คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

มารดาที่คลอดลูกปกติจะเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีกว่า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                  การที่มารดามีวิธีการคลอดอย่างไรนั้นมีผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1-4 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด5 และมารดาที่ผ่าตัดคลอดมักมีอาการปวดแผลมากกว่าซึ่งทำให้การให้นมแม่ได้น้อยกว่า 6 ครั้งใน 24 ชั่วโมงแรกและเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้า6 ซึ่งจะทำให้มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่7,8 นอกจากนี้ยังพบว่ามารดาที่มีการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงในการมีน้ำนมมาช้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า9 อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,10,11

เอกสารอ้างอิง
1. Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.
2. Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.
3. Perez-Rios N, Ramos-Valencia G, Ortiz AP. Cesarean delivery as a barrier for breastfeeding initiation: the Puerto Rican experience. J Hum Lact 2008;24:293-302.
4. Wu X, Gao X, Sha T, et al. Modifiable Individual Factors Associated with Breastfeeding: A Cohort Study in China. Int J Environ Res Public Health 2019;16.
5. Cakmak H, Kuguoglu S. Comparison of the breastfeeding patterns of mothers who delivered their babies per vagina and via cesarean section: an observational study using the LATCH breastfeeding charting system. Int J Nurs Stud 2007;44:1128-37.
6. Azzeh FS, Alazzeh AY, Hijazi HH, et al. Factors Associated with Not Breastfeeding and Delaying the Early Initiation of Breastfeeding in Mecca Region, Saudi Arabia. Children (Basel) 2018;5.
7. Woods AB, Crist B, Kowalewski S, Carroll J, Warren J, Robertson J. A cross-sectional analysis of the effect of patient-controlled epidural analgesia versus patient controlled analgesia on postcesarean pain and breastfeeding. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2012;41:339-46.
8. Chen C, Yan Y, Gao X, et al. Effects of Cesarean Delivery on Breastfeeding Practices and Duration: A Prospective Cohort Study. J Hum Lact 2018:890334417741434.
9. Scott JA, Binns CW, Oddy WH. Predictors of delayed onset of lactation. Matern Child Nutr 2007;3:186-93.
10. Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.
11. Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

 

 

ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่งผลต่อทัศนคติและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมทั้งการได้เห็น ได้ช่วยคนในครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อทัศนคติของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่าประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความยากลำบากหรือไม่ประสบความสำเร็จสามารถใช้ทำนายความเสี่ยงของมารดาในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วันได้1 และยังสามารถใช้ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาทำเป็นแบบประเมินความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนแรกหลังคลอด2 การมีประสบการณ์การได้เห็นมารดาท่านอื่นให้นมแม่ยังมีผลเชิงบวกต่อทัศนคติในการเริ่มต้นให้นมแม่3 นอกจากนี้ มารดาที่ขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วมากกว่ามารดาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยสามเดือนประมาณ 3 เท่า4

เอกสารอ้างอิง

  1. Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.
  2. Mortazavi F, Mousavi SA, Chaman R, Khosravi A. Validation of the breastfeeding experience scale in a sample of Iranian mothers. Int J Pediatr 2014;2014:608657.
  3. Hoddinott P, Kroll T, Raja A, Lee AJ. Seeing other women breastfeed: how vicarious experience relates to breastfeeding intention and behaviour. Matern Child Nutr 2010;6:134-46.
  4. Bai DL, Fong DY, Tarrant M. Previous breastfeeding experience and duration of any and exclusive breastfeeding among multiparous mothers. Birth 2015;42:70-7.

 

 

มารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติจะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ทำได้ดี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              ดัชนีมวลกายถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะมีผลต่อความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และมีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สตรีที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2 และในมารดาที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์คือผอมไป หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนคืออ้วนเกินไป ยังมีอัตราการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าในมารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ3,4 ในมารดาที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่า5 เนื่องจากส่วนหนึ่งมารดาเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดและการติดเชื้อหลังคลอดสูงกว่าด้วย6-8 ซึ่งการมีการผ่าตัดคลอดมารดาจะเริ่มให้นมลูกได้ช้ากว่า มีการเคลื่อนไหวหลังคลอดได้น้อยกว่าเนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดคลอดมักได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง แต่หากมีสามี ญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยสนับสนุนอาจลดผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New insight into onset of lactation: mediating the negative effect of multiple perinatal biopsychosocial stress on breastfeeding duration. Breastfeed Med 2013;8:151-8.
  2. Pruszkowska-Przybylska P, Sitek A, Rosset I, et al. The association between socioeconomic status, duration of breastfeeding, parental age and birth parameters with BMI, body fat and muscle mass among prepubertal children in Poland. Anthropol Anz 2019.
  3. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Suksamarnwong M, Wongin S. Effect of Obesity and Early Breastfeeding Initiation on Exclusive Breastfeeding Rates. J Med Assoc Thai 2016;99 Suppl 8:S36-S42.
  4. Thompson LA, Zhang S, Black E, et al. The association of maternal pre-pregnancy body mass index with breastfeeding initiation. Matern Child Health J 2013;17:1842-51.
  5. Lima NP, Bassani DG, Silva B, et al. Association of breastfeeding, maternal anthropometry and body composition in women at 30 years of age. Cad Saude Publica 2019;35:e00122018.
  6. Al-Kubaisy W, Al-Rubaey M, Al-Naggar RA, Karim B, Mohd Noor NA. Maternal obesity and its relation with the cesarean section: a hospital based cross sectional study in Iraq. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:235.
  7. Graham LE, Brunner Huber LR, Thompson ME, Ersek JL. Does amount of weight gain during pregnancy modify the association between obesity and cesarean section delivery? Birth 2014;41:93-9.
  8. Leth RA, Uldbjerg N, Norgaard M, Moller JK, Thomsen RW. Obesity, diabetes, and the risk of infections diagnosed in hospital and post-discharge infections after cesarean section: a prospective cohort study. Acta Obstet Gynecol Scand 2011;90:501-9.

 

มารดาท้องแรกขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              มารดาที่ตั้งครรภ์และคลอดลูกคนแรก ครรภ์แรกหรือการคลอดลูกคนแรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 และมีผลทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนเวลาอันควรมากกว่า2 เนื่องจากการที่มารดาตั้งครรภ์แรก มารดายังขาดประสบการณ์ในการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาจะมีความวิตกกังวล ความกลัว และความเครียดในการคลอดบุตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลไกออกซิโตซินและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับมารดาที่เป็นครรภ์หลัง มารดาจะทราบขั้นตอนการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่มีประสบการณ์ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อนนั้นเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น กลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเหล่านี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องเอาใจใส่ และดูแลอย่างใกล้ชิด สร้างความเชื่อมั่นให้กับมารดาว่าสามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.
  2. Chang PC, Li SF, Yang HY, et al. Factors associated with cessation of exclusive breastfeeding at 1 and 2 months postpartum in Taiwan. Int Breastfeed J 2019;14:18.

 

อายุของมารดามีความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                อายุของมารดานั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอายุที่มารดาตั้งครรภ์มีผลต่อลักษณะการกินนมของทารก1,2 มารดาอายุน้อยจะมีโอกาสที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น3-6 โดยพบว่าลักษณะของความสัมพันธ์ของอายุของมารดาที่น้อยจะมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่7 ซึ่งคำอธิบายอาจเป็นเพราะมารดาที่อายุมากขึ้นน่ามีความรับผิดชอบในการดูแลทารกมากกว่า มีอาชีพ และเศรษฐานะมั่งคงกว่า ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี5,8 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี6 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี4  เกณฑ์อายุที่แตกต่างกันน่าจะเป็นผลมาจากลักษณะวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของแต่ละสังคมในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม การศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในมารดาวัยรุ่นที่คลอดบุตรปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่มีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในมารดาวัยรุ่นไม่แตกต่างมารดาที่อายุมากกว่า 20 ปี9 ซึ่งแสดงถึงหากมารดาวัยรุ่นไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผลของความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าอายุมารดา

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu Y, Hernandez LM, Mueller P, Dong Y, Hirschfeld S, Forman MR. Predictive Models for Characterizing Disparities in Exclusive Breastfeeding Performance in a Multi-ethnic Population in the US. Matern Child Health J 2016;20:398-407.
  2. Asare BY, Preko JV, Baafi D, Dwumfour-Asare B. Breastfeeding practices and determinants of exclusive breastfeeding in a cross-sectional study at a child welfare clinic in Tema Manhean, Ghana. Int Breastfeed J 2018;13:12.
  3. Islam GMR, Igarashi I, Kawabuchi K. Inequality and Mother’s Age as Determinants of Breastfeeding Continuation in Bangladesh. Tohoku J Exp Med 2018;246:15-25.
  4. Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.
  5. Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.
  6. Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.
  7. Tang K, Liu Y, Meng K, et al. Breastfeeding duration of different age groups and its associated factors among Chinese women: a cross-sectional study. Int Breastfeed J 2019;14:19.
  8. Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.
  9. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.