คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

ภาวะลิ้นติด

moderat tongue-tie1

เอกสารประกอบการสอนภาวะลิ้นติด

tongue-tie review

กระบวนการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกสุขภาพดี 8 ขั้นตอน(ตอนที่ 2)

S__38207905

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

รายละเอียดของขั้นตอน ได้แก่

? ? ? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนที่ 1 ซักประวัติอย่างสมบูรณ์

??????????????? ขั้นตอนที่ 2 ประเมินมารดา ทารก และการกินนมแม่

??????????????? ขั้นตอนที่ 3 จัดลำดับรายการของอาการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 4 จัดลำดับรายการของปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 5 ร้อยเรียงประวัติ การประเมิน อาการและปัญหาเข้าด้วยกัน

??????????????? ขั้นตอนที่ 6 สร้างและจัดเรียงลำดับของวิธีการในการแก้ไขปัญหา และวางแผนการจัดการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 7 ร้อยเรียงลำดับของวิธีการแก้ปัญหาและแผนการจัดการเข้ากับปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 8 ประเมินผลวิธีการแก้ไขปัญหาและการจัดการ

? ? ? ? ? ? ? ? ในขั้นตอนที่ 1-4 จะเป็นขั้นตอนที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นวงรอบ โดยการซักประวัติ การประเมินมารดาและทารก การจัดลำดับรายการของอาการและปัญหา จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีข้อมูลในขั้นตอนเพิ่มขึ้น เมื่อคิดว่ามีข้อมูลเพียงพอ ขั้นตอนที่ 5-7 จะได้รับการดำเนินการต่อ ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทั้งหมด เพื่อให้มองเห็นปัญหาอย่างชัดเจน ในขั้นตอนนี้ ควรมีการสอบถามมารดาถึงความเข้าใจปัญหาของผู้ให้คำปรึกษาว่าตรงประเด็นกับของมารดาหรือไม่ หากได้ประเด็นปัญหาแล้ว การดำเนินการขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการวางแผนการจัดการ ศึกษาผลกระทบของแนวทางการแก้ปัญหาว่า มีผลเสียใดๆ ต่อมารดาหรือทารกหรือไม่ และแนวทางการแก้ปัญหาแต่ละทางมีผลกระทบต่อปัญหาหลายปัญหาหรือมีผลกระทบระหว่างกันหรือไม่ พร้อมกับจัดลำดับของวิธีการแก้ปัญหาและแผนการจัดการ ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรจะมีการพูดคุยกับมารดาถึงความเป็นไปได้และการจัดลำดับของวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ได้ลำดับและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มารดายอมรับและนำไปปฏิบัติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

กระบวนการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกสุขภาพดี 8 ขั้นตอน(ตอนที่ 1)

S__38208304

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?กระบวนการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกสุขภาพดี 8 ขั้นตอน เป็นกระบวนการหนึ่งที่ออกแบบเพื่อใช้เป็นวิธีในการให้คำปรึกษาที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถเลือกใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดาและครอบครัวได้

? ? ? ? ? โดยในกระบวนการ จะมีการรวบรวมความรู้และความคิดวิเคราะห์ไว้ร่วมกัน การช่วยหาทางออกจากความหลากหลายของสาเหตุของปัญหา และพัฒนามองมุมที่เปิดกว้างโดยช่วยสร้างการบริการที่มีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจมารดาและทารก ในแต่ละขั้นตอน ต้องหาคำตอบ จะข้ามขั้นตอนหรือไม่ตอบในส่วนใดส่วนหนึ่งของขั้นตอนแต่ละขั้นตอนไม่ได้ เนื่องจากอาจนำไปสู่คำตอบที่ผิด ไม่สมบูรณ์ หรือไม่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา รายละเอียดของขั้นตอน ได้แก่

??????????????? ขั้นตอนที่ 1 ซักประวัติอย่างสมบูรณ์

??????????????? ขั้นตอนที่ 2 ประเมินมารดา ทารก และการกินนมแม่

??????????????? ขั้นตอนที่ 3 จัดลำดับรายการของอาการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 4 จัดลำดับรายการของปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 5 ร้อยเรียงประวัติ การประเมิน อาการและปัญหาเข้าด้วยกัน

??????????????? ขั้นตอนที่ 6 สร้างและจัดเรียงลำดับของวิธีการในการแก้ไขปัญหา และวางแผนการจัดการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 7 ร้อยเรียงลำดับของวิธีการแก้ปัญหาและแผนการจัดการเข้ากับปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 8 ประเมินผลวิธีการแก้ไขปัญหาและการจัดการ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

เหตุใดนมแม่ในมารดาบางคนจึงมาน้อย

S__38207899

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?นมแม่ส่วนใหญ่จะเพียงพอสำหรับทารก แต่ในมารดาบางรายนมแม่มีน้อย การตรวจหาสาเหตุมีความจำเป็น เพื่อการแก้ไขที่เหมาะสมให้น้ำนมกลับมาเป็นปกติ สาเหตุที่ทำให้มารดามีน้ำนมน้อย ได้แก่

? ? ? -การให้ลูกเริ่มกระตุ้นดูดนมช้า ความถี่ในการดูดนมน้อยเกินไป การดูดนมที่ไม่เกลี้ยงเต้า (พบเป็นสาเหตุได้บ่อย)

? ? ? -การให้นมผสมเสริมจากนมแม่

? ? ? -มารดาเปลี่ยนใจจากการให้ลูกกินนมผสมเปลี่ยนมาให้นมแม่

? ? ? -มารดาสูบบุหรี่

? ? ? -มารดาที่ได้รับยาที่ทำให้น้ำนมมาน้อย ได้แก่ pseudoephedrine โดยอาจได้รับร่วมกับยา antihistamine

? ? ? -โรคหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดหรือหลังคลอด ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอด มารดามีภาวะไทรอยด์ผิดปกติ มารดาเคยได้รับการผ่าตัดเต้านม หรืออาจเกิดจากมารดามีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเต้านมผิดปกติ (พบน้อย)

? ? ? ? ? ? ? ดังนั้น จะเห็นว่า สาเหตุที่พบส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ หากมารดาตั้งใจ เอาใจใส่ และได้รับการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม มารดากลุ่มนี้ จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ทารกหลังคลอดไม่ควรน้ำหนักลดเกินเท่าไหร่

IMG_0718

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกจะมีน้ำหนักลด แต่มีข้อแนะนำว่า น้ำหนักของทารกที่ลดไม่ควรเกินร้อยละ 7 จากน้ำหนักแรกคลอดในที่ 5 หลังคลอด เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และมารดาระมัดสาเหตุที่ทำให้ทารกน้ำหนักลดอาจเป็นอันตรายแก่ทารกได้ ดังนั้น จึงเขียนตารางเทียบน้ำหนักตัวของทารกและน้ำหนักที่ไม่ควรลดเกินในวันที่ 5 หลังคลอด เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการดูแลในเรื่องน้ำหนักทารกที่ลดลง

น้ำหนักแรกคลอด (กิโลกรัม) ในวันที่ห้าหลังคลอด น้ำหนักที่ลดไม่ควรเกิน (กรัม)?
2.5 175
2.75 192.5
3 210
3.25 227.5
3.5 245
3.75 262.5
4 280
4.25 297.5
4.5 315

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.