คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การแบ่งปันเครื่องปั๊มนม ควรหรือไม่อย่างไร

electric expression x1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?การแบ่งปันเป็นสิ่งที่ดี แต่เครื่องปั๊มนมต้องถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานเป็นการส่วนตัวอย่างหนึ่งที่ต้องใส่ใจหากจะมีการให้หรือแบ่งปัน เครื่องปั๊มนมมีส่วนประกอบหลายส่วนที่อาจเป็นที่สะสมและแพร่เชื้อโรคได้ เมื่อไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม การใช้เครื่องปั๊มนมของมารดาท่านหนึ่งและให้มารดาอีกท่านหนึ่งยืมไปใช้ เป็นเรื่องไม่ควรกระทำ เนื่องจากมารดาอาจไม่มีเวลาหรือไม่รู้ขั้นตอนที่จะทำความสะอาดหรือป้องกันการแพร่เชื้อจากมารดาท่านหนึ่งไปอีกท่านหนึ่งหรือไปสู่ทารกได้ เชื้อที่อาจจะแพร่ไปได้แก่ ไวรัสเอชไอวี หรือ ไวรัสตับอักเสบ ซึ่งหากมีการติดเชื้อผ่านเครื่องปั๊มนม อาจไม่คุ้มค่ากับการมักง่ายหรือเห็นเป็นเรื่องที่ลดค่าใช้จ่ายได้ การใช้เครื่องปั๊มนมมือสองก็เช่นกัน เนื่องจากบริษัทที่ผลิตเครื่องปั๊มนมออกแบบสำหรับการใช้เป็นการส่วนตัว ยกเว้น เครื่องปั๊มนมที่มีมาตรฐานคุณภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลที่ออกแบบสำหรับการใช้งานของผู้ใช้หลายคนและมีการดูแลระหว่างผู้ใช้แต่ละคนเป็นไปตามมาตรฐานจึงสามารถใช้ได้ด้วยความปลอดภัย

? ? ? ? ? สุดท้าย การพึ่งพาอุปกรณ์เทคโนโลยีอาจมีข้อจำกัดหลากหลายอย่าง การใช้วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มารดามีติดตัวตลอด จึงน่าจะเหมาะสำหรับการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการใช้ชีวิตแบบสไลว์ไลฟ์ (slow life) ที่เป็นสิ่งที่คนยุคปัจจุบันถวิลหา อยากย้อนยุคกลับไปสู่รากเหง้าพื้นฐานดั้งเดิมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม

 

hand expression x3-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ??การปั๊มนม? เป็นวิธีหนึ่งในการเก็บน้ำนมแม่ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ซึ่งเป็นค่านิยมที่พึ่งพาเทคโนโลยีตามกระแสสังคม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลืมหรือละเลยทักษะพื้นฐานที่มารดาควรปฏิบัติได้คือ การบีบน้ำนมด้วยมือ การใช้เครื่องปั๊มนมควรปฏิบัติในการดูแลความสะอาดของเครื่องปั๊มนมตามคำแนะนำที่มีของคู่มือการใช้งานของเครื่องปั๊มนมอย่างเคร่งครัด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ประกอบเครื่องปั๊มนมมีหลายชนิด แต่ละชนิดอาจต้องการการทำความสะอาดที่แตกต่างกัน ซึ่งในการปั๊มเก็บนมความสะอาดของเครื่องมือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่หากขาดการใส่ใจอาจสร้างผลเสียที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือท้องเสียได้

? ? ? ? ? ข้อดีของการใช้เครื่องปั๊มนมที่มีคือ หากมารดาใส่หัวปั๊มนมที่พอเหมาะและใช้แรงดูดที่เหมาะสมแล้ว ขณะมารดาปั๊มนมหากใส่ชุดช่วยประคองเครื่องปั๊มนม มารดาอาจสามารถทำงานอย่างอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย และอาจปั๊มนมพร้อมกันทั้งสองเต้าพร้อมกัน ซึ่งจะลดเวลาในการปั๊มเก็บน้ำนมลงได้

? ? ? ? ? ข้อเสียคือ การต้องพึ่งพาอุปกรณ์ บางครั้งต้องพึ่งพาถ่านไฟฉาย หรือไฟฟ้าที่เป็นตัวช่วยในการปั๊มนม และต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบในการเก็บน้ำนมเป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

ขั้นตอนการบีบน้ำนมด้วยมือ

hand expression7-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ?การบีบน้ำนมด้วยมือ? เป็นทักษะที่จำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้

???????? ?-ล้างมือให้สะอาด

???????? -เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้เก็บน้ำนม โดยใช้แก้วน้ำที่สะอาด หรือเป็นมารดามือใหม่ที่เพิ่งเริ่มบีบเก็บน้ำนมอาจใช้แก้วน้ำที่มีปากกว้างหรือชามก็ได้

???????? -นวดเต้านมเบาๆ ไล่จากเต้านมมาที่หัวนม จากนั้น ค่อยๆ จับหัวนมให้ยืดยาวออกเพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโตซินที่ช่วยในการหลั่งของน้ำนม

???????? -วางนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบนและนิ้วชี้ไว้ด้านล่างของเต้านมบริเวณลานนมหรือเหนือลานนมเล็กน้อย จากนั้นกดนิ้วในทิศทางไปที่หน้าอกก่อนที่จะบีบนิ้วเข้าหากัน โดยไม่ควรใช้การเลื่อนหรือไถลนิ้วเข้าหาเต้านม การบีบน้ำนมควรบีบเป็นจังหวะ โดยช่วงจังหวะการบีบราว 1 ครั้งต่อหนึ่งวินาทีให้คล้ายกับการดูดน้ำนมของทารก

?????? ?-อุปกรณ์ที่เก็บน้ำนมอาจวางบนโต๊ะ หากมารดายืนบีบน้ำนม หรือาจอยู่บนตัก หากมารดานั่งบีบน้ำนม มารดาควรฝึกการบีบน้ำนมให้ลงในลงตรงกับภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนม

?????? -บีบน้ำนมในลักษณะและตำแหน่งเดิมจนกระทั่งน้ำนมที่ไหลเริ่มช้าลง

????? ?-ย้ายตำแหน่งการบีบน้ำนมไปจนบีบน้ำนมครบรอบเต้านม

????? -หลังจากบีบน้ำนมจากเต้านมเต้าแรกเสร็จแล้ว ย้ายไปบีบน้ำนมเต้านมอีกข้างในลักษณะเดียวกัน โดยในมารดาที่มีความชำนาญอาจบีบน้ำนมได้พร้อมกันจากสองเต้า แต่ต้องเตรียมอุปกรณ์เก็บน้ำนมสองอันด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การบีบน้ำนมด้วยมือ

hand expression8-1

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? ?การบีบน้ำนมด้วยมือ? เป็นทักษะหนึ่งที่มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรปฏิบัติได้ และควรได้รับการสอนจากบุคลากรทางการแพทย์ให้มารดาสามารถปฏิบัติได้ก่อนที่จะอนุญาตให้มารดากลับบ้าน เนื่องจากเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยให้มารดาสามารถให้นมลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก โดยใช้ในช่วงที่จำเป็นต้องแยกห่างจากทารกหรือจำเป็นต้องไปทำงาน และช่วยคงให้การให้นมลูกทำได้นานเท่าที่มารดาปรารถนาในสภาพสังคมปัจจุบันที่ต้องเร่งรีบและสตรีต้องมีบทบาทในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น การบีบน้ำนมด้วยมือ นอกจากจะปฏิบัติได้รวดเร็วแล้ว ยังสะดวก ทำได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ เพิ่มเติม สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้เก็บน้ำนมก็ใช้เพียงแก้วน้ำที่สะอาดก็ใช้ได้ ซึ่งการดูแลเรื่องความสะอาดหรือการปนเปื้อนติดเชื้อจะมีน้อยกว่าการใช้อุปกรณ์ในการปั๊มนมที่มีหัวปั๊มที่ใช้ประกบเต้านม สายยางที่ต้องดูแลความสะอาดให้ดีโดยการต้มหรือแช่น้ำร้อน ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรละเลยในการให้ความสำคัญของการสอนมารดาให้บีบน้ำนมด้วยมือได้ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

การนวดเต้านม

00024-5-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ?การนวดเต้านม? เป็นทักษะหนึ่งที่มารดาสามารถใช้ในระหว่างการให้นมบุตรโดยจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นในขณะที่ลูกหยุดดูดนม ซึ่งจะกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมใหม่ ทักษะนี้จะเป็นประโยชน์ในทารกที่ดูดนมสองสามครั้งและเว้นช่วงการดูดนาน ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีภาวะอ่อนแรง การกดนวดเต้านมจะทำให้น้ำนมมารดาไหลได้ดีขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมอีกครั้ง

??????? นอกจากนี้ การนวดเต้านมยังมีส่วนช่วยในทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่ที่ดูดนมไม่ได้ดีจากการที่ทารกไม่สามารถสร้างแรงดูดในช่องปากได้เพียงพอ การกดนวดเต้านมมารดาปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการบีบน้ำนมด้วยมือ โดยจังหวะในการกดนวดเต้านม มารดาและทารกจะเรียนรู้จังหวะที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้ทารกสามารถปรับตัวกับน้ำนมที่ไหลเร็วขึ้น ซึ่งทารกที่ดูดนมแม่ได้น้อยหรือดูดได้ยาก จะได้รับน้ำนมแม่ที่เพียงพอมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.