คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

แนวทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของ COVID-19

ผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               ผลต่อมารดา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2  กลุ่มอาการเมตาบอลิก ช่วยให้มารดาน้ำหนักลดลงได้ดี และช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด ซึ่งจะเห็นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเกิดผลดีต่อมารดาโดยช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่จะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตในระยะยาวได้

             ผลต่อทารก แม้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไม่ได้ส่งผลในการลดการเกิดกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่โดยตรง แต่จะช่วยลดการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2  กลุ่มอาการเมตาบอลิก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผลระยะยาวของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 ทารกที่มีมารดามีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ จะเพิ่มโอกาสที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ด้วย เนื่องจากมีปัจจัยการเกิดเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม และหากมารดามีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ หรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยจากการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่มีในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งรายละเอียดมีในหัวข้อสาเหตุและผลของกลุ่มอาการนี้ที่มีต่อการตั้งครรภ์ที่เขียนบรรยายไว้ก่อนหน้านี้

ผลระยะยาวของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2  กลุ่มอาการเมตาบอลิก1 โรคไขมันในตับ (nonalcoholic fatty liver disease)2  ซึ่งเมื่อเกิดโรคเหล่านี้ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น3  นอกจากนี้  ยังพบมารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่มีภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้าเพิ่มขึ้นด้วย4 โดยพบมีภาวะวิตกกังวลเพิ่มขึ้น 5.62 เท่า (95% CI 3.22-9.80) และมีอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 3.78 เท่า (95% CI 3.03-4.72)5  สำหรับกรณีที่มารดาได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) ได้6

เอกสารอ้างอิง

  1. Dokras A, Bochner M, Hollinrake E, Markham S, Vanvoorhis B, Jagasia DH. Screening women with polycystic ovary syndrome for metabolic syndrome. Obstet Gynecol 2005;106:131-7.
  2. Paschou SA, Polyzos SA, Anagnostis P, et al. Nonalcoholic fatty liver disease in women with polycystic ovary syndrome. Endocrine 2020;67:1-8.
  3. Lo JC, Feigenbaum SL, Yang J, Pressman AR, Selby JV, Go AS. Epidemiology and adverse cardiovascular risk profile of diagnosed polycystic ovary syndrome. J Clin Endocrinol Metab 2006;91:1357-63.
  4. Alkoudsi KT, Basheti IA. Prevalence of anxiety and depression among women with Polycystic Ovary Syndrome living in war versus non-war zone countries: A randomized controlled trial assessing a pharmacist intervention. Res Social Adm Pharm 2019.
  5. Cooney LG, Dokras A. Depression and Anxiety in Polycystic Ovary Syndrome: Etiology and Treatment. Curr Psychiatry Rep 2017;19:83.
  6. Gourdy P, Bachelot A, Catteau-Jonard S, et al. Hormonal contraception in women at risk of vascular and metabolic disorders: guidelines of the French Society of Endocrinology. Ann Endocrinol (Paris) 2012;73:469-87.

ผลของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ หากสามารถตั้งครรภ์ได้จะพบการเพิ่มขึ้นภาวะแทรกซ้อนในมารดา ได้แก่ การแท้ง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การผ่าตัดคลอด และภาวะแทรกซ้อนในทารก ได้แก่ ความพิการแต่กำเนิด การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และการย้ายไปหอผู้ป่วยทารกวิกฤต1-3 โดยดัชนีมวลกายที่สูงจะทำนายการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ และค่าฮอร์โมนเพศชายที่สูงจะทำนายการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์4  ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะส่งผลให้การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า และการที่มารดาที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่มีฮอร์โมนเพศชายสูงอาจมีผลทำให้ขาดการขยายขนาดของเต้านมในระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้การสร้างน้ำนมน้อย ซึ่งจะมีผลต่ออัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7

เอกสารอ้างอิง

  1. Boomsma CM, Fauser BC, Macklon NS. Pregnancy complications in women with polycystic ovary syndrome. Semin Reprod Med 2008;26:72-84.
  2. Palomba S, Falbo A, Daolio J, Battaglia FA, La Sala GB. Pregnancy complications in infertile patients with polycystic ovary syndrome: updated evidence. Minerva Ginecol 2018;70:754-60.
  3. Li Y, Ruan X, Wang H, et al. Comparing the risk of adverse pregnancy outcomes of Chinese patients with polycystic ovary syndrome with and without antiandrogenic pretreatment. Fertil Steril 2018;109:720-7.
  4. Foroozanfard F, Asemi Z, Bazarganipour F, Taghavi SA, Allan H, Aramesh S. Comparing pregnancy, childbirth, and neonatal outcomes in women with different phenotypes of polycystic ovary syndrome and healthy women: a prospective cohort study. Gynecol Endocrinol 2020;36:61-5.
  5. Joham AE, Nanayakkara N, Ranasinha S, et al. Obesity, polycystic ovary syndrome and breastfeeding: an observational study. Acta Obstet Gynecol Scand 2016;95:458-66.
  6. Vanky E, Nordskar JJ, Leithe H, Hjorth-Hansen AK, Martinussen M, Carlsen SM. Breast size increment during pregnancy and breastfeeding in mothers with polycystic ovary syndrome: a follow-up study of a randomised controlled trial on metformin versus placebo. BJOG 2012;119:1403-9.
  7. Vanky E, Isaksen H, Moen MH, Carlsen SM. Breastfeeding in polycystic ovary syndrome. Acta Obstet Gynecol Scand 2008;87:531-5.