รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ในการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากบุคลากรทางการแพทย์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่จะส่งผลต่อการให้นมลูกแล้ว ยังจำเป็นต้องทราบปัจจัยเสี่ยงของทารกที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย เพื่อการพิจารณาเลือกการให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงของทารก มีดังนี้
????????? ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน กายวิภาคและสรีรวิทยา
???????? ?? ? ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวน้อย
??????????? ? ทารกครรภ์แฝด
??????????? ? ทารกที่เข้าเต้าลำบากในเต้านมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
??????????? ? ทารกที่ดูดนมไม่ต่อเนื่องหรือดูดนมไม่มีประสิทธิภาพ
??????????? ? ทารกที่มีความผิดปกติของกายวิภาคในช่องปาก เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ คางเล็ก ลิ้นใหญ่
?????????? ? ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ตัวเหลือง น้ำตาลต่ำ หายใจเร็ว หรือมีการติดเชื้อ
?????????? ? ทารกที่มีปัญหาทางระบบประสาท ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อเกร็งตัว
?????????? ? ทารกที่ง่วงนอนอย่างต่อเนื่อง
?????????? ? ทารกที่น้ำหนักตัวลดมากหรือรุนแรง
??????? ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม
????????? ? การป้อนนมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด
????????? ? ทารกที่ยังกินนมได้ไม่ดีขณะที่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน
????????? ? ทารกและมารดาที่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเร็วเกินไป
????????? ? ทารกที่ใช้จุกนมหลอกตั้งแต่ในระยะแรก
เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????? ปัจจัยทางด้านกายวิภาคและสรีรวิทยา
???????????? ? มารดาที่ไม่มีการขยายขนาดของเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์
???????????? ? มารดาที่มีหัวนมบอดหรือหัวนมแบน
???????????? ? มารดาที่มีลักษณะของเต้านมที่ผิดปกติ ได้แก่ เต้านมแตกต่างกันมากระหว่างสองเต้า เต้านมขาดการพัฒนาการสำหรับการให้นมที่เหมาะสมคือ เต้านมที่ไม่มีเนื้อของต่อมน้ำนมหรือต่อมน้ำนมน้อย (hypoplastic breast) หรือเต้านมเป็นทรงท่อ (tubular breast)
??????????? ? มารดาที่มีการผ่าตัดเต้านมที่มีการตัดหรือไปรบกวนท่อน้ำนมหรือปลายประสาทที่รับความรู้สึกที่หัวนม
??????????? ? มารดาที่มีการผ่าตัดเต้านมเพื่อการแก้ไขลักษณะที่ผิดปกติหรือการเจริญเติบโตที่บกพร่องของเต้านม
????????? ? ? มารดาที่เคยเป็นฝีที่เต้านมมาก่อน
???????? ?? ? มารดาที่มีอาการเจ็บหัวนมมากหรือมีอาการเจ็บหัวนมเรื้อรัง
???????? ?? ? มารดาที่เต้านมขาดการพัฒนาการสร้างน้ำนมในระยะที่ 2 (failure of lactogenesis stage 2)
??????? ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
??????????? ? มารดาที่จำเป็นต้องแยกจากทารกหลังคลอด
เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่บุคลากรทางการแพทย์จะให้คำปรึกษาหรือดูแลมารดาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรมีความเข้าใจและมีความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่จะส่งผลต่อการให้นมลูก เพื่อการเลือกการให้คำปรึกษา ดูแล และติดตามมารดาและทารกอย่างเหมาะสม รายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงของมารดา มีดังนี้
????? ปัจจัยเสี่ยงจากประวัติ
???????? ? ความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด
???????? ? ประวัติปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อนหรือประวัติการกินนมแม่แล้วทารกเจริญเติบโตช้า
???????? ? ประวัติการมีบุตรยากที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน
???????? ? ประวัติโรคประจำตัวที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ภาวะไทรอยด์ต่ำหรือเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา เป็นต้น
???????? ? อายุมารดา มารดาวัยรุ่นและมารดาที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
???????? ? มารดาที่มีภาวะซึมเศร้า
???????? ? มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ได้แก่ ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ การตกเลือดก่อนและหลังคลอด หรือมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
???????? ? มารดาที่มีความตั้งใจจะเริ่มยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเร็ว ก่อนที่น้ำนมจะมาดี
เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)