รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่สตรีจะมีความผิดปกติของการตกไข่หรือการยากลำยากในการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และในกระบวนการช่วยเหลือมักมีการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ ฉีดน้ำอสุจิ หรือการช่วยปฏิสนธิในหลอดทดลอง และใส่เซลสืบพันธุ์หรือตัวอ่อนเข้าไปที่ท่อนำไข่หรือในโพรงมดลูก ในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ มักสร้างความวิตกกังวลหรือความเครียดให้กับมารดาและครอบครัวได้ นอกจากนี้ในมารดาเหล่านี้ยังมีโอกาสที่จะพบโรคประจำตัวที่มีร่วมกับการมีบุตรยาก และมารดามักมีอายุที่มาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดโดยการผ่าตัดคลอดสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่ามารดาที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงกว่ามารดาที่มีการตั้งครรภ์เองถึง 65.3 เท่า (95% confidence interval: 1.5-2889.3)1 ดังนั้น หากบุคลากรต้องดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ นอกจากต้องระมัดระวังในความเสี่ยงจากการมีโรคประจำตัวต่างๆ แล้ว ยังต้องเอาใจใส่ดูแลและติดตามเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด โดยควรมีการนัดติดตามในสัปดาห์แรกเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่พบบ่อย ลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Cromi A, Serati M, Candeloro I, et al. Assisted reproductive technology and breastfeeding outcomes: a case-control study. Fertil Steril 2015;103:89-94.
รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? มีการศึกษาถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่อ้วนที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมาก พบว่า ในมารดากลุ่มนี้จะมีการเริ่มต้นและความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่ากลุ่มมารดาที่มีน้ำหนักปกติ1 ซึ่งเหตุผลในการที่มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่น้อยกว่ามารดากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติน่าจะเกิดจากมารดาที่อ้วนและคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดและหลังคลอดได้มากกว่ากลุ่มมารดาและทารกที่มีน้ำหนักปกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ การคลอดยาก การคลอดที่ยาวนาน การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก การผ่าตัดคลอด การใช้หัตถการในการทำคลอด การตกเลือดหลังคลอด ทารกติดไหล่ ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด และทารกมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ทำให้มารดาหรือทารกอ่อนเพลีย บาดเจ็บ เสียเลือดหรืออยู่ในภาวะที่ไม่มีความพร้อมจะเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อไม่มีความพร้อมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน้อยกว่าด้วย สิ่งนี้สื่อให้เห็นว่า ในการเตรียมตัวสำหรับการมีบุตรและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดาได้มีการวางแผน ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากจะทำให้โอกาสมีการตั้งครรภ์สูงขึ้นแล้ว ผลของการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีกว่า ซึ่งจะทำให้ได้ทารกที่มีคุณภาพที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Cordero L, Oza-Frank R, Landon MB, Nankervis CA. Breastfeeding Initiation Among Macrosomic Infants Born to Obese Nondiabetic Mothers. Breastfeed Med 2015;10:239-45.
รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นน้ำนมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิด ข้อสงสัยจึงเกิดขึ้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมนุษย์นั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ และขนาดของเต้านมตามพันธุกรรมมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกันไหม มีการศึกษาถึงเรื่องนี้ในออสเตรเลีย โดยทำการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่ฟองเดียวกันกับมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่คนละฟองพบว่า การเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม และขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
? ? ? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่การเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งแวดล้อมน่าจะมีอิทธิพลมากกว่าพันธุกรรม และ มารดาที่มีพันธุกรรมที่มีขนาดเต้านมใหญ่ไม่ได้มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างจากมารดาที่มีเต้านมเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทางกายวิภาค ซึ่งบ่งชี้ว่า เต้านมขนาดใหญ่มีเพียงไขมันในเนื้อเยื่อของเต้านมมากกว่าเต้านมขนาดเล็ก โดยปริมาณของต่อมน้ำนมไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น การโฆษณา การให้ข้อมูล และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ จึงส่งผลต่อความเชื่อและทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจุบันจึงมีความจำเป็นต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่างๆ ซึ่งบางสื่อขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุน นอกจากนี้ ควรมีการควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมกับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่จะเป็นกลไกที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาด้วย
เอกสารอ้างอิง
Colodro-Conde L, Zhu G, Power RA, et al. A twin study of breastfeeding with a preliminary genome-wide association scan. Twin Res Hum Genet 2015;18:61-72.
รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบบ่อย หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญได้แก่ การกินนมแม่ที่ไม่เพียงพอ มีการศึกษาถึงการให้นมแม่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 8 ครั้งขึ้นไปสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกที่น้อยกว่า1 ดังนั้น การที่จะป้องกันภาวะตัวเหลืองจากสาเหตุนี้ ควรให้ทารกได้รับน้ำนมที่เพียงพอ ซึ่งได้แก่ การดูแลการปฏิบัติในการให้นมของมารดาให้ ?เริ่มให้ลูกดูดนมเร็ว กระตุ้นให้ดูดนมบ่อยๆ ดูดจนเกลี้ยงเต้า และดูดอย่างถูกวิธี?
เอกสารอ้างอิง
Chen YJ, Yeh TF, Chen CM. Effect of breastfeeding frequency on hyperbilirubinemia in breastfed term neonate. Pediatr Int 2015.
รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดา (skin-to-skin contact) ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะช่วยในการพัฒนาการของทารกทั้งด้านร่างกาย พัฒนาระบบประสาท พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาเร็วที่สุดหลังคลอด โดยเช็ดตัวทารกให้แห้งแล้วสามารถวางทารกไว้บนอกมารดา และอาจคลุมผ้าอีกทีเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ การดูแลอย่างอื่น เช่น การฉีดวัคซีน อาจพิจารณาทำหลังจากช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว
? ? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่คลอดปกติ อุปสรรคในการดูแลการให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาในระยะแรกหลังคลอดจะน้อยกว่าในมารดาที่ผ่าตัดคลอด เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น หรือการจำกัดการเคลื่อนไหวของมารดา ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดในปัจจุบัน นิยมใช้ยาระงับความรู้สึกฉีดเข้าไขสันหลัง ซึ่งหากมารดาไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น สามารถทำได้เช่นเดียวกับการคลอดปกติ1 อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ท้าทายในการบริหารจัดการให้เกิดระบบที่มีการยอมรับได้ในบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาที่ร่วมช่วยกันดูแลมารดาที่ผ่าตัดคลอด ซึ่งหวังว่า ทีมส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละโรงพยาบาลจะสามารถปฏิบัติได้
เอกสารอ้างอิง
Burke-Aaronson AC. Skin-to-skin care and breastfeeding in the perioperative suite. MCN Am J Matern Child Nurs 2015;40:105-9.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)