คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

มารดาเป็นไมเกรน ให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม

IMG_0700

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?อาการไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดจากเส้นเลือดขยายตัว ตัวโรคไม่ได้มีผลต่อการให้นมลูก แต่สำหรับการรักษา ยาแก้ปวดอะเซตามิโนเฟนหรือชื่อที่มีความคุ้นเคยคือพาราเซตามอลและยา ibuprofen สามารถให้ได้ ยาที่ช่วยลดการกำเริบของอาการในกลุ่มยาต้านภาวะซึมเศร้าสามารถให้ได้ แต่สำหรับในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือจำเป็นต้องยา ergotamine หรือชื่อการค้าที่คุ้นเคยคือ cafergot?ซึ่งเป็นยาที่ใช้บ่อยในการรักษาไมเกรนอาจทำให้น้ำนมลดลงได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้ใช้ยาบ่อย และมีการสนับสนุนช่วยมารดาในการดูแลทารก ลดความเครียด ให้มารดาได้พักผ่อนที่เพียงพอ น่าจะป้องกันอาการของไมเกรนและลดความจำเป็นในการใช้ยา ทำให้มารดาสามารถให้นมลูกได้โดยสบายใจไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องผลของการใช้ยาต่อทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

 

มารดาเป็นหอบหืด ลูกกินนมแม่ดีไหม

S__45850764

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?มารดาที่เป็นหอบหืด อาจมีคำถามหรือข้อสงสัยว่า จะให้ลูกกินนมแม่ดีหรือไม่ ลูกจะติดหอบหืดจากการกินนมแม่หรือไม่ และหากมารดาต้องกินยาหรือรักษาหอบหืด ลูกที่กินนมแม่จะมีอันตรายไหม

? ? ? ? ? ? ?โรคหอบหืด เป็นโรคที่ส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากพันธุกรรมกับอีกส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมและช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดในทารก ดังนั้น การสนับสนุนให้ลูกกินนมแม่จะเป็นผลดีในการป้องกันหรือลดการเกิดหอบหืด และแน่นอนการกินนมแม่ไม่ได้ทำให้ลูกติดหอบหืด สำหรับการที่มารดาต้องกินยาหรือรักษาอาการหอบหืด? ยาที่มารดาได้รับมักจะเป็นยาชนิดพ่นเข้าทางเดินหายใจและยาชนิดรับประทาน ซึ่งใช้ได้อย่างปลอดภัยในการให้นมลูก บุคลากรทางการแพทย์จึงควรส่งเสริมให้ลูกกินนมแม่โดยเฉพาะในมารดาที่เป็นหอบหืด

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

มารดาเป็นไข้หวัดใหญ่ จะให้นมลูกได้ไหม

S__38207880

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?ในช่วงหน้าหนาว หรืออากาศเย็น การระบาดของไข้หวัดใหญ่จะพบได้ อาการของไข้หวัดใหญ่ มารดาจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว มีน้ำมูก ไอ หรือจาม ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทั่วไปจะให้การรักษาด้วยยาตามอาการและอาการต่างๆ จะค่อยๆ หายไปเอง การติดต่อของไข้หวัดใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสจากการไอหรือจามของผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ผ่านละอองน้ำขนาดเล็ก ซึ่งหากร่างกายอ่อนแอ เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายอาจป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ ดังนั้น มารดาควรใช้ผ้าปิดปากป้องกันการไอหรือจามใส่ทารก ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนการให้นมทารก การให้นมแม่ยังสามารถทำได้ การใช้ยาลดหรือบรรเทาอาการ ควรหลีกเลี่ยงยาที่ลดอาการคัดจมูกและยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูกที่อาจทำให้มีผลลดการสร้างน้ำนม และอาจทำให้ทารกง่วงซึมได้ ยาต้านไวรัสหากมีความจำเป็น สามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสารพันธุกรรมของไวรัส ได้แก่ เชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งการดูแลรักษาและการให้นมบุตรสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

 

 

มารดาที่ให้นมลูกเสริมสวยได้หรือไม่

 

g46

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สตรีโดยทั่วไปจะรักสวยรักงาม ดังนั้น อาจมีคำถามที่อยากรู้ว่า ในช่วงหลังคลอด ขณะมารดาให้นมบุตรจะเสริมสวยได้หรือไม่ เนื่องจากมีกิจกรรมหลายอย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวันในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ได้แก่ การย้อมสีผม การทำเล็บ การฉีดโบท็อกซ์ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย หรือการนอนที่ตู้ที่ปรับผิวให้สีแทนในคนที่นิยมผิวสีแทน รายละเอียดของแต่ละกิจกรรม มีข้อแนะนำดังนี้

? ? ? ? ? ? การย้อมสีผม จะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนัง เข้าไปในกระแสเลือด และผ่านน้ำนมได้ แต่มีปริมาณเล็กน้อย มารดาสามารถย้อมสีผมในระหว่างช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ควรระมัดระวังสารระเหยที่เป็นตัวทำละลายสี หากขณะหมักหรือย้อมสีผมใช้เวลานาน มารดาอาจสูดดมสารที่เป็นตัวทำละลายสีจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้น ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? ?การทาเล็บ ในยาทาเล็บจะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ แต่มีปริมาณน้อย มารดายังสามารถทาเล็บได้ในช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ต้องระวังสารระเหยจะยาทาเล็บ ในมารดาที่ต้องทำงานอยู่ในร้านเสริมสวย และต้องทาเล็บให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ควรจัดสถานที่ในร้านให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? การฉีดโบท็อกซ์ สารโบท็อกซ์เป็นสารโมเลกุลใหญ่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกล้ามเนื้อที่ฉีดเข้าไป ไม่ควรจะผ่านไปที่น้ำนม อย่างไรก็ตาม ควรเว้นการให้นมบุตร 4-6 ชั่วโมงหลังจากการฉีดโบท็อกซ์

? ? ? ? ? ?การลดน้ำหนัก ในสตรีที่ให้นมบุตรจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ ดังนั้น หากมารดาเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม น้ำหนักมารดาจะกลับสู่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ได้ดี ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองจะเป็นส่วนช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักด้วยอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกินยาเพื่อลดน้ำหนักระหว่างการให้นมบุตร

? ? ? ? ? การออกกำลังกาย มารดาระหว่างการให้นมบุตรสามารถออกกำลังกายได้ แต่หากออกกำลังกายหนักมากจนร่างกายล้า ร่างกายจะผลิตกรดแลคติกเพิ่มขึ้น อาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป ไม่มีผลเสียต่อทารก แต่หากทารกปฏิเสธการกินนม อาจใช้นมที่บีบเก็บไว้ก่อนการออกกำลังกายมาให้ทารกได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายในขนาดที่เหมาะสม มารดาจะไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป จิตใจแจ่มใส และมีเรี่ยวแรงในการเอาใจใส่ดูแลบุตร

? ? ? ? สำหรับการนอนในตู้ที่ปรับสีผิวให้เป็นสีแทน สามารถทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงในบริเวณเต้านมและหัวนม เนื่องจากอาจทำให้ผิวแห้ง แสบ ไหม้ และเจ็บขณะให้นมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

ปัญหาในการให้นมแม่ในทารกคลอดใกล้ครบกำหนด

IMG_1018

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ทารกที่คลอดใกล้ครบกำหนดตั้งแต่อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ มักพบปัญหาในการให้ทารกกินนมแม่ได้ เนื่องจากพัฒนาการของทารกยังไม่พร้อมเต็มที่ ทารกมักง่วงหลับขณะดูดนมแม่ได้บ่อย ดังนั้น หากมารดาคลอดทารกใกล้ครบกำหนด และทารกสามารถดูดนมจากเต้าได้ การให้ลูกกินนมแม่ ควรปฏิบัติดังนี้

? ? ? ?-โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนและหลังการกินนม เพราะนอกจากจะกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยให้ทารกตื่นตัว กินนมได้มากขึ้น และกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดีขึ้น

? ? ? ?-หากทารกง่วงหลับขณะดูดนม มารดาอาจใช้การกระตุ้นที่มุมปากของทารก ใช้การนวดเต้าให้น้ำนมไหลมากเพื่อกระตุ้นทารก การเปลี่ยนสลับเต้าเพื่อให้นมราวทุก 5 นาที หากทารกยังง่วงหลับอยู่ อาจใช้การเปิดผ้าที่ห่อตัวทารกให้ทารกได้ขยับแขนขา ใช้การพลิกตัวทารก การเปลี่ยนผ้าอ้อม การสัมผัสกระตุ้นบริเวณหน้าอกและหลัง การกระตุ้นต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ทารกตื่นตัวและทารกดูดนมได้ดีขึ้น

? ? ? ? อย่างไรก็ตาม ในทารกที่คลอดใกล้ครบกำหนด ควรมีการติดตามการเพิ่มของน้ำหนักและการเจริญเติบโตของทารกว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ หากประเมินแล้วกินนมได้เองน้อย มารดาอาจต้องบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมป้อนทารกเพิ่มเติมด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.