คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ
การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ
การช่วยเหลือทารกที่เข้าเต้าแต่ไม่ประกบติดที่เต้านม(ตอนที่1)
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? สาเหตุที่ทำให้ทารกเข้าเต้าแล้วไม่ประกบติดเต้านมมีหลายอย่าง ที่พบบ่อยเกิดจากการที่อมหัวนมและลานนมไม่เหมาะสม อ้าปากหรืออมหัวนมและลานนมไม่ลึกพอ ดังนั้น การช่วยเหลือจึงเริ่มต้นด้วย การสังเกตดูมารดาขณะให้นมและปรับเปลี่ยนท่าให้เหมาะสมในการเข้าเต้า ซึ่งจะช่วยให้ทารกเข้าเต้าโดยประกบติดที่เต้านมดีขึ้น
? ? ? ? ? ?หากปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมให้เหมาะสมแล้ว ทารกยังไม่ยอมประกบติดเต้านม อาจเป็นจากทารกกินนมเพียงพอแล้ว ซึ่งการตรวจสอบใช้การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังจากการกินนม และเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของทารกกับกราฟมาตรฐานการทารกเจริญเติบโตที่กินนมแม่แล้ว ทารกเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ กรณีนี้บุคลากรทางการแพทย์หรือมารดาเพียงแต่ติดตามสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ โดยในกรณีที่ให้นมเมื่อทารกมีอาหารที่บ่งบอกว่าทารกหิว ทารกก็จะการเข้าเต้าและประกบติดเต้าได้ดี
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
เหตุใดทารกที่เข้าเต้าจึงไม่ประกบติดที่เต้านม
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในการที่ทารกจะดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทารกต้องอมหัวนมและลานนมพร้อมประกบติดที่เต้านม เพื่อออกแรงดูดที่ทำให้เกิดความดันอากาศในช่องปากทารกลดลง ซึ่งจะทำให้น้ำนมไหลออกมา ร่วมกับการช่วยบีบตัวของเซลล์เยื่อบุกล้ามเนื้อต่อมน้ำนมที่บีบไล่น้ำนมออกมา ทารกก็จะดูดนมได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่ทารกเข้าเต้าโดยอ้าปากอมหัวนมและลานนม แต่ไม่ประกบติดที่เต้านมเกิดได้จาก
? ? ? ? ? ? ? -การอมหัวนมและลานนมไม่เหมาะสม หากทารกอ้าปากไม่กว้างพอ อมหัวนมและลานนมไม่ลึกพอจะไม่สามารถประกบติดเต้านมได้ หรือในกรณีที่หัวนมลึกเกินไปจนไปกระตุ้นกลไกในการสำรอกออก (gag reflex) ทารกก็จะคายเต้านมออกไม่ประกบติดเต้านมเช่นกัน
? ? ? ? ? ? ?-น้ำนมไหลเร็วมากเกินไป ทารกอาจสำลัก หรือออกน้อยเกินไป ทารกอาจหงุดหงิดและคายเต้า
? ? ? ? ? ? ?-ความผิดปกติในช่องปากทารก ทารกมีภาวะลิ้นติด เพดานสูง หรือมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
? ? ? ? ? ? ?-ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทารกกลุ่มอาการดาวน์
? ? ? ? ? ? ?-ทารกที่ขาดอาหาร อ่อนแรง หรือหายใจเร็ว มีน้ำมูกในช่องทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีการเจ็บป่วย
?-ทารกกินนมจากเต้านมอิ่มแล้ว จึงคายเต้านมออก
? ? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้ทารกเข้าเต้าแล้วไม่ประกบติดเต้านม มารดาและบุคลากรทางการแพทย์จึงควรเอาใจใส่และสังเกตถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ เพื่อที่จะให้การดูแลแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
การช่วยเหลือทารกที่ปฏิเสธการเข้าเต้าบางครั้ง
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ??การที่ทารกปฏิเสธการเข้าเต้าบางครั้ง มารดาหรือบุคลกรทางการแพทย์ต้องสังเกตหรือซักถามว่าในขณะที่ทารกปฏิเสธการเข้าเต้านั้น มีสิ่งใดที่แตกต่างกัน ลักษณะของมารดาในการให้นม กำหนดเป็นตารางเวลาหรือให้ตามความต้องการของทารก ความถี่ในการให้นม การเจ็บหัวนม ท่าที่ให้นม เสียงรบกวน บรรยากาศที่มีสิ่งเร้าที่ดึงดูดความสนใจทารก การกินยา อาหารหรือสมุนไพรบางอย่างของมารดา มารดาใส่น้ำหอม ใช้กลิ่นน้ำยาซักผ้าหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม กลิ่นสบู่ที่ทารกไม่ชอบ และความเจ็บป่วยของทารก ซึ่งจะทำให้เข้าใจว่าสาเหตุของการปฏิเสธการเข้าเต้าของทารกเกิดจากสาเหตุใด ?
? ? ? ? ? ?การช่วยเหลือทารกที่ปฏิเสธการเข้าเต้าบางครั้ง? เริ่มต้นจาก การสังเกตท่าและลักษณะการเข้าเต้าของทารกว่าเหมาะสมหรือไม่เช่นเดียวกันกับการปฏิเสธการเข้าเต้าตลอด หากไม่เหมาะสมจัดท่าให้ทารกสามารถเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อท่าให้นมลูกถูกต้อง แต่การที่มีการปฏิเสธการเข้าเต้าบางครั้ง อาจเป็นจากลักษณะบางท่าของมารดาที่ให้นมอาจไม่เหมาะสม และควรดูเวลาของการให้นมมีความเหมาะสมไหม การให้นมควรให้เมื่อทารกมีลักษณะที่บ่งบอกถึงอาการหิว (feeding cues) หากมารดาเพิ่งป้อนนมไปและนำทารกเข้าเต้า ทารกอาจปฏิเสธการเข้าเต้า หากมารดาปล่อยให้ทารกหิวจนร้องไห้หงุดหงิด ทารกก็จะปฏิเสธการเข้าเต้าได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อมารดาจัดท่าให้นมลูกได้ดีแล้ว หากทารกยังปฏิเสธการเข้าเต้า มารดาควรอุ้มทารกในลักษณะให้เนื้อแนบเนื้อบนหน้าอก (skin-to-skin contact) และรอจนกระทั่งทารกมีอาการที่บ่งบอกว่าหิว จึงเริ่มเข้าเต้าอีกครั้ง นอกจากนี้ การบีบน้ำนมและทาน้ำนมบริเวณหัวนมให้ทารกได้กลิ่นจะช่วยในการเข้าเต้าได้ และในกรณีที่ทารกเคยได้นมขวดมาก่อน น้ำนมอาจไหลเร็ว การบีบน้ำนมด้วยมือให้นมน้ำนมไหลได้ดีก่อนการเข้าเต้าก็จะช่วยเช่นกัน สำหรับทารกที่ขณะเข้าเต้าสังเกตเห็นมีการหายใจติดขัด อาจมีน้ำมูกอุดตันในจมูกหรือทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทารกดูดนมได้ลำบาก หรือหากทารกเจ็บป่วยทำให้การดูดนมได้ไม่ดีหรือปฏิเสธการดูดนม ควรให้การรักษาไปพร้อมกับการฝึกการเข้าเต้า โดยอาจใช้หลอดฉีดยาใส่นมต่อสายติดไว้ที่ลานนม และหยดน้ำนมช่วยขณะทารกเข้าเต้า การที่ทารกปฏิเสธการเข้าเต้าบางครั้ง เมื่อมารดาทบทวนกระบวนการเหล่านี้ รวมถึงลักษณะของอาหารที่มารดารับประทานแล้วอาจมีผลต่อรสชาติของน้ำนมที่ทำให้ทารกปฏิเสธ สิ่งแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนมาก หรือบรรยากาศที่มีสิ่งเร้ามากอาจดึงความสนใจทารกได้ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือกลิ่นสบู่ที่ทารกไม่ชอบ จะทำให้มีความเข้าใจในการให้นมแม่ในทารกแต่ละคนและทำให้เลือกบรรยากาศ ระยะเวลา และท่าที่ให้นมที่เหมาะสมที่สามารถให้นมบุตรได้
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
การช่วยเหลือทารกที่ปฏิเสธการเข้าเต้าข้างใดข้างหนึ่ง
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? การที่ทารกปฏิเสธการเข้าเต้าในข้างใดข้างหนึ่ง ต้องสังเกตว่า ปฏิเสธข้างเดียวกันตลอดหรือไม่ หรือปฏิเสธเต้านมด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้างแล้วแต่ในแต่มื้อ
? ? ? ? ? ?ในกรณีที่ปฏิเสธเต้านมข้างเดียวกันตลอด ให้สังเกตว่า เต้านมด้านที่ทารกปฏิเสธมีความแตกต่างจากข้างที่ทารกยอมดูดนมหรือไม่ โดยอาจจะมีหัวนมบอด หรือหัวนมใหญ่ที่ทำให้ทารกอมหัวนมและลานนมได้ยากกว่า สังเกตท่าของมารดาในข้างที่ให้นมได้กับข้างที่ให้นมไม่ได้ว่า ท่าให้นมของมารดาต่างกันหรือไม่ หากทารกให้นมที่เต้านมด้านซ้ายได้แต่เมื่อสลับหันศีรษะมาอีกด้านแล้วทารกปฏิเสธการเข้าเต้า มารดาอาจจะใช้วิธีให้ทารกอยู่ในลักษณะการเข้าเต้าด้านเดิม โดยเลื่อนเฉพาะตัวทารกจากเต้านมด้านซ้ายมาเต้านมด้านขวา อาจปรับท่าจากท่าอุ้มขวางตักประยุกต์เป็นท่าอุ้มฟุตบอลโดยตัวทารกอยู่ในทิศทางเดิม หากทารกเข้าเต้าได้ อาจมีความผิดปกติของทารกที่ทำให้ทารกเข้าเต้าได้ในลักษณะที่ต้องเอียงด้านใดด้านหนึ่งเข้าเต้า เช่น มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ ช้ำ ไหปลาร้าหัก บาดเจ็บในเส้นประสาทที่แขน (brachial plexus injury) หรือมีความผิดปกติของการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอ (torticollis) ซึ่งทารกจะสบายกว่าในการดูดนมในบางท่าหรือบางด้าน หากไม่ดีขึ้น อาจลองปรับเปลี่ยนท่าให้นมเป็นท่าอื่นๆ เช่น ท่านอนตะแคง ท่าฟุตบอล ท่าเอนหลัง ท่านั่งหลังตรง หรือท่านอนคว่ำบนตัวมารดา
? ? ? ? ? ในกรณีที่ทารกปฏิเสธเต้านมข้างใดข้างหนึ่งแล้วแต่ในแต่ละมื้อ หากตรวจสอบแล้วว่าทารกเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์ จะเป็นจากการที่ทารกกินนมได้เพียงพอจากเต้านมเพียงข้างเดียว ซึ่งจะเป็นกลไกธรรมชาติที่ทารกจะปฏิเสธเต้านมอีกด้านหนึ่ง โดยอาจจะทำให้มารดาเกิดอาการตึงคัดในเต้านมอีกด้านที่ทารกไม่ยอมดูดนมได้ มารดาจึงควรบีบน้ำนมออก และอาจเก็บสำรองน้ำนมไว้ใช้ได้
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.