คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์จากโรงพยาบาลสำหรับมารดาที่ให้นมลูก

ลูบหลัง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์จากโรงพยาบาล ควรเลือกปรึกษาในโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อน หากไม่มีเบอร์โทรศัพท์สายตรงให้คำปรึกษา แนะนำให้ติดต่อเบอร์โทรศัพท์กลางและติดต่อคลินิกนมแม่หรือหอผู้ป่วยหลังคลอดเพื่อขอคำปรึกษา จากแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลการให้บริการเหล่านี้ เนื่องจากมักเป็นผู้มีบทบาทในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำการแก้ไขเบื้องต้นและอาจแนะนำให้มีการมารับบริการต่อที่คลินิกหากสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

การเตรียมตัวก่อนกลับบ้านสำหรับมารดาที่ให้นมลูก

จับเลอ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนจากโรงพยาบาลกลับมาบ้าน มารดาอาจพบอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมารดาจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะขอความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกรณีที่มารดาพบปัญหา ต้องการขอคำปรึกษา และขอความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนเพื่อให้สามารถคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และให้ต่อไปถึงสองปีหรือนานกว่านั้น

? ? ? ? ?ก่อนออกจากโรงพยาบาล มารดาควรได้รับข้อมูลเรื่องรูปแบบต่างๆ ในการขอความช่วยเหลือเมื่อมารดากลับไปอยู่ที่บ้าน โดยรูปแบบการติดต่ออาจเป็นเบอร์โทรศัพท์ สายด่วนนมแม่ที่ให้คำปรึกษา การติดต่อทางอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายทางสังคม หรือการจัดให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ที่จะไปเยี่ยมและดูแลมารดาหลังคลอด หรือมารดาอาสาที่จะเป็นผู้นำในการจัดกลุ่มถ่ายทอดประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งจะมาทำความรู้จัก สร้างความสนิทสนมและคุ้ยเคย เพื่อความสบายใจและไม่อึดอัดใจเมื่อมารดาต้องการติดต่อหรือขอคำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สิทธิการลาคลอดของสตรีและครอบครัว

101019213

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? หญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อการคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน?90?วัน โดยระหว่างการลา สิทธิของข้าราชการจะได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน สำหรับพนักงานของรัฐและลูกจ้างจะได้รับเงินเต็มจำนวนใน 45 วันแรกและอีก 45 วันสามารถขอรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคมได้ร้อยละ 50?

? ? ? ? ?ในประเทศไทย สาเหตุของการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนหกเดือนที่พบบ่อยที่สุด คือ การที่มารดากลับไปทำงาน ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องระยะเวลาลาคลอดที่นานขึ้นและมีการอนุญาตให้ลาคลอดได้จริงตามระยะเวลาที่กำหนดในทางปฏิบัติ จะช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเป็นการลงทุนทางสุขภาพที่มีความคุ้มค่า

สำหรับสามี จะมีเฉพาะสิทธิข้าราชการที่อนุญาตให้ลาไปดูแลภรรยาที่คลอดบุตรและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ 15 วันทำการ ส่วนสิทธิอื่นๆ อาจต้องการการขับเคลื่อนของภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมกับประชาสังคมเพื่อให้มีสิทธิคลอบคลุมในทุกกลุ่มอาชีพ ซึ่งต้องถือเป็นการลงทุนเพื่อสร้างรากฐานที่ดีทางสุขภาพให้แก่ประชากรของประเทศ

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับปัญหาของทารกแรกเกิดที่พบบ่อย

01_335

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย ได้แก่ ทารกตื่นบ่อยเวลากลางคืน ทารกแหวะนม ทารกถ่ายอุจจาระบ่อย ท้องเสียหรือท้องผูก ภาวะตัวเหลือง สายสะดืออักเสบ ผดผื่น ผื่นผ้าอ้อม การร้องไห้ของทารก อาการโคลิก และการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสม ปัญหาเหล่านี้ ควรมีการให้ความรู้ถึงสาเหตุของปัญหา แนะนำการแก้ปัญหาเบื้องต้นและแนวทางการขอรับความช่วยเหลือให้มารดาได้มีความมั่นใจในการดูแลทารกและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์กับมารดาหลังการคลอด

IMG_0102

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์หรือการเปิดสายด่วน (hotlines) รับคำปรึกษาของมารดาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลทารกเป็นช่องทางให้มารดาได้เข้าถึงคำปรึกษาจากบุคลากรทางการแพทย์เบื้องต้น โดยสามารถช่วยมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลได้

?