คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การผ่าตัดคลอดมีผลต่อทารกในด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

???????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? ทารกได้รับผลกระทบจากการผ่าตัดคลอด โดย

??????? ทารกจะมีความเสี่ยงสูงในการที่จะไม่ได้กินนมแม่ หรือกินนมแม่ในช่วงสั้น

??????? ทารกจะมีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่า

??????? ทารกอาจจะต้องการการดูดเสมหะ ซึ่งทำให้ทารกเจ็บปากและลำคอ

??????? ทารกได้รับยาทำให้ง่วงจากยาที่มารดาได้รับ

??????? ทารกจะได้รับการให้สัมผัสกับผิวของมารดาได้น้อยกว่า

??????? ทารกมีโอกาสที่จะได้รับการให้สารอาหารอื่นๆ มากกว่า

??????? ทารกมีโอกาสที่จะย้ายไปหออภิบาลทารกแรกเกิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างทารกด้วยกันเอง และต้องจำกัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

การผ่าตัดคลอดมีผลต่อมารดาในด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การผ่าตัดคลอดเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ผ่านเข้าสู่ช่องท้อง มารดามีแนวโน้มจะ

??????? ตื่นกลัวและเครียด

??????? ได้รับการให้น้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะ

??????? ถูกจัดให้อยู่บนเตียงและจำกัดการเคลื่อนไหว

??????? งดน้ำและอาหารก่อนและหลังการคลอด ซึ่งทำให้ขาดพลังงานในการจะดูแลทารก

??????? ได้รับยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวด ซึ่งส่งผลต่อมารดาและทารก

??????? มีการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนออกซิโตซินและโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำหรับการให้นม

??????? มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการตกเลือด

??????? มักจะถูกแยกจากทารก

??????? รู้สึกล้มเหลวที่ร่างกายไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

 

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? -บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ช่วงเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่

??????? ให้เวลาและบรรยากาศที่สงบเงียบ

??????? ช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบาย

??????? ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นแนวโน้มที่ดีในการกินนมแม่ของทารก ได้แก่ การตื่นตัวหรือการใช้จมูกคุ้ยค้น

??????? หลีกเลี่ยงการเร่งรัดให้ทารกไปที่เต้านมมารดา หรือจับเต้านมมารดาใส่ปากทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

วิธีการช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ?เมื่อทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดา กลิ่นจากเต้านมจะช่วยนำทางทารกเข้าหาหัวนมและกินนมแม่ได้?

??????????? -ช่วยให้มารดาสังเกตและตระหนักรู้ถึงสัญชาติญาณการเริ่มต้นในการดูดนมแม่ของทารก เมื่อทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาในบรรยากาศที่สงบ พฤติกรรมการเตรียมการดูดนมแม่จะเริ่มขึ้น โดยระยะเวลาที่ใช้อาจจะไม่กี่นาทีถึงเป็นชั่วโมง พฤติกรรมเหล่านี้ ได้แก่

??????? การพักอยู่ในภาวะตื่นตัวในช่วงสั้นๆ เพื่อปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่

??????? การนำนิ้วมือใส่ปากและดูด และการใช้มือควานหาเต้านมแม่

??????? มุ่งความสนใจไปที่จุดสีดำบนเต้านมที่เป็นจุดหมาย

??????? เคลื่อนที่ไปยังเต้านมและใช้จมูกคุ้ยค้น

??????? เมื่อค้นพบหัวนมแล้ว จึงอ้าปากอมหัวนมและลานนม

??????????? ไม่ควรใส่ความกดดันให้กับมารดาและทารกในการเริ่มต้นการกินนมแม่ว่า การเริ่มต้นต้องใช้เวลานานเท่าใด? การกินนมแม่ครั้งแรกต้องกินนานแค่ไหน? การอ้าปากอมหัวนมและลานนมทำได้ดีเพียงใด? ทารกกินหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองได้มากน้อยแค่ไหน? ?การดูดนมครั้งแรกควรจะได้รับการพิจาณาว่าเป็นการเริ่มต้นมากกว่าการกินนมแม่อย่างเป็นจริงเป็นจัง?

??????????? -การช่วยเหลือที่มากขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเริ่มในครั้งถัดไป โดยช่วยให้มารดาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดท่า การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก ลักษณะท่าทางที่บ่งบอกถึงความต้องการในการกินนมของทารก และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การพิชิตอุปสรรคที่ขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด(ตอนที่2)

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ห้องคลอดยุ่ง หากห้องคลอดยุ่ง ทารกและมารดาอาจได้รับการย้ายมาที่หอผู้ป่วยเพื่อให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกและทำต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยได้

??????? ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะอยู่กับมารดาและทารก สมาชิกในครอบครัวสามารถจะเฝ้าอยู่กับมารดาและทารกได้

??????? ทารกไม่ตื่นตัว หากทารกง่วงนอนจากการได้ยาลดอาการปวด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกยิ่งจำเป็นเพื่อช่วยสนับสนุน สร้างความผูกพัน และช่วยในการดูดนมแม่ด้วย

??????? มารดาเหนื่อย จะมีน้อยมากที่มารดาจะเหนื่อยมากจนไม่อยากอุ้มลูก การได้สัมผัสกับทารกจะทำให้มารดาผ่อนคลาย บุคลากรควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ด้วยว่ามีการปฏิบัติใดที่ทำให้มารดารู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง เช่น การงดน้ำงดอาหาร การคลอดที่เนิ่นนานเกินไป เป็นต้น

??????? มารดาไม่ต้องการอุ้มลูก การที่มารดาไม่ต้องการอุ้มลูกอาจจะบ่งถึงว่า มารดาอาจมีภาวะซึมเศร้าหรือมีความเสี่ยงที่จะทอดทิ้งลูก การให้มารดาได้สัมผัสกับลูกจะลดความเสี่ยงเหล่านี้

??????????? ในการคลอดทารกแฝด หลังทารกคนแรกคลอด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาสามารถทำได้จนกระทั่งมารดาเบ่งคลอดทารกคนที่สอง ในช่วงนั้นทารกอาจอยู่กับสมาชิกในครอบครัว เมื่อคลอดทารกคนที่สองแล้ว ทารกทั้งสองคนสามารถสัมผัสกับผิวของมารดาต่อและช่วยเรื่องการดูดนมแม่ของทารกเมื่อพร้อม

??????????? การเพิ่มแบบบันทึกและจดเวลาเริ่มของการให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาและเวลาสิ้นสุดการให้สัมผัสในแฟ้มการดูแลการคลอดจะเป็นประโยชน์ โดยจะแสดงถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการปฏิบัตินี้เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่นที่ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?