คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

ความเสี่ยงในการให้ยาลดอาการปวดระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ความเสี่ยงในการให้ยาลดอาการปวดระหว่างการคลอด มีดังนี้

-การคลอดยาวนานขึ้น

-มีการใช้หัตถการสูงขึ้น

-ทำให้การให้ทารกแรกเกิดได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มช้าลง

-ทำให้เกิดการแยกมารดาจากทารกหลังคลอด

-ทำให้ทารกง่วงซึมและยากที่จะปลุกตื่น

-ลดกลไกการดูดนมของทารก

-น้ำนมลดลง ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดอาการตัวเหลือง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และน้ำหนักตัวขึ้นน้อย

การให้การช่วยเหลือหรือใช้เวลาที่มากขึ้นอาจจำเป็นในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการสร้างความสัมพันธ์ของมารดากับทารกเมื่อมีการใช้ยาลดอาการปวด

ควรมีการพูดคุยอภิปรายกับมารดาถึงวิธีการรับมือกับอาการไม่สบายตัวและความเจ็บปวดระหว่างการคลอดในระหว่างช่วงฝากครรภ์ ซึ่งความต้องการการใช้ยาลดอาการปวดจะมีผลมาจากความเครียด การขาดการสนับสนุนและให้กำลังใจ และปัจจัยอื่นๆ ในห้องคลอด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

 

การลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? บุคลากรทางการแพทย์ ควรจะเสนอการลดความเจ็บปวดจากการคลอดด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก่อน ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้

??????????? -การให้การสนับสนุนจากเพื่อนที่อยู่เฝ้าระหว่างการคลอด

??????????? -การเดินจงกลม การเดินไปรอบๆ หรือการเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่า

??????????? -การนวด

??????????? -การใช้น้ำอุ่น

??????????? -การให้กำลังใจโดยภาษากายหรือการพูด

??????????? -สิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ แสงไฟที่ไม่จ้าเกินไป และมีคนน้อยที่สุดที่เป็นไปได้

??????????? -ท่าในระหว่างการรอคลอดและขณะคลอด ควรมีทางเลือกให้มารดาได้เลือก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

 

 

 

บทบาทของการอยู่เป็นเพื่อนมารดาขณะคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

บทบาทของบุคคลที่อยู่เป็นเพื่อน ควรทำหน้าที่ให้การสนับสนุนมารดาที่คลอด ดังนี้

??????? กระตุ้นให้มารดาเดินหรือเคลื่อนไหวขณะรอคลอด

??????? เสนออาหารว่างและน้ำแก่มารดา

??????? สร้างความเชื่อมั่นให้กับมารดาโดยให้มารดามุ่งความสนใจไปที่กระบวนการของการคลอดที่กำลังดำเนินไปด้วยดี

??????? แนะนำวิธีการที่จะจัดการกับความเจ็บปวดและความวิตกกังวล

??????? นวด จับมือ หรือใช้ผ้าเย็นช่วย

??????? ใช้คำพูดเชิงบวก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ผลของการให้การสนับสนุนระหว่างการคลอด

 

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้การสนับสนุนโดยการมีเพื่อนอยู่ระหว่างการคลอด จะส่งผลในเรื่อง

??????? เพิ่มการตื่นตัวของทารกจากการที่มารดาได้รับยาแก้ปวดลดลง

??????? ลดอาการตัวเย็น (hypothermia) และภาวะน้ำตาลต่ำของทารกเนื่องจากทารกมีความเครียดน้อยกว่าจึงใช้พลังงานน้อยกว่า

??????? ช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกและช่วยในการให้นมแม่ได้บ่อยขึ้น

??????? ช่วยให้มารดามีความสัมพันธ์กับทารกง่ายขึ้น

บุคคลที่อยู่เป็นเพื่อนอาจจะเป็นมารดา พี่สาว น้องสาว เพื่อน สามี สมาชิกในครอบครัว หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันก็ได้ บุคคลที่อยู่เป็นเพื่อนจำเป็นต้องเฝ้าอยู่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่รอคลอดจนกระทั่งมารดาเสร็จสิ้นการคลอด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การให้การสนับสนุนระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????? -การสนับสนุนให้มีเพื่อนอยู่ด้วยระหว่างการรอคลอดและคลอด จะมีประโยชน์โดยสามารถ

??????? ลดความเจ็บปวดที่รุนแรงจากการคลอด

??????? ช่วยสนับสนุนในการเคลื่อนไหวของมารดา

??????? ลดความเครียด

??????? ช่วยให้การรอคลอดและการคลอดเร็วขึ้น

??????? ลดความจำเป็นในความต้องการในการใช้หัตถการทางการแพทย์

??????? เพิ่มความมั่นใจในตนเองของมารดาในด้านร่างกายและในด้านความสามารถในการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009