คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การใช้ยาคุมกำเนิดในมารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตรกับการสูญเสียมวลกระดูก

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ภาวะเอสโตรเจนต่ำมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียมวลกระดูก ภาวะกระดูกบางและภาวะกระดูกพรุน จากการตรวจมวลกระดูกพบว่ามีการสูญเสียแคลเซียมและแร่ธาตุของกระดูกระหว่างการให้นมบุตรและจะกลับเข้าภาวะปกติเมื่อหยุดให้นม1 ปัจจัยที่มีผลต่อเมตาบอริซึมของกระดูกในสภาวะนี้มีหลายอย่าง ได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ สัดส่วนของสารประกอบในร่างกาย (body composition) รูปแบบกิจกรรมทางกายภาพ การสูบบุหรี่ การใช้ยา ความผิดปกติในการกินอาหาร และการคุมกำเนิด

??????????? ในมารดาที่ให้นมบุตร ทางเลือกของการคุมกำเนิดมักพิจารณาการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมนก่อน ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย การใส่ห่วงอนามัย การทำหมันรวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหากปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมจะช่วยในการคุมกำเนิดได้ในหกเดือนแรก สำหรับทางเลือกในกรณีที่จะใช้ฮอร์โมนจะเลือกใช้กลุ่มที่มีเฉพาะโปรเจนตินในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามเนื่องจากไม่มีผลเสียต่อการให้นม การเจริญเติบโตของทารกและพัฒนาการในวัยเด็ก มีการศึกษาถึงผลของการใช้การคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินกับการสูญเสียมวลกระดูกในมารดาที่ให้นมบุตรหลังคลอดโดยการวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ข้อมือในช่วงหกเดือนหลังคลอดบุตร จากข้อมูลพบว่ามารดาที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินจะมีการสูญเสียมวลกระดูกน้อยกว่า2 อย่างไรก็ตามผลในทางคลินิกยังไม่ชัดเจนเนื่องจากในการสูญเสียมวลกระดูกนี้จะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อหยุดให้นม

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Ensom MH, Liu PY, Stephenson MD. Effect of pregnancy on bone mineral density in healthy women. Obstet Gynecol Surv 2002;57:99-111.

2.???????? Costa ML, Cecatti JG, Krupa FG, Rehder PM, Sousa MH, Costa-Paiva L. Progestin-only contraception prevents bone loss in postpartum breastfeeding women. Contraception 2012;85:374-80.

?

?

การตรวจสุขภาพหลังคลอด

การตรวจสุขภาพหลังคลอด

การตรวจสุขภาพหลังคลอด

??????????????? หลังคลอดบุตร ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดมาตรวจสุขภาพหลังคลอดราว 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อตรวจว่าสภาวะร่างกายของคุณแม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วหรือยัง จะมีการตรวจหน้าท้อง การตรวจภายใน ตรวจมะเร็งปากมดลูก และแนะนำการปฏิบัติตัว การออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธ์ การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด สำหรับคุณแม่ที่มีข้อสงสัยหรือปัญหาเรื่องการดูแลบุตรก็สามารถสอบถามจากคุณหมอเพิ่มเติมได้

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไรหลังคลอด

?จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไรหลังคลอด

ข้อสงสัยของคุณแม่

??????????????? ?จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไร??

??????????????? เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อพร้อมด้วยกันทั้งคู่ คุณแม่บางคนอาจจะยังเจ็บระบบเกินกว่าจะมีเพศสัมพันธ์ได้? แต่เมื่ออาการลดลงแล้วอาจอยากลองดู? ควรนุ่มนวลและช้าๆ พยายามผ่อนคลายให้มาก? อาจใช้สารหล่อลื่นช่วย เพราะช่องคลอดอาจแห้งกว่าปกติได้ในระหว่างให้นมบุตร โดยปกติการมีเพศสัมพันธ์สามารถมีได้ตั้งแต่ประมาณ 1 เดือนหลังคลอด

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญในช่วงระยะเวลาหลังคลอด

สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญในช่วงระยะเวลาหลังคลอด

สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญในช่วงระยะเวลาหลังคลอด

– ?ปวดท้องน้อยหลังคลอด อาจรู้สึกมีอาการปวดเกร็งในช่องท้องและมักเป็นในขณะที่ลูกดูดนม? อาการนี้เป็นจากการที่มดลูกรัดตัว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นลักษณะที่ปกติ? เมื่อคุณแม่เข้าใจจะทำให้ลดความวิตกกังวลลง อาการปวดนี้ถ้าเป็นมากอาจกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดได้

– ?ปัสสาวะผิดปกติ? หลังคลอดใหม่ๆ อาจมีอาการปัสสาวะลำบากเนื่องจากปวดและระบมแผลบริเวณฝีเย็บ? ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจเป็นสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แนะนำให้ปัสสาวะเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หลังคลอด? โดยอาจจะลุกขึ้นเดินไปมา เพื่อกระตุ้นให้อยากปัสสาวะ? ปกติหลังคลอดร่างกายจะพยายามขับน้ำที่สะสมไว้เกินในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จะพบว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยในวันแรก ๆ หลังคลอดได้

– ?น้ำคาวปลา? จะมีน้ำคาวปลาสีแดงออกมา 2-3 วัน จากนั้นจะจางลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีเหลืองประมาณ 10 วันและค่อยๆ หมดไป? คุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัยสังเกตสีและกลิ่นของน้ำคาวปลา ถ้าน้ำคาวปลายังมีสีแดงตลอดเกิน 2 สัปดาห์หรือมีกลิ่นเหม็นควรรีบมาพบแพทย์? ไม่แนะนำให้คุณแม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะจะทำให้ติดเชื้อและเป็นอันตรายรุนแรงได้ง่าย

อารมณ์เศร้า? ผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่งจะรู้สึกซึมเศร้าในช่วงสองสามวันหลังคลอด สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็วและหมดความรู้สึกตื่นเต้นซึ่งผ่านไปแล้วเมื่อพ้นการคลอด? อารมณ์เศร้านี้ส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง และมักไม่เป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ การเอาใจใส่จากคุณพ่อและครอบครัวจะทำให้ภาวะนี้หายไปได้เร็วขึ้น ถ้ามีอาการรุนแรงหรือเป็นนานเกินจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด

? ? ? ? ? ? ? ??หลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่มักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายไปหมดและอาจเจ็บระบมในช่วงวันแรกๆ หลังการคลอด? นอกจากนี้ ยังอาจตกใจกับรูปร่างตนเองหลังคลอดที่จากท้องเต่งตึงกลายเป็นหน้าท้องหย่อนๆ เต้านมจะใหญ่ ต้นขาจะอวบหนา ซึ่งการบริหารหลังการคลอดสม่ำเสมอ? จะช่วยให้รูปร่างกระชับและคุณแม่จะรู้สึกดีขึ้น

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด

– ? การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ตามปกติ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อเสริมสร้างรักษาแผลจากการคลอด ไม่มีอาหารแสลง ?ไข่ ผัก ผลไม้สามารถรับประทานได้ ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการหรืออยากรับประทานอาหารประเภทใดเป็นพิเศษไม่ต้องกังวล จะมีข้อห้ามก็แต่ยาดองเหล้า เพราะจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ซึ่งจะผ่านทางน้ำนมเวลาให้นมบุตร

– ? การปฏิบัติตัวตามชีวิตประจำวัน สามารถทำได้ตามปกติ? การเดิน ควรเริ่มเดินให้เร็ว หลังพักฟื้นแล้วหลังคลอด สำหรับผู้คลอดที่คลอดทางช่องคลอดและคลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้องตามยาว หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ? เพราะอาจปวดตึงแผลได้ ในผู้ที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดตามขวาง มักไม่มีปัญหากับการขึ้นลงบันได นอกจากนี้ การเดินยังช่วยลดอาการท้องอืด ช่วยในการทำงานของลำไส้ในผู้ผ่าตัดคลอดด้วย การยืน ยืนตัวตรงตามปกติ ไม่ควรงอตัวเพราะจะทำให้ปวดหลัง การนั่ง ควรนั่งตัวตรง โดยเฉพาะขณะให้นมบุตรควรให้หมอนหรือฟูกรองใต้ทารกเพื่อให้ระดับของปากทารกอยู่ในตำแหน่งของหัวนมพอดี การก้มหรือนั่งงอตัวให้นมบุตร จะทำให้อาการปวดหลังมีมากขึ้น ในกรณีที่คลอดทางช่องคลอดหากปวดตึงแผลฝีเย็บเวลานั่ง อาจใช้ห่วงที่ใช้ฝึกว่ายน้ำเด็กรองบริเวณก้น เพื่อลดการกดทับแผลและลดการกดการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผล การนอน ควรนอนหงาย แต่หากเป็นคนชอบนอนตะแคงก็สามารถทำได้

– ? การอาบน้ำ สามารถอาบได้ แนะนำให้ฝักบัวหรือการตักอาบ ไม่ควรอาบน้ำแบบแช่ หรืออาบน้ำตามแม่น้ำลำคอง เพราะจะทำให้แผลบวมและอักเสบได้ง่าย

– ? การเบ่งอุจจาระ? หลังคลอดคุณแม่มักปวดแผล ทำให้กลั้นไม่อยากจะถ่ายอุจจาระจึงมีปัญหาเรื่องถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องเบ่ง ส่งผลเกิดความกลัวว่าจะเกิดแผลแยก วิธีแก้คือพยายามลุกขึ้นเดินไปมาทันทีที่ทำได้ เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงาน ดื่มน้ำมาก ๆ และกินอาหารที่มีกากและเส้นใยสูงเพื่อกระตุ้นการถ่ายอุจจาระ จะทำให้ถ่ายได้สะดวกและลดการเบ่งอุจจาระลงได้

– ? การให้นมบุตร สามารถให้ในท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน แนะนำให้ให้ทุก 2-3 ชั่วโมง โดยให้วันละ 8 ครั้ง? ในเวลากลางวันให้บ่อยครั้งหรือถี่หน่อย เนื่องจากส่วนใหญ่ทารกจะหลับกลางวันและตื่นเวลากลางคืน การปลุกทารกเพื่อให้รับประทานในช่วงเวลากลางวันตามเวลา จะทำให้กลางคืนทารกจะตื่นน้อยลงและเป็นการฝึกให้ทารกรู้จักเวลารับประทานอาหารที่เหมาะสมด้วย

– ? การดูแลแผล สำหรับแผลบริเวณฝีเย็บ ทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่เหมือนกับเวลาอาบน้ำปกติโดยเวลาล้างให้ล้างแผลจากด้านหน้ามาด้านหลัง? ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แผลในบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะเจ็บมากในช่วง 1-2 วันแรก และจะค่อยๆ ลดลง จะเจ็บอยู่ราว 1-2 สัปดาห์? สำหรับแผลผ่าตัดคลอด ส่วนใหญ่มักปิดแผลอยู่ราว 5-7 วัน ช่วงที่ปิดแผลห้ามแผลโดนน้ำ ยกเว้นผ้าปิดแผลเป็นชนิดกันน้ำหรือใช้กาวปิดแผลซึ่งจะสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แผลจากการผ่าตัดคลอดนี้มักจะเจ็บอยู่ราว 2-3 สัปดาห์

– ? การออกกำลังกาย หากคลอดปกติทางช่องคลอด สามารถบริหารหน้าท้องที่หย่อนหยานได้ตั้งแต่หลังคลอด พร้อมการฝึกบริหารอุ้งเชิงกรานโดยฝึกขมิบช่องคลอด ซึ่งจะช่วยให้แผลกระชับและหายเร็วขึ้น สำหรับการผ่าตัดคลอด การบริหารหน้าท้องเริ่มได้หลังคลอด 6 สัปดาห์

– ? การอยู่ไฟ การใช้กระเป๋าน้ำร้อน การอบสมุนไพร ในการแพทย์แผนปัจจุบันไม่จำเป็นต้องทำ แต่หากจะปฏิบัติก็ไม่ห้าม แต่ควรระมัดระวังเรื่องอุณหภูมิที่ร้อนเกินไป อาการขาดน้ำซึ่งอาจมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้

?บทความโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์