คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การตอบสนองของภูมิคุ้มกันในนมแม่ต่อการติดเชื้อ

รูปภาพ8

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในนมแม่มีสารที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ได้แก่ แลคโตเฟอริน (lactoferrin) และอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) ซึ่งสารทั้งสองจะทำหน้าที่ต่างกัน คือ แลคโตเฟอรินจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อโดยมีค่าสูงขึ้นเมื่อเกิดการติดเชื้อ ขณะที่อิมมูโนโกลบูลินเอจะป้องกันการติดเชื้อโดยหากมีค่าสูงจะป้องกันการติดเชื้อ1 ความเข้าถึงการตอบสนองของสารภูมิคุ้มกันในนมแม่ต่อการติดเชื้อจะทำเข้าใจสภาวะของมารดาและทารกทั้งก่อนและหลังการติดเชื้อได้ และสามารถวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Breakey AA, Hinde K, Valeggia CR, Sinofsky A, Ellison PT. Illness in breastfeeding infants relates to concentration of lactoferrin and secretory Immunoglobulin A in mother’s milk. Evol Med Public Health 2015;2015:21-31.

 

 

การเข้าใจในบุคลิกภาพของมารดาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

HAL148

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผู้ให้คำปรึกษาควรทำความเข้าใจกับบุคลิกภาพของมารดาและผู้ที่ให้คำปรึกษา1 เพื่อจะสามารถสื่อสารสิ่งที่มารดาควรทราบเกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยหวังว่า หากมารดาเข้าใจและเห็นถึงผลดีที่จะเกิดแก่บุตรและตนเอง จะสร้างให้มีความตั้งใจในการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Bick D, Chang YS. Maternal extraversion, emotional stability and conscientiousness are associated with initiation and continuation of breastfeeding. Evid Based Nurs 2015;18:37.

 

 

การรักษาไมเกรนในสตรีตั้งครรภ์และให้นมลูก

m1152

? ? รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โรคไมเกรนเป็นโรคที่พบบ่อยในสตรี หากสตรีตั้งครรภ์ การรักษาด้วยยาจะมีข้อจำกัดในเรื่องของการใช้ยาบางชนิด ดังนั้น ทางเลือกแรกในการป้องกันรักษา คือ การผ่อนคลาย พักผ่อนให้เพียงพอ การทำสมาธิ การนวด การฝังเข็ม ?หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา พาราเซตามอลเป็นยาที่ควรเลือกใช้ในลำดับแรก เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง หากมารดามีอาการรุนแรงและใช้ยาพาราเซตามอลแล้วไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาชนิดอื่นในการให้การรักษาด้วย ได้แก่ ซูมาทริปแธน? (sumatriptan) สำหรับยาต้านการอักเสบ (NSAID) จะมีความเสี่ยงในการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สาม1 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาการไมเกรนมักดีขึ้น มารดาจึงควรเลือกปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะจำเป็นต้องใช้ยาที่มีความเสี่ยง จะมีน้อย

เอกสารอ้างอิง

  1. Amundsen S, Nordeng H, Nezvalova-Henriksen K, Stovner LJ, Spigset O. Pharmacological treatment of migraine during pregnancy and breastfeeding. Nat Rev Neurol 2015;11:209-19.

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

bf45

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในประเทศที่กำลังพัฒนา 19 ประเทศ พบว่า การกลับไปทำงานของมารดาหรือการจ้างงานมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกมาก รองลงมาได้แก่ การรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่พบเป็นอุปสรรคน้อยกว่า คือ มารดาหรือทารกป่วย ปัญหาหัวนมหรือเต้านม นอกจากนี้ สิ่งที่ยังพบเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งคือ ความเชื่อเกี่ยวกับการให้อาหารอื่นแก่ทารกก่อนหกเดือน1

? ? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทยจากการสำรวจเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนหลังคลอด พบข้อมูลคล้ายคลึงกัน2 โดยในเรื่องความเชื่อยังมีการให้น้ำ น้ำข้าว ข้าวต้ม น้ำส้ม กล้วยบดแก่ทารกแรกเกิดในหกเดือนแรก ดังนั้นในส่วนที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยกันแก้ไขได้ทันที คือ การสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาว่า มารดาปกติจะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกทุกคน โดยในส่วนของความเชื่ออาจต้องแก้ไขด้วยกับให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความจำเป็นที่ต้องได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนหลังคลอดแก่บุคคลในครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการให้นมลูก ซึ่งอาจเป็นปู่ ย่า ตา ยาย หากบุคคลเหล่านี้เข้าใจจะเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่บ้านอย่างดีเยี่ยม

เอกสารอ้างอิง

  1. Balogun OO, Dagvadorj A, Anigo KM, Ota E, Sasaki S. Factors influencing breastfeeding exclusivity during the first 6 months of life in developing countries: a quantitative and qualitative systematic review. Matern Child Nutr 2015.
  2. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province J Med Health Sci 2009;16:116-23.

 

 

 

 

 

การหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จับเลอ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การศึกษาหรือหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจทำได้โดยติดต่อองค์กรที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านทางโทรศัพท์หรือเวบไซต์ขององค์กรต่างทั้งในประเทศไทย ได้แก่ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งประเทศไทย สมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทย และต่างประเทศ ได้แก่ WABA, IBFAN, UNICEF, WHO, CDC และ LactMed