คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การช่วยให้มารดาได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด (สรุป)

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? -ในบันไดขั้นที่ 4 ในบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เขียนไว้ว่า

????????? ?ช่วยให้มารดาได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด?

??????????? ขั้นตอนนี้ตีความหมายจากเนื้อความว่า

??????????? ?ให้วางทารกให้ผิวสัมผัสแนบชิดกับมารดาทันทีหลังคลอดนาน 1 ชั่วโมง และกระตุ้นให้มารดาสังเกตความพร้อมในการกินนมแม่ของลูก โดยบุคลากรทางการแพทย์อาจเสนอความช่วยเหลือหากจำเป็น?

??????????? -สิ่งที่ควรปฏิบัติควรจะมีผลทำให้มารดารู้สึกว่ามีศักยภาพ ควบคุมและได้รับการสนับสนุน โดยเมื่อทารกตื่นตัวและมีความพร้อม สามารถเริ่มขั้นการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เลย ใช้แนวทางการดูแลที่ให้สามีและครอบครัวมีส่วนร่วมทั้งในระยะคลอดและหลังคลอด

??????????? -การปฏิบัติที่สนับสนุนระหว่างการคลอด ได้แก่ การให้มีเพื่อนอยู่ระหว่างการคลอด การลดการใช้หัตถการ การใส่ใจผลของการให้ยาลดอาการปวด การให้อาหารว่างและน้ำ หลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอด และการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด

??????????? -การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวมารดาในระยะแรกหลังคลอด สามารถปฏิบัติให้เป็นลักษณะงานประจำได้ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

??????????? -จัดให้ทารกทุกคนได้สัมผัสกับผิวของมารดาทันทีหลังคลอดในมารดาที่คลอดบุตรปกติโดยไม่เร่งรีบ และให้เวลาให้ทารกอยู่กับมารดาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงโดยไม่มีการรบกวนหรือเข้าไปแทรกแซง ไม่ห่อทารก การคลุมผ้าห่มสามารถทำได้โดยคลุมผ้าห่มให้กับทารกพร้อมกับมารดาไปพร้อมกัน

??????????? -กระตุ้นให้มารดาตอบสนองต่อสัญญาณความพร้อมของทารกที่จะเคลื่อนไปที่เต้านม

??????????? -การปฏิบัติที่สนับสนุนระหว่างการคลอดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การปฏิบัติของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

 

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

-มารดาทุกคนควรได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือระหว่างการคลอดและหลังคลอด การปฏิบัติที่เป็นอันตรายควรจะต้องหลีกเลี่ยง การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอดจะเป็นประโยชน์ต่อมารดาและทารกทุกคน

-หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ให้งดนมแม่ มารดาทุกคนควรจะได้รับการกระตุ้นให้ลูกดูดนมจากเต้า ซึ่งในกรณีที่มารดาตั้งใจจะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาจะบอกเองในช่วงเวลานี้

-ทารกที่กินนมแม่จะได้รับหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองจากการกินนมครั้งแรกในปริมาณที่น้อย แต่จะพอเหมาะกับขนาดของกระเพาะของทารก หากทารกไม่ได้กินนมแม่ อาหารที่ทดแทนนมแม่ควรจะให้ในปริมาณที่น้อยเช่นกัน และควรตรวจสอบว่าอาหารที่ทดแทนนมแม่มีคุณค่าเพียงพอสำหรับทารกด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูกหลังผ่าตัดคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก อาจดูแลในการจัดท่าดังนี้

??????? ท่านอนด้านข้าง (side-lying) บนเตียง ท่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ และมารดายังสามารถทำได้แม้มารดาต้องนอนราบหลังจากให้ยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง

??????? ท่านั่งพร้อมรองหมอนให้ทารกอยู่ข้างลำตัวและแขน โดยศีรษะทารกอยู่ในระดับเต้านม

??????? ท่านอนหงาย ให้ทารกทาบอยู่บนอกของมารดา

??????? ควรจะต้องใช้หมอนช่วยพิงด้านหลังและรองใต้หัวเข่า ขณะที่อยู่ในท่านอนด้านข้าง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้หลังผ่าตัดคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้

??????? โดยทั่วไป มารดาที่ผ่าตัดจะได้รับยาระงับความรู้สึกจากการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งมารดาจะรู้สึกตัวดี สามารถดูแลทารกได้ตั้งแต่แรกหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด

??????? หากมารดาได้รับยาดมสลบ การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาอาจเริ่มในห้องพักฟื้น โดยทำได้หากมารดาโต้ตอบรู้เรื่อง แม้ว่าจะมีการง่วงเล็กน้อยจะฤทธิ์ของยาแก้ปวดและยาสลบ

??????? พ่อหรือสมาชิกในครอบครัว อาจดูแลช่วยในเรื่องการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวกาย ดูแลให้ทารกอบอุ่น? ในช่วงที่รอมารดาออกมาจากห้องผ่าตัด

??????? หากการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาทำได้ช้า อาจต้องห่มคลุมทารกให้อบอุ่นก่อน ต่อมาจึงให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาเมื่อมารดาพร้อม โดยการให้ความอบอุ่นต้องไม่ห่อทารกจนแน่นเกินไป ขยับไม่ได้

??????? ทารกที่เกิดก่อนกำหนดหรือยังไม่สมบูรณ์จะได้ประโยชน์จากการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา แต่หากอาการทารกยังไม่คงที่และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาอาจเริ่มเมื่อทารกมีอาการคงที่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยมารดาและทารกในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังผ่าตัดคลอดได้อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่สนับสนุนเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการผ่าตัดคลอด โดย

??????????? -กระตุ้นให้มีการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้

-การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม

-การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้

-ต้องจัดให้มารดาและทารกอยู่ในห้องเดียวกันพร้อมให้การช่วยเหลือเมื่อจำเป็น จนกระทั่งมารดาสามารถดูแลทารกเองได้

-เมื่อมีการสนับสนุนและให้ความรู้กับมารดา การที่นอนโรงพยาบาลนานขึ้นหลังการผ่าตัดคลอด อาจจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น

 

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

?????

?