คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การพิชิตอุปสรรคที่ขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด(ตอนที่1)

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? อุปสรรคขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกมักเป็นการปฏิบัติที่คุ้นเคยมากกว่าความวิตกกังวลทางการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะช่วยให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาดีขึ้น ได้แก่???????????

??????? ความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น การเช็ดตัวทารกให้แห้งและวางลงบนหน้าอกมารดา จากนั้นใช้ผ้าห่มคลุมทั้งทารกและมารดา หากอุณหภูมิในห้องเย็น อาจคลุมศีรษะทารกด้วยเพื่อลดการสูญเสียความร้อน ทารกที่ได้สัมผัสกับผิวมารดาจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ดีกว่าทารกที่อยู่ในบริเวณที่อุ่นด้วยเครื่องทำความร้อน

??????? ทารกจำเป็นต้องได้รับการตรวจ การตรวจทารกสามารถทำได้ขณะทารกอยู่บนอกแม่ ทารกจะสงบ สำหรับการชั่งน้ำหนักสามารถทำหลังจากนั้นได้

??????? มารดาจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผล ทารกสามารถจะอยู่บนอกแม่ได้ หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดคลอด

??????? ทารกจำเป็นต้องอาบน้ำ การอาบน้ำตั้งแต่แรกควรชะลอไว้ก่อน รอให้ไขของทารกที่อยู่บนผิวได้เคลือบ หล่อลื่น และช่วยรักษาอุณหภูมิของทารก การเช็ดตัวทารกให้แห้งเพียงพอสำหรับระยะแรกหลังคลอด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ประโยชน์ในการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา

??????? ทำให้ทารกและมารดารู้สึกสงบ และช่วยให้จังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจทารกสม่ำเสมอ

??????? ช่วยให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากความร้อนของร่างกายของมารดา

??????? ช่วยในการปรับเมตาบอรึซึ่มของน้ำตาลในเลือดของทางทารกให้คงที่

??????? ช่วยให้ก่อเกิดการมีกลุ่มของแบคทีเรียในลำไส้ทารกจากมารดาที่ให้การสัมผัสแรกกับทารก ไม่ใช่จากแพทย์หรือพยาบาล

??????? ลดการร้องกวนของทารก ซึ่งจะลดความเครียดและการใช้พลังงานของทารกด้วย

??????? ช่วยให้สายสัมพันธ์ของมารดาและทารกดีขึ้น ทำให้ทารกตื่นตัวในหนึ่งถึงสองชั่วโมงแรก จากนั้นโดยปกติทารกจะหลับนาน

??????? ให้โอกาสทารกได้เข้าหาเต้านมและดูดนมด้วยตนเอง ซึ่งการเข้าเต้าลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการแยกทารกออกไปในช่วงแรกหลังคลอด

??????? ทารกและมารดาทุกคนจะได้ประโยชน์จากการให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาทันทีหลังการคลอด โดยเช็ดตัวทารกให้แห้งและวางให้ผิวสัมผัสกับมารดา ทารกไม่จำเป็นต้องอาบน้ำหลังการคลอด การโอบอุ้มทารกไม่ได้สัมพันธ์กับการแพร่เชื้อเอชไอวี ในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี การให้มารดาได้สัมผัสผิว โอบกอด และอุ้มทารกจะสร้างความรักและความผูกพันของแม่กับลูก

??????? ทารกที่อาการยังไม่คงที่หลังคลอด ต่อมาเมื่ออาการเริ่มคงที่สามารถให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

การปฏิบัติโดยให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรก

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรสร้างความมั่นใจกับมารดาในการให้ทารกที่แข็งแรงได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาทุกรายโดยไม่เร่งร้อน อาจจะทำก่อนการตัดสายสะดือ หรือเมื่อทันทีเมื่อพร้อมหลังการคลอด และให้สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยการสัมผัสอาจนานกว่านั้น หากทารกไม่ได้ติดเรื่องการให้ดูดนมแม่

??????????? -การให้ทารกได้สัมผัสกับมารดา? ต้องไม่ห่อตัวทารกและมารดาต้องเปิดเสื้อผ้าในบริเวณที่สัมผัสให้เพียงพอ สำหรับการที่จะคลุมผ้าเพื่อความอบรม จะคลุมทั้งทารกและมารดาไปพร้อมกัน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การดูแลปฏิบัติระหว่างการเกิด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? -ขณะเบ่งคลอด มารดาจำเป็นต้อง

??????? มีผู้ดูแลที่มีทักษะในการดูแลการคลอด

??????? มีการใช้หัตถการอย่างเช่น การตัดฝีเย็บน้อยที่สุด

??????? ควรจะมีการดูแลตามมาตรฐานการป้องกัน (universal precaution) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการติดเชื้อที่ผ่านทางเลือดอื่นๆ

??????? การผ่าตัดคลอด จะใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

??????????? -การใช้เครื่องมือช่วยในการคลอด ได้แก่ คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ศีรษะทารก โดยส่งผลต่อการเรียงตัวของกะโหลกศีรษะ เส้นประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามมา

??????????? -การคลอดปกติทางช่องคลอดจะทำให้มารดาสามารถเคลื่อนไหวได้เร็วตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดรวมถึงการเริ่มการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำ ท่าในการคลอดที่จะช่วยในส่วนนี้คือ ท่าที่ลำตัวของมารดาค่อนข้างตั้งตรงหรือท่านั่งยองๆ

??????????? -การตัดฝีเย็บจะทำให้มารดาปวดแผลและนั่งลำบากในช่วงแรกหลังคลอด ซึ่งส่งผลต่อการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และความผูกพันของมารดากับทารก หากมารดาปวดแผลมาก การให้มารดานอนลง กอดและให้นมลูกอาจจะช่วยได้

??????????? -สายสะดือไม่ควรจะถูกรัดหรือตัดจนกว่าการเต้นของเส้นเลือดสายสะดือจะหยุด ซึ่งจะทำให้ทารกได้รับเลือดเพิ่มขึ้นและช่วยในการสะสมของธาตุเหล็กด้วย

??????????? -เมื่อพิจารณาการปฏิบัติระหว่างการคลอดต้องจำไว้เสมอว่า ผลต่างๆ ที่เกิดกับมารดาอาจส่งผลต่อทารกได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

อาหารว่างและน้ำระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การคลอดเป็นงานที่หนักซึ่งต้องการพลังงานมากในกระบวนการนี้ ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงประโยชน์ของการงดน้ำงดอาหารในมารดาที่มีความเสี่ยงต่ำในการคลอดปกติ ความต้องการในการกินหรือดื่มในมารดาแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นมารดาควรได้รับอนุญาตให้กินอาหารว่างหรือดื่มน้ำได้หากต้องการ การงดน้ำงดอาหารจะสร้างความเครียดให้กับมารดา

การให้น้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำในระหว่างการรอคลอดจะจำเป็นเฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ในการให้ยาที่ชัดเจน การให้สารน้ำที่มากเกินไปอาจเกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็คโตรไลท์ ทำให้เกิดภาวะน้ำเกินของทารกในครรภ์และน้ำหนักทารกลดลงมากจากการที่ร่างกายขับน้ำที่เกินออก นอกจากนี้ การให้น้ำเกลือยังจำกัดการเคลื่อนไหวของมารดาด้วย

หลังการคลอด มารดาจะหิว? ดังนั้นควรมีการเตรียมอาหารไว้ให้สำหรับมารดาหลังคลอด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งหากไม่มีการจัดเตรียมไว้ มารดาอาจจะต้องรอนานจนกระทั่งถึงมื้ออาหาร

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009