏิเสธตลอดทุกครั้งอย่างต่อเนื่อง ปฏิเสธในการเข้าเต้าในเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง หรือปฏิเสธการเข้าเต้าบางครั้ง ซึ่งสาเหตุของลักษณะการปฏิเสธการเข้าเต้าที่แตกต่างกันจะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันด้วย มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำและเตือนมารดาถึงความสำคัญของการปฏิเสธการเข้าเต้า เนื่องจากธรรมชาติของทารกมีจะดูดนมแม่ทั้งในกรณีที่หิว และยังคงดูดนมหรือเข้าเต้าเพื่อต้องการความอบอุ่น การใกล้ชิด และความรู้สึกปลอดภัย การที่ทารกปฏิเสธการเข้าเต้าจะทำให้ทารกมีภาวะขาดน้ำหรือสารอาหาร และมีภาวะตัวเหลือง ซึ่งจะเกิดอันตรายแก่ทารกได้ มารดาจึงควรสังเกตถึงการขึ้นของน้ำหนักทารกและการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด

? ? ? ? ? ? ?สำหรับสาเหตุในการปฏิเสธการเข้าเต้าของทารก ได้แก่ การเข้าเต้าหรือการจัดท่าให้ลูกกินนมแม่ไม่เหมาะสม มารดาเจ็บหัวนมหรือเต้านม น้ำนมมารดาไหลน้อยหรือไม่ไหล ทารกเคยได้รับการป้อนนมด้วยขวดนมมาก่อน มารดารับประทานยา อาหารบางชนิด หรือสมุนไพรบางอย่าง การปล่อยให้ทารกหิวเกินไป ทารกไม่สบายหรือมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน และการที่มารดามีความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเต้านม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ลูกประคบสมุนไพรไทยกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38207893

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การใช้ลูกประคบสมุนไพร นอกจากจะช่วยในการลดความเจ็บปวดให้มารดาในระหว่างการคลอดแล้ว ในมารดาหลังคลอดการใช้ลูกประคบบริเวณเต้านมจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ต้านการอักเสบ ช่วยผ่อนคลาย และช่วยให้น้ำนมมาเร็วขึ้น1 สำหรับการช่วยลดอาการปวด มีการศึกษาพบว่า สามารถบรรเทาอาการปวดได้ไม่แตกต่างจากการใช้ยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในการรักษาอาการปวดของข้อเข่าเสื่อมด้วย1,2 จะเห็นว่า สมุนไพรไทยจึงน่าจะมีประโยชน์ที่หลากหลายรวมทั้งในด้านการช่วยมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ช่วยให้มารดาลดอาการปวด อาการตึงคัดเต้านม ช่วยผ่อนคลาย และอาจจะลดความเครียด ช่วยให้มารดาผ่อนคลาย ซึ่งจากคุณสมบัติเหล่านี้ อาจจะช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การศึกษาในเรื่องนี้ที่เป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ยังน้อย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงควรให้ความสนใจและศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้

เอกสารอ้างอิง

  1. Dhippayom T, Kongkaew C, Chaiyakunapruk N, et al. Clinical effects of thai herbal compress: a systematic review and meta-analysis. Evid Based Complement Alternat Med 2015;2015:942378.
  2. Chiranthanut N, Hanprasertpong N, Teekachunhatean S. Thai massage, and Thai herbal compress versus oral ibuprofen in symptomatic treatment of osteoarthritis of the knee: a randomized controlled trial. Biomed Res Int 2014;2014:490512.

 

ทารกควรนอนร่วมเตียงกับมารดาหรือไม่

IMG_0734

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การที่ทารกนอนร่วมห้องโดยใกล้ชิดกับมารดาช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมารดาจะสังเกตเห็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกรู้สึกหิวได้ง่าย และสามารถให้นมได้ตามความต้องการของทารก อย่างไรก็ตาม การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาอาจมีอันตรายได้ ในมารดาที่ดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ติดยาเสพติดหรือสูบบุหรี่ โดยทั่วไป เตียงของผู้ใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับทารก อาจมีร่องหรือซอกที่ทารกอาจตกหล่นลงไปและเกิดอันตรายได้ เช่นเดียวกันกับการให้ทารกนอนร่วมกับมารดาบนโซฟาที่มีความเสี่ยงในการเกิดอันตราย การจัดพื้นที่โดยมีเตียงของทารกอยู่ใกล้กับเตียงของมารดาจะเหมาะสมกว่า1 สำหรับในประเทศไทย การนอนของมารดาใกล้กับทารกบนพื้นอาจเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ประหยัดค่าใช้จ่ายได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ควรให้ลูกกินนมแม่กลางคืนหรือไม่

IMG_0724

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การให้ลูกกินนมแม่ควรให้ตามความต้องการของทารก แต่ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดกระเพาะทารกจะยังมีความจุน้อย การกินนมแม่จึงจำเป็นต้องกินบ่อยๆ และในเวลากลางคืนก็จำเป็นต้องมีการให้นมแม่ นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินของมารดาจะสูงในช่วงกลางคืน การกระตุ้นกินนมกลางคืนจะช่วยให้น้ำนมมาดีขึ้น แต่เมื่อทารกอายุมากขึ้น ทารกจะกินนมได้มากขึ้นและนอนนานขึ้น ซึ่งหากทารกกินนมได้มากในระหว่างวันและช่วงเย็น กลางคืนทารกจะนอนนานขึ้นอยู่แล้ว มารดาจึงควรเอาใจใส่กับการให้ทารกกินนมตามความต้องการและกระตุ้นให้ทารกกินนมในระหว่างวันให้เพียงพอ จึงไม่จำเป็นต้องฝึกหรือบังคับให้ทารกงดนมแม่ในเวลากลางคืน

? ? ? ? ? ?ในมารดาที่พยายามจะฝึกทารกให้นอนได้นานในเวลากลางคืน และงดให้ลูกกินนมแม่ ต้องระมัดระวังว่า ทารกอาจจะได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะทำให้การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม หากมารดาได้นอนอยู่กับทารกตลอดทั้งคืน มารดาจะสังเกตเห็นอาการที่บ่งบอกถึงว่าทารกหิวได้ การให้นมแม่ตามความต้องการของทารกจะดีที่สุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.