รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?หากสาเหตุเป็นจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือในทารกกลุ่มอาการดาวน์ การทำงานของกล้ามเนื้อจะอ่อนแรง แรงประกบติดเต้านมและดูดนมจะน้อย อาจต้องใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาใส่นมช่วยหยดนมและฝึกทารกก่อนในช่วงแรก เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ทารกจะดูดได้ดีขึ้นและดูดได้เอง
? ? ? ? ? ? หากสาเหตุเป็นจากทารกที่ขาดอาหาร อ่อนแรง จำเป็นต้องป้อนให้ทารกได้อาหารและพลังงานที่เพียงพอเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและมีแรงที่จะใช้ในการเข้าเต้าและดูดนม สำหรับทารกที่เจ็บป่วย หายใจเร็ว หรือมีน้ำมูกในช่องทางเดินหายใจส่วนบน จำเป็นต้องให้การรักษาความเจ็บป่วยของทารกให้ดีขึ้น โดยบางกรณีอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยในการรักษา พร้อมกันกับการฝึกให้ทารกคุ้นเคยกับการเข้าเต้าและการดูดนมที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ทารกเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดีได้
? ? ? ? ? ?ดังนั้น ในแต่ละสาเหตุที่ทำให้ทารกเข้าเต้าแล้วไม่ประกบติดเต้านม มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงที่แตกต่างกัน มารดาและบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องหาสาเหตุและวางแผนการแก้ไขร่วมกัน จึงจะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีโดยมีการคำนึงถึงปัจจัยหรือข้อจำกัดต่างๆ ของมารดา เพื่อให้มีการร่วมมือในช่วยเหลือให้ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? หากสาเหตุเป็นจากน้ำนมไหลเร็วเกินไป เต้านมตึงมาก การบีบน้ำนมออกก่อนให้เต้านมนิ่มลง แรงดันของน้ำนมที่ไหลออกมาจะลดลง ทารกจะอมหัวนมและลานนมได้ดีขึ้น แต่หากสาเหตุเป็นจากน้ำนมไหลน้อยหรือไหลช้า การกระตุ้นด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมเพิ่มจากการกระตุ้นของดูดของทารกจะช่วยให้น้ำนมมามากขึ้น ร่วมกับการหยดน้ำนมที่หัวนม กลิ่นของน้ำนมจะช่วยกระตุ้นทารกให้อมหัวนมและลานนมและดูดนมได้ดีขึ้นด้วย
? ? ? ? ? ?หากสาเหตุเป็นจากความผิดปกติในช่องปากของทารก ทารกมีภาวะลิ้นติด การผ่าตัดแก้ไขจะช่วยให้ทารกเข้าเต้าและดูดนมได้ดีขึ้น หากทารกมีเพดานสูงและไม่สามารถจะลดความดันในช่องปากให้น้ำนมไหลได้ดี การใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาใส่น้ำนมและช่วยหยดน้ำนมขณะทารกดูดนมจะช่วยฝึกทารกให้คุ้นเคยกับการเข้าเต้า และมีทารกโตมากขึ้น ทารกจะมีแรงดูดมากขึ้น การเข้าเต้าและการประกบติดเต้านมจะดีขึ้น ในกรณีที่ทารกมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ อาจต้องใช้การป้อนนมด้วยถ้วยช่วยก่อน หรืออาจพิจารณาการให้นมจากเต้านมในท่าจะน้ำนมจะไหลเข้าสู่กระเพาะทารกได้ง่าย ได้แก่ ท่าทารกนั่งหลังตรง ซึ่งจะลดการสำลักนมของทารกได้ เมื่อทารกโตขึ้น การปรับตัวกับการประกบติดเต้านมดีขึ้น มีแรงดูดที่ดีขึ้น การเข้าเต้าก็จะดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)