คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

ข้อควรรู้ในการจัดท่าให้นมลูก ตอนที่ 4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การจัดท่าให้นมลูก หากมารดาอยู่ในท่านั่ง ควรจัดท่าให้ทารกอยู่ในระดับเดียวกับเต้านมของมารดา โดยหันหน้าท้องของทารกเข้าไปหาหน้าท้องของมารดาในลักษณะ “หน้าท้องชิดหน้าท้อง” และหนุนรองรับลำตัวของทารกด้วยหมอน

สำหรับการจัดท่าให้นมลูกแบบทารกนำ หรือจัดตามลักษณะทางชีวภาพ มารดาควรได้รับคำแนะนำให้อยู่ในท่าเอนหลัง จากนั้นวางทารกถูกไว้บนหน้าอกของมารดาและเปิดโอกาสให้ทารกได้ใช้ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติและพฤติกรรมตามธรรมชาติที่จะค้นหาเต้านม อมหัวนมและลานนม และเริ่มการกินนมแม่เองได้1

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

ข้อควรรู้ในการจัดท่าให้นมลูก ตอนที่ 3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในระหว่างการให้นม มือของมารดาที่ประคองเต้านม นิ้วหัวแม่มือและนิ้วที่เหลือของมารดาควรอยู่ห่างจากลานนม เพื่อให้ทารกสามารถประกบปาก อมหัวนมและลานนมได้โดยนิ้วมือที่ประคองเต้านมจะไม่รบกวนหรือขัดขวางการอมหัวนมและลานนม บ่อยครั้งที่เราเห็นมารดาขยับเต้านมให้หาทารกโดยใช้การวางนิ้วมือแบบกรรไกร ซึ่งจะเป็นการประคองจับหัวนมให้อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง ในลักษณะเช่นนี้ นิ้วของมารดาจะมีโอกาสที่จะอยู่ใกล้กับลานนม ทำให้เกิดการรบกวนการอมหัวนมและลานนมของทารกได้ และทำให้การเข้าเต้านั้นไม่เหมาะสม1

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

ข้อควรรู้ในการจัดท่าให้นมลูก ตอนที่ 2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การให้นมลูก มารดาควรนั่งโดยหนุนหลังให้พอเหมาะหรือนอนในท่าที่สบาย และนำทารกเข้ามาใกล้ตัว มารดาควรจัดท่าให้นมทารกในลักษณะที่ช่วยให้ปากของทารกแนบสนิทกับเต้านมได้ดี โดยอาจประคองเต้านมด้วยนิ้วทั้งสี่ด้านล่างและนิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนเต้านมเบา ๆ ซึ่งมักเรียกว่า “การประคองเต้านมในลักษณะรูปตัวซี (C hold)”  และควรทำการขยับทารกเข้าใกล้เต้านมโดยให้จมูกของทารกตรงกับตำแหน่งหัวนม จากนั้นขยับศีรษะทารกให้เอนไปด้านหลังเล็กน้อย เพื่อให้ปากทารกประกบเข้าที่หัวนมโดยให้คางของทารกแนบชิดกับเต้านมและอยู่ใต้ลานนม1

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

ข้อควรรู้ในการจัดท่าให้นมลูก ตอนที่ 1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการให้นมแก่ทารก ทารกควรอยู่ในช่วงที่หลับตื้น หรืออยู่ในสภาพตื่นตัวที่สงบ แต่ต้องไม่ร้องไห้ หากทารกร้องไห้ควรทำให้ทารกสงบลงก่อนที่จะกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมแม่ ทารกที่ง่วงนอนจะไม่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติและอาจไม่ยอมอมหัวนมและลานนมหรือเข้าเต้า การคลายผ้าที่ห่อตัว และการเปลื้องผ้าทารกออก อาจช่วยปลุกทารกที่ง่วงนอนได้ การนวดหลังหรือฝ่าเท้าของทารกอย่างนุ่มนวลก็อาจช่วยได้เช่นกัน1

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

ความสำคัญของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อหลังมารดากลับบ้าน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลและหลังจากมารดาและทารกได้รับอนุญาตให้กลับบ้านจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ โรงพยาบาลสามารถช่วยส่งเสริมการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้ด้วยการสนับสนุนการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอด นอกจากนี้ การให้คำปรึกษาก่อนคลอดและการอนุญาตให้กลับบ้านควรมีหัวข้อการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออยู่ด้วย โดยบิดาและผู้ใหญ่คนอื่นที่เป็นสมาชิกในครอบครัวก็สามารถมีส่วนร่วมในการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้ในเวลาที่มารดานอนพัก อาบน้ำหรือจัดการภาระงานอื่น ๆ1

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.