คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

อาการคันหัวนมหลังคลอดของมารดาเป็นจากอะไร

S__38199475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดในมารดาบางคนอาจมีอาการคันบริเวณหัวนมได้ โดยในระยะแรก อาการคันอาจเป็นเพียงอาการเดียวที่มารดามี แต่เนื่องจากอาการคันนั้นมีสาเหตุได้จากหลายอย่าง มารดาอาจจะต้องสังเกตอาการแสดงที่เห็นร่วมกับอาการคัน โดยสังเกตและติดตามบริเวณที่คันว่ามีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งอาจจะมีอาการแดง เจ็บ เป็นแผล เป็นสะเก็ด เป็นตุ่มผื่น หรือมีลักษณะของการถูกกัดจากแมลง สิ่งเหล่านี้ จะช่วยในการให้การวินิจฉัยและการรักษา

-มารดาที่มีผื่นแดงหรือลมพิษร่วมกับอาการคัน ควรตรวจสอบการแพ้สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าหรือปรับผ้านุ่ม น้ำหอม หรือครีมที่ใช้สัมผัสกับหัวนมหรือเต้านม การดูแลรักษา ควรหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และอาจใช้ยาแก้แพ้ช่วยบรรเทาอาการ

? ? ? ? ? -มารดาที่มีผื่นแดง อักเสบ เป็นสะเก็ด และแห้ง ร่วมกับมีประวัติการเป็นผื่นแดง อักเสบในบริเวณอื่นๆ ควรตรวจสอบอาการผื่นแดงอักเสบ (eczema) และให้การดูแลรักษาโดยให้ยาแก้แพ้ และยาทาสเตียรอยด์เฉพาะที่ แต่ยาทานี้ต้องล้างออกก่อนการให้นมบุตร

? ? ? ? ? -มารดามีตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะแยกจากกัน และมีน้ำเหลืองไหลออกมา ควรตรวจสอบการอักเสบติดเชื้อที่ผิวหนัง ที่เรียกว่า Impetigo ซึ่งจะเป็นการติดเชื้อจากเชื้อ streptococcus หรือ staphylococcus การดูแลรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

? ? ? ? ? -มารดาที่มีการอักเสบแดง และกดเจ็บของเต้านมร่วมด้วย ควรตรวจสอบการอักเสบหรือการติดเชื้อของเต้านม (mastitis) การดูแลรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

-มารดามีหัวนมเป็นสีชมพู ใสเป็นมัน และเป็นสะเก็ด ควรตรวจสอบการติดเชื้อรา การดูแลรักษาจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราได้แก่ Gentian violet ทาบริเวณหัวนม และอาจต้องใช้ทาในปากทารกด้วย

? ? ? ? ? -มารดามีตุ่มใส และบริเวณฐานของตุ่มเป็นสีแดง ต้องตรวจสอบการอักเสบจากการติดเชื้ออีสุกอีใส (varicella) หรือการกลับเป็นซ้ำของงูสวัด

? ? ? ? ? -มารดาที่มีตุ่มอักเสบ เป็นหลุม ร่องหรือเป็นรู ร่วมกับทารกมีอาการลักษณะเดียวกัน ควรตรวจสอบการอักเสบจากหิด ซึ่งจำเป็นต้องรักษาหิด

? ? ? ? ? ?-มารดามีตุ่มอักเสบและมีร่องรอยของแมลงกัด หรือต่อย การดูแลรักษาต้องรักษาการปวดหรือคันตามอาการ แต่ควรหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการกัด หรือต่อยของแมลงที่จะเกิดต่อไปด้วย

? ? ? ? ? ? สำหรับอาการคันของมารดาที่มีผื่นแดง อักเสบ ร่วมกับการคลำได้ก้อน อาจสงสัย Paget disease ซึ่งเป็นอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม สิ่งนี้มีอันตรายและมีความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษา อย่างไรก็ตาม อาการคันหัวนมของมารดา สาเหตุส่วนใหญ่มักเป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ความผิดปกติหรือสาเหตุจากมะเร็งพบน้อย แต่หากดูแลรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกที่อ่อนแรง มีวิธีให้นมแม่อย่างไร

dancer hold position2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ทารกที่อ่อนแรง หรือมีแรงตึงของกล้ามเนื้อน้อยกว่าปกติ จะมีลักษณะที่เปลี้ย หรืออ่อนปวกเปียก สาเหตุที่ทารกมีการอ่อนแรง อาจเกิดได้จากการคลอดก่อนกำหนดที่ทารกยังไม่มีความสมบูรณ์ ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทารกที่มีลักษณะพันธุกรรมที่ผิดปกติ ทารกที่มีการขาดเลือดหรือขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด หรือทารกที่บาดเจ็บจากการคลอด ทารกเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษในระหว่างการให้นมแม่ เนื่องจากทารกอาจดูดนมได้น้อย หรือขาดแรงในการดูดนม ทำให้ดูดนมได้ไม่เพียงพอ และมีการเจริญเติบโตที่ช้าหรือต่ำกว่าเกณฑ์ จึงต้องมีการติดตามการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด
? ? ? ? ? ? ? ? สำหรับการให้นมแม่ในทารกเหล่านี้ หากทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ ควรให้ดูดนมจากเต้า การดูดนม ทารกอาจดูดได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าปกติ เนื่องจากทารกจะเหนื่อย ดังนั้นจะต้องวางแผนให้นมบ่อยๆ และเนื่องจากทารกมีกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง การจัดท่าที่เหมาะสมจะช่วยให้การเข้าเต้าของทารกทำได้ดี ท่าในการให้นมลูกที่แนะนำ ได้แก่ ท่า Dancer hold ท่านี้จะวางคางทารกไว้ในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยนิ้วโป้งและนิ้วชี้อาจช่วยในการประคองแก้มของทารก ซึ่งจะทำให้ทารกที่อ่อนแรงดูดนมได้นานขึ้น ในกรณีที่ทารกอ่อนแรงมาก ไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ อาจจำเป็นต้องใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมและใช้อุปกรณ์ช่วยในการป้อนนม ได้แก่ ใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยป้อนนม หรือใช้การป้อนนมด้วยหลอดฉีดยา ช้อน หรือถ้วย ร่วมกับการกระตุ้นการพัฒนาการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของทารกโดยการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น มีพัฒนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง

เอกสารอ้างอิง
1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ดูดนมจากเต้าทำได้หรือไม่

cleft lip cleft palate1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่ปากแหว่ง เพดานโหว่ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตในส่วนโครงสร้างของใบหน้า ทำให้เกิดการไม่เชื่อมต่อกันของผิวหนัง เนื้อเยื่อ และกระดูกบริเวณปาก และเพดานในปากด้านบน โดยทั่วไปจะพบความผิดปกติของทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียวร้อยละ 20 ทารกที่มีเพดาโหว่อย่างเดียวร้อยละ 30 และทารกที่มีปากแหว่งและเพดาโหว่ร้อยละ 50

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่มีปากแหว่งอย่างเดียว หากสามารถประกบปากเข้ากับเต้านม และส่วนของเนื้อเต้านมแนบสนิทกับปากทารก ทารกจะสามารถสร้างแรงดูดนม และสามารถดูดนมจากเต้าได้ แต่ในทารกที่มีเพดานโหว่ การสร้างแรงดูดนมอาจทำได้ไม่ดี จำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยป้อนนมแม่ให้กับทารก โดยอาจใช้หลอดฉีดยา ช้อน หรือการป้อนด้วยถ้วย และจัดท่าให้ทารกอยู่ในลักษณะที่นั่งตัวตรง จะช่วยป้องกันการสำลักของทารกได้ การใช้แผ่นพลาสติกที่ออกแบบมาเพื่อปิดเพดานโหว่ (palate obturator) ก็ช่วยในการกินนมของทารก การติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่มีความจำเป็น เนื่องจากทารกอาจดูดนมได้น้อยและอาจต้องการการป้อนนมเสริม ในทารกเหล่านี้ มารดาจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วย

? ? ? ? ? ?สำหรับการผ่าตัดแก้ไข ส่วนใหญ่จะทำเมื่อทารกอายุ 1-2 ปี ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่อง การอักเสบของหู การได้ยิน การเจริญเติบโตของฟันที่ผิดปกติ และความล่าช้าในการออกเสียงหรือการใช้ภาษา ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของนมแม่ มารดาจะตั้งใจและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

ข้อแนะนำสามีในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38207874

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หลังการคลอด มารดาจะต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่อาจเป็นสิ่งใหม่โดยเฉพาะในมารดาครรภ์แรก การปรับตัวกับความเหนื่อยล้า การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความวิตกกังวลให้แก่มารดาได้ สามีผู้ซึ่งมีความใกล้ชิด เข้าใจ และรู้ใจมารดาจะมีส่วนช่วยให้มารดาผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยดีและน่าจดจำ โดยมีข้อแนะนำสำหรับสามี ดังนี้

? ? ? ? ?-เป็นส่วนหนึ่งของทีมเสมอ เพราะสามีซึ่งเป็นพ่อของลูกจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตลอดเวลา

? ? ? ? -โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ แม้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่มารดาต้องทำ? แต่สำหรับพ่อของลูกการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อช่วยให้ทารกหลับได้ดี สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก ซึ่งมากกว่าการดูแลเปลี่ยนผ้าอ้อมเวลาทารกขับถ่ายเพียงอย่างเดียว ซึ่งพ่อที่สามารถให้การดูแลลูกได้ จะเกิดความภาคภูมิใจและมั่นใจที่จะช่วยมารดาในการให้ลูกกินนมแม่

? ? ? ? -ดูแลมารดาด้วยความอ่อนโยน ความอ่อนโยนและอบอุ่นที่มารดาได้รับจะส่งผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ?-ควรลืมเกี่ยวกับงานอื่นๆ ไปก่อน สนใจ ใส่ใจกับแม่ ลูก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มาก

? ? ? -ช่วยดูแลทารกระหว่างที่มารดางีบหลับ พักผ่อน หากมารดาเหนื่อยหรือเมื่อยล้า

? ? ? ? จะเห็นว่า บทบาทของสามีมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างอบอุ่น หากสามีถูกกันออกจากทีม หรือถูกบ่นด่าในการมีส่วนร่วม ความมีส่วนร่วมหรือทีมจะหายไป มีการศึกษาพบอาการซึมเศร้าที่พบในพ่อของลูกได้หลังคลอดร้อยละ 11 ดังนั้น มารดาควรหลีกเลี่ยงที่จะวิจารณ์ความช่วยเหลือของสามีในการช่วยดูแลลูก เห็นความสำคัญหรือความใส่ใจหรือความเอาใจใส่ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม การพูดจาด้วยคำชมเชยหากพ่อปฏิบัติได้ดี และเสนอแนะบ้างในกรณีที่สามีต้องการคำแนะนำช่วยในการดูแลทารก จะทำให้ความราบรื่นในการต้อนรับสมาชิกคนใหม่เป็นไปได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ปั๊มนมจากเต้าอย่างเดียวดีไหม

electric expression x1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ปัจจุบัน การปั๊มนมและนำนมที่ปั๊มได้มาป้อนจากถ้วยหรือใส่ขวดมีมากขึ้น จึงเกิดคำถามว่า การปั๊มนมจากเต้าอย่างเดียวแล้วให้แก่ทารกได้หรือไม่ และดีไหม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยให้ทารกดูดนมจากเต้าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทารกจะดูดนมจากเต้าได้เกลี้ยงกว่าและกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีกว่า นอกจากนี้ ขณะที่ทารกดูดนม มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ ตาสบตา และมารดาได้พูดคุยกับทารกจะกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาทการรับรู้ต่างๆ ของทารกได้ดีขึ้น การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมือนั้นจำเป็นในกรณีที่ทารกไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้ โดยอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนดหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ นอกจากนี้ การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมืออาจช่วยในกรณีที่มารดาจำเป็นต้องแยกจากทารกหรือกรณีที่มารดาต้องทำงานนอกบ้าน การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมือเก็บไว้ให้ทารกระหว่างที่มารดาไม่อยู่ อย่างน้อยทารกก็ยังได้ประโยชน์จากการกินนมแม่ ดังนั้น การปั๊มนมหรือการบีบน้ำนมด้วยมือ หากใช้อย่างเหมาะสมก็จะเป็นเครื่องมือช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนแรกประสบความสำเร็จได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed.The American Academy of Pediatrics 2016.