คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

ทารกควรนอนร่วมเตียงกับมารดาหรือไม่

IMG_0734

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การที่ทารกนอนร่วมห้องโดยใกล้ชิดกับมารดาช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมารดาจะสังเกตเห็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกรู้สึกหิวได้ง่าย และสามารถให้นมได้ตามความต้องการของทารก อย่างไรก็ตาม การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาอาจมีอันตรายได้ ในมารดาที่ดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ติดยาเสพติดหรือสูบบุหรี่ โดยทั่วไป เตียงของผู้ใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับทารก อาจมีร่องหรือซอกที่ทารกอาจตกหล่นลงไปและเกิดอันตรายได้ เช่นเดียวกันกับการให้ทารกนอนร่วมกับมารดาบนโซฟาที่มีความเสี่ยงในการเกิดอันตราย การจัดพื้นที่โดยมีเตียงของทารกอยู่ใกล้กับเตียงของมารดาจะเหมาะสมกว่า1 สำหรับในประเทศไทย การนอนของมารดาใกล้กับทารกบนพื้นอาจเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ประหยัดค่าใช้จ่ายได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ควรให้ลูกกินนมแม่กลางคืนหรือไม่

IMG_0724

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การให้ลูกกินนมแม่ควรให้ตามความต้องการของทารก แต่ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดกระเพาะทารกจะยังมีความจุน้อย การกินนมแม่จึงจำเป็นต้องกินบ่อยๆ และในเวลากลางคืนก็จำเป็นต้องมีการให้นมแม่ นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินของมารดาจะสูงในช่วงกลางคืน การกระตุ้นกินนมกลางคืนจะช่วยให้น้ำนมมาดีขึ้น แต่เมื่อทารกอายุมากขึ้น ทารกจะกินนมได้มากขึ้นและนอนนานขึ้น ซึ่งหากทารกกินนมได้มากในระหว่างวันและช่วงเย็น กลางคืนทารกจะนอนนานขึ้นอยู่แล้ว มารดาจึงควรเอาใจใส่กับการให้ทารกกินนมตามความต้องการและกระตุ้นให้ทารกกินนมในระหว่างวันให้เพียงพอ จึงไม่จำเป็นต้องฝึกหรือบังคับให้ทารกงดนมแม่ในเวลากลางคืน

? ? ? ? ? ?ในมารดาที่พยายามจะฝึกทารกให้นอนได้นานในเวลากลางคืน และงดให้ลูกกินนมแม่ ต้องระมัดระวังว่า ทารกอาจจะได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะทำให้การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม หากมารดาได้นอนอยู่กับทารกตลอดทั้งคืน มารดาจะสังเกตเห็นอาการที่บ่งบอกถึงว่าทารกหิวได้ การให้นมแม่ตามความต้องการของทารกจะดีที่สุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การเตรียมมารดาให้พร้อมที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อไปทำงาน

hand expression11-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? นประเทศไทย ส่วนใหญ่มารดามักลาหลังคลอดได้หนึ่งเดือนครึ่งถึงสามเดือน ซึ่งเมื่อมารดากลับไปทำงานมักเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้มารดาหยุดนมแม่ การเตรียมความพร้อมให้มารดามีความสามารถที่จะเลือกที่จะยังคงให้นมแม่ได้ จึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรจะมีส่วนช่วยเตรียมให้มารดามีความพร้อม การรับฟังสถานการณ์ของมารดาว่า ทำงานอะไร ที่ทำงานอยู่ไกลจากบ้านมากน้อยแค่ไหน ที่ทำงานมีที่เลี้ยงเด็กเล็กระหว่างวันหรือไม่ ที่ทำงานมีการอนุญาตให้นำลูกไปให้นมระหว่างวันได้หรือไม่ ที่ทำงานมีช่วงเวลาพักให้มารดาให้นมลูกหรือบีบน้ำนมหรือไม่ ที่ทำงานมีการสนับสนุนสถานที่ให้มารดาบีบเก็บน้ำนม มีที่ปั๊มนม หรือตู้เย็นเก็บน้ำนมหรือไม่ รวมถึงครอบครัวมีความเข้าใจและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่บุคลากรมีความเข้าใจสภาพและสถานการณ์ของมารดาจะทำให้สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. หนังสือรอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม, 2558.

 

อาหารของมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38207892-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ขณะที่มารดาให้นมลูก มารดาสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นราว 500 กิโลแคลอรี แม้ว่ามารดาที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอ จะไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม จนกว่ามารดาจะขาดสารอาหารรุนแรงหรือมากกว่าร้อยละ 30 จึงจะมีผลทำให้น้ำนมลดลง อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่รับประทานอาหารได้สมส่วนมักเล่นกับลูกและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้นานกว่ามารดาที่มีภาวะขาดอาหาร

? ? ? ? ? ? รสชาติของอาหารที่รับประทาน มีผลต่อทารก ซึ่งทารกจะคุ้นเคยกับรสชาติอาหารผ่านทางน้ำนม โดยจะมีผลต่อการกินอาหารของทารกเมื่อทารกเริ่มกินอาหารเสริมตามวัย และโดยทั่วไป ทารกมักชอบนมที่มีรสชาติ ทารกจะกินนมนานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อมารดากินกระเทียม อาหารที่มารดาเคยกินก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แม้ว่ามารดาจะยังสามารถดื่มกินได้ แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะคาเฟอีนจะผ่านน้ำนม ทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องกวน ไม่ยอมนอนหลับได้ สำหรับเครื่องดื่มเหล้า เบียร์ หรือแอลกอฮอล์มารดาควรหลีกเลี่ยง ในกรณีที่จำเป็นต้องกินยาที่มีแอลกอฮอล์หรือยาดองเหล้า ควรรับประทานหลังทารกกินนมใหม่ๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ได้ใน 1-2 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อถึงช่วงที่ทารกจะกินนมในมื้อต่อไป ร่างกายมารดาจะปราศจากแอลกอฮอล์ น้ำนมที่ทารกกินก็จะปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่มีผลให้น้ำนมลดลง

IMG_0715

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?มีความเชื่อหลายอย่างที่เกี่ยวกับการทำให้น้ำนมลดลง ซึ่งมีคำอธิบายที่ถูกต้องเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่มารดาและครอบครัว ได้แก่

? ? ? ? ? -การดื่มน้ำมากๆ โดยทั่วไป แนะนำให้มารดาดื่มน้ำเมื่อมารดารู้สึกกระหาย สำหรับการดื่มน้ำมากไม่ได้ทำให้น้ำนมลดลง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น

? ? ? ? ? -มารดาที่ต้องออกแรงในการทำงานหรือทำงานหนัก ไม่ได้มีผลทำให้น้ำนมลดลง

? ? ? ? ? -มารดาที่อ่อนเพลีย ไม่ได้มีผลทำให้น้ำนมมารดาลดลง หากมารดาไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ภาวะไทรอยด์สูงหรือต่ำ หรือได้รับยาที่มีผลทำให้น้ำนมลดลง ได้แก่ pseudoephedrine สเตียรอยด์ หรือยาคุมกำเนิด

? ? ? ? ? -มารดาที่เครียดมีผลต่อปริมาณน้ำนม แต่มารดาที่ให้นมแม่มีความเครียดน้อยกว่ามารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม

? ? ? ? ? -การรับประทานอาหารของมารดา โดยปกติ หากมารดาไม่ได้ขาดอาหารเกินร้อยละ 30 จะไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม

? ? ? ? ? ? ดังนั้น เมื่อมารดามีความเข้าใจที่ถูกต้อง นระหว่างการให้นมลูกมารดายังสามารถทำงานที่ออกแรงได้ การเหนื่อยอ่อนเพลียก็เป็นปกติธรรมดาของการทำงาน หากมารดารับประทานอาหารได้หลากหลายและครบถ้วน ก็ไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องผลที่จะทำให้น้ำนมลดลง ยังสามารถทำงานต่อเนื่องได้ และการทำงานก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามในขณะให้นมลูก

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.