คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลการขับถ่ายหลังคลอด

w2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หลังคลอด มารดาควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หากให้นมลูกแล้วมีการกระหายน้ำอาจต้องดื่มน้ำเพิ่มเติม ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงร่วมกับธัญพืช ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระเมื่อมีอาการปวดถ่าย และหากท้องผูกอาจใช้ยาระบายที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มได้ เพื่อป้องกันการเบ่งถ่ายอุจจาระที่อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนกับแผลบริเวณฝีเย็บได้ ในประเทศไทยและในคนไทยที่มีเชื้อสายจีนยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการอยู่ไฟ1,2 ซึ่งหากอยู่ไฟและอากาศร้อนเกินไป ดื่มน้ำน้อย ร่างกายอาจขาดน้ำโดยจะมีผลต่อระบบขับถ่าย สำหรับความเชื่อเรื่องการรับประทานอาหารที่ให้งดผักและผลไม้2 เช่นเดียวกันอาจมีผลต่อการขับถ่ายเช่นกัน บุคลากรทางการแพทย์จึงควรให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการรับประทานอาหารและการขับถ่ายแก่มารดาหลังคลอดด้วย

หนังสืออ้างอิง

  1. Kaewsarn P, Moyle W, Creedy D. Traditional postpartum practices among Thai women. J Adv Nurs 2003;41:358-66.
  2. Chien YC, Liu JF, Huang YJ, Hsu CS, Chao JC. Alcohol levels in Chinese lactating mothers after consumption of alcoholic diet during postpartum “doing-the-month” ritual. Alcohol 2005;37:143-50.

 

 

 

 

 

การดูแลแผลหลังคลอด

w35

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? แผลฝีเย็บ ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่อาบน้ำ อาจแช่น้ำอุ่นวันละ 15-20 นาที ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดจนกระทั่งน้ำคาวปลาหมด หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่ง 3-4 สัปดาห์หลังคลอดหรือจนกระทั่งน้ำคาวปลาเปลี่ยนเป็นไม่มีสีน้ำตาลแดง แผลที่เกิดจากการตัดฝีเย็บ (episiotomy) จะมีผลต่ออาการปวดแผลและการหายของแผลจะช้ากว่า1 การล้างบริเวณอวัยวะเพศ ควรล้างจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง แนะนำให้อาบน้ำด้วยฝักบัว สำหรับแผลบริเวณฝีเย็บหากเปียกควรซับให้แห้ง

แผลผ่าตัดคลอด หากปิดแผลด้วยแผ่นปิดกันน้ำ ไม่ต้องทำแผล อาบน้ำได้ตามปกติ หากปิดแผลด้วยกาวปิดแผล ไม่ต้องทำแผลและอาบน้ำได้ตามปกติเหมือนแผ่นปิดกันน้ำ หากปิดแผลโดยใช้แผ่นปิดที่ไม่กันน้ำ ต้องระมัดระวังไม่ให้แผลเปียก หากแผลเปียกน้ำควรเปิดแผลแล้วทำแผลใหม่ ส่วนการดูแลน้ำคาวปลาเหมือนกับการคลอดปกติ และไปตรวจหลังคลอดตามแพทย์นัด

หนังสืออ้างอิง

  1. Karacam Z, Ekmen H, Calisir H, Seker S. Prevalence of episiotomy in primiparas, related conditions, and effects of episiotomy on suture materials used, perineal pain, wound healing 3 weeks postpartum, in Turkey: A prospective follow-up study. Iran J Nurs Midwifery Res 2013;18:237-45.

 

 

 

 

น้ำคาวปลาหลังคลอด

w7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?น้ำคาวปลาจะมีประมาณ 24-36 วันหลังคลอด1,2 ปริมาณของน้ำคาวปลาควรจะน้อยลงและสีควรจะจางลงเมื่อเวลาผ่านไป3 โดยน้ำคาวปลาอาจเป็นสีแดงเพิ่มขึ้นในกรณีมารดามีกิจกรรมต่างๆ มาก หากมีน้ำคาวปลาเป็นเลือดสีแดงหลังจากน้ำคาวปลาจางลงแล้วและมามากโดยใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 1 ผืนต่อชั่วโมงหรือมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกมาจากช่องคลอดควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ปกติการกลับมามีประจำเดือนจะเกิดขึ้นใน 6-8 สัปดาห์ในมารดาที่ไม่ได้ให้นมลูก หากมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ประจำเดือนจะมาช้ากว่าหรืออาจจะมีมาหลังจากหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ซึ่งในช่วงนี้จะในการเว้นระยะในการมีบุตรและคุมกำเนิดได้ในหกเดือนแรก

หนังสืออ้างอิง

  1. Fletcher S, Grotegut CA, James AH. Lochia patterns among normal women: a systematic review. J Womens Health (Larchmt) 2012;21:1290-4.
  2. The World Health Organization multinational study of breast-feeding and lactational amenorrhea. IV. Postpartum bleeding and lochia in breast-feeding women. World Health Organization Task Force on Methods for the Natural Regulation of Fertility. Fertil Steril 1999;72:441-7.
  3. Sherman D, Lurie S, Frenkel E, Kurzweil Y, Bukovsky I, Arieli S. Characteristics of normal lochia. Am J Perinatol 1999;16:399-402.

 

 

 

การให้นมลูกหลังคลอดที่บ้าน

01_991

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การให้นมลูก มารดาควรกระตุ้นให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกต้องการ ปกติจะให้นมลูกวันละ 8-12 ครั้ง โดยจะมีช่วงเวลาที่ให้นมในเวลากลางคืน 2-3 ครั้ง ซึ่งมารดาอาจการจัดเวลาให้นมลูกก่อนมารดาราวเที่ยงคืนหนึ่งครั้ง เวลา 3 นาฬิกาหนึ่งครั้ง และ 6 นาฬิกาอีกหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญคือควรให้นมตามความต้องการของทารก ท่าที่ให้นมทารกมารดาคลอดปกติ สามารถให้ในท่าใดก็ได้ที่มารดาสะดวกสบายและผ่อนคลาย ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดมารดาควรให้นมในท่าฟุตบอล (football) ท่าเอนหลัง (laid-back) หรือท่านอนตะแคงข้าง (side-lying) เนื่องจากลำตัวทารกจะไม่กดทับแผล ซึ่งมารดาควรจัดท่าให้นมทารกได้หลายท่า เพื่อใช้เปลี่ยนในกรณีที่เกิดความเมื่อยล้า สำหรับความเชื่อเรื่องการงดให้หัวน้ำนมหรือการให้ทารกกินน้ำที่ยังมีอยู่ในประเทศไทยในชุมชนชนบท1 บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับมารดาและครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วย

หนังสืออ้างอิง

  1. Kaewsarn P, Moyle W, Creedy D. Thai nurses’ beliefs about breastfeeding and postpartum practices. J Clin Nurs 2003;12:467-75.

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด

w42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? หลังคลอดมารดาจะสามารถจะปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ โดยร่างกายของมารดาจะค่อยๆ กลับมาปกติทีละน้อย ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาควรจะมีเวลาพักระหว่างวันและในช่วงที่ทารกหลับ เนื่องจากต้องตื่นมาให้นมทารกในช่วงกลางคืน การพักผ่อนไปพร้อมกับทารกจะทำให้มารดาไม่อ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้า ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักที่หนักเกินไป การยกของหนักเกินกว่า 4.5 กิโลกรัมโดยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลจากการผ่าตัดคลอด หรือทำให้เกิดการภาวะกระบังลมหย่อนในช่วงที่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ยึดมดลูกยังไม่มีแรงยึดตึงมดลูกกลับเข้าที่ สำหรับการเดินช้าๆ หรือมีความเร็วปานกลาง การแกว่งแขน การเต้นแอโรบิกหรือการออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้1-3 โดยผลของการออกกำลังกาย เช่น โยคะ และพิลาทิส (pilates) จะช่วยในเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต ลดความอ่อนเพลีย ลดอาการซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของสตรีหลังคลอด โดยไม่มีผลต่อการให้ปริมาณน้ำนมและการให้นมบุตร4,5 ในประเทศไทยความเชื่อเรื่องการอยู่ไฟ การอาบน้ำร้อน ไม่สระผม ห้ามโดนลมและการกินน้ำอุ่น ยังพบอยู่ในชนบท ซึ่งต้องการการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด6

ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดอาจต้องระมัดระวังเรื่องการขึ้นบันไดหรือขับรถ เนื่องจากกระบวนการการขึ้นบันไดหรือการขับรถจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องที่อาจมีผลทำให้เกิดการเจ็บระบมได้โดยเฉพาะหากแผลผ่าตัดในแนวเดียวกับลำตัวหรือแนวตั้ง การลุกขึ้นจากเตียงควรตะแคงตัวและใช้มือเท้าช่วยในการพยุงตัว เช่นเดียวกันมารดาที่มีแผลจากการตัดฝีเย็บมารดาจะปวดหรือขัดเมื่อต้องยกขาขณะขึ้นบันได หากสามารถทำได้ ควรแนะนำมารดาควรนอนชั้นล่างของบ้านและมีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ หรือในห้องเพื่อดูแลเรื่องน้ำคาวปลาและดูแลแผล สำหรับมารดาที่ผ่าตัดคลอดควรรอประมาณ 4-5 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อให้ความแข็งแรงของแผลดีก่อนการออกกำลังการหรือยกของหนัก ในมารดาที่คลอดปกติทางช่องคลอด การบริหารหน้าท้องสามารถจะบริหารได้เร็วประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังคลอด

หนังสืออ้างอิง

  1. Zourladani A, Zafrakas M, Chatzigiannis B, Papasozomenou P, Vavilis D, Matziari C. The effect of physical exercise on postpartum fitness, hormone and lipid levels: a randomized controlled trial in primiparous, lactating women. Arch Gynecol Obstet 2014.
  2. Ko YL, Yang CL, Chiang LC. Effects of postpartum exercise program on fatigue and depression during “doing-the-month” period. J Nurs Res 2008;16:177-86.
  3. Davies GA, Wolfe LA, Mottola MF, et al. Exercise in pregnancy and the postpartum period. J Obstet Gynaecol Can 2003;25:516-29.
  4. Ko YL, Yang CL, Fang CL, Lee MY, Lin PC. Community-based postpartum exercise program. J Clin Nurs 2013;22:2122-31.
  5. Dritsa M, Da Costa D, Dupuis G, Lowensteyn I, Khalife S. Effects of a home-based exercise intervention on fatigue in postpartum depressed women: results of a randomized controlled trial. Ann Behav Med 2008;35:179-87.
  6. Kaewsarn P, Moyle W, Creedy D. Traditional postpartum practices among Thai women. J Adv Nurs 2003;41:358-66.