คลังเก็บหมวดหมู่: การคุมกำเนิด ทางเลือกสำหรับสุขภาพการเจริญพันธุ์

การคุมกำเนิด ทางเลือกสำหรับสุขภาพการเจริญพันธุ์

ข้อบ่งห้ามในการใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินไม่มีข้อบ่งห้ามที่ชัดเจน ยกเว้นทราบว่ามีการตั้งครรภ์อยู่แล้ว ซึ่งการใช้ยาจะไม่ได้ผล อย่างไรก็ตามหากมีล้มเหลวจากการคุมกำเนิดฉุกเฉินแล้วมีการตั้งครรภ์ จากข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาไม่พบว่าทำให้เกิดความพิการในทารก ดังนั้นหากสตรีต้องการจะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อก็สามารถทำได้

??????????? สำหรับข้อควรระวังในการใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดที่เป็นฮอร์โมนคือ สตรีที่แพ้ส่วนประกอบในยาคุมกำเนิดที่เป็นฮอร์โมน มีรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่รุนแรงของฮอร์โมนที่ใช้น้อยมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนข้อควรระวังในการใช้ห่วงอนามัยชนิดทองแดงเพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินคือ ก่อนใส่ห่วงอนามัยควรระมัดระวังสตรีต้องไม่มีการตั้งครรภ์มาก่อน ระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อหรือการอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใส่ห่วงอนามัยในสตรีที่มีความเสี่ยงสูง การให้ Azithromycin ขนาด 1 กรัม หรือ Doxycycline ขนาด 200 มิลลิกรัมครั้งเดียวก่อนการใส่ห่วงอนามัยจะช่วยลดการเกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกรานลงได้

การเกิดภาวะท้องนอกมดลูกเป็นสิ่งที่กังวลในสตรีที่คุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามอัตราการเกิดภาวะท้องนอกมดลูกในสตรีที่ใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินพบต่ำในกว่าในสตรีปกติ แต่เมื่อมีการตั้งครรภ์ควรจะมีความระมัดระวังภาวะนี้เนื่องจากการใช้การคุมกำเนิดอาจจะรบกวนกระบวนการตั้งครรภ์ปกติ1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

ข้อบ่งชี้ในการใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะใช้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันและไม่ต้องการที่จะตั้งครรภ์ โดยจัดเป็นข้อบ่งชี้ในรายละเอียดได้ดังนี้

????????? ล้มเหลวจากการคุมกำเนิด

????????? ถุงยางอนามัยแตกหรือรั่ว

????????? เลื่อนหลุดของ diaphragm หรือ cervical cap

????????? ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม 1 เม็ดในสัปดาห์แรกของการเริ่มยาคุมกำเนิด

????????? ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมตั้งแต่ 3 เม็ดขึ้นไปในสัปดาห์ที่สองหรือสามของการกินยาคุมกำเนิด

????????? ลืมกินยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสติน

????????? ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะหลุด

????????? หลุดหรือถอดออกของ contraceptive vaginal ring

????????? ฉีดยาคุมกำเนิดฉีดช้ากว่ากำหนดเกินสองสัปดาห์

????????? มีเพศสัมพันธ์และมีการหลั่งอสุจิภายนอก

????????? พลาดในการระมัดระวังช่วงการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

????????? ถูกข่มขืน โดยที่สตรีไม่ได้มีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้

เนื่องจากช่วงที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์ของสตรียากที่จะทำนาย ดังนั้นหากไม่มั่นใจการใช้ยาคุมกำเนิดแบบ1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

เวลาในการใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะยิ่งลดลงเมื่อระยะเวลาของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันเนิ่นนานจากการเริ่มใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน การใช้ยาคุมกำเนิดโปรเจสตินเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเมื่อใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 95 ประสิทธิภาพจะลดลงเหลือร้อยละ 85 เมื่อเริ่มใช้ยาในช่วง 25-48 ชั่วโมง และประสิทธิภาพจะลดลงเหลือร้อยละ 58 เมื่อเริ่มใช้ยาในช่วง 49-72 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวนเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเมื่อใช้ในวันแรก วันที่สอง และวันที่สามหลังการมีเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพลดลงจากร้อยละ 77 เหลือร้อยละ 36 และ 31 ตามลำดับ

??????????? ตามปกติ การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดโปรเจสตินและฮอร์โมนรวมแนะนำให้เริ่มกินยาคุมกำเนิดภายใน 3 วันแรกนับตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ แต่ยังพบว่ามีประสิทธิภาพเมื่อใช้ยาในช่วง 3-5 วันด้วย1 สำหรับการใช้ห่วงอนามัยชนิดทองแดงสามารถใช้ได้ภายใน 7 วันนับตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ประสิทธิภาพในการลดการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมหรือยาคุมกำเนิดโปรเจสตินมีร้อยละ 75-89 ความหมายของการลดการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 75 หมายถึง สตรีในวัยเจริญพันธุ์ 100 คนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในสัปดาห์ที่สองหรือสามของรอบเดือนจะตั้งครรภ์ราว 8 คน หากใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมจะมีเพียงแค่ 2 คนเท่านั้นที่ตั้งครรภ์ มีรายงานขององค์การอนามัยโลกถึงอัตราการตั้งครรภ์หลังคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมพบร้อยละ 3.2 และหลังคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนโปรเจสตินร้อยละ 1.1

??????????? การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินโดยใช้ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม การรับประทานครั้งเดียวมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการรับประทานสองครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง แต่สำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสติน การรับประทานครั้งเดียวมีประสิทธิภาพเท่ากับการรับประทานสองครั้งห่างกัน 12 ชั่วโมง การใช้จึงมีทางเลือกมากกว่า

??????????? สำหรับการใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินนั้นลดการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 98.7 หากให้ภายใน 5 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ของการคุมกำเนิดฉุกเฉินตามทฤษฎีได้แก่ การรบกวนความสมบูรณ์ของถุงฟองไข่ กระบวนการตกไข่ มูกที่ปากมดลูก การเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ ความสมบูรณ์ของคอร์ปัส ลูเธียม (corpus luteum) ความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกในการฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน การปฏิสนธิ การเจริญเติบโต การเคลื่อนที่และการเกาะติดเพื่อฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน1 สำหรับกลไกที่เกิดขึ้นจริงยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน เนื่องจากมีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน ช่วงเวลาที่ใช้และการมีเพศสัมพันธ์ในแต่ละช่วงระยะเวลาของรอบเดือนได้แก่ ช่วงก่อนการตกไข่ ช่วงตกไข่หรือช่วงหลังการตกไข่ แต่เชื่อว่ากลไกที่สำคัญคือการรบกวนการตกไข่ ในกรณีที่ไข่ตกแล้วเชื่อว่าทำให้การทำงานของไข่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?