คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

การใช้ขวดนมหรือจุกนมหลอกลดอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมขวด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การใช้ขวดนมและจุกนมหลอกมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากกลไกการดูดนมจากขวดนมและการดูดนมจากเต้านมนั้นมีความแตกต่างกัน ทารกอาจเกิดการสับสนในลักษณะของการดูดนม (nipple confusion) และทำให้หยุดการกินนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสมได้ ?มีการศึกษาการใช้ขวดนมและจุกนมหลอกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังหกเดือนไปแล้ว พบว่า การใช้ขวดนมหรือจุกนมหลอกมีความสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการใช้ขวดนมมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า (CI95% 1.273-2.023) และการใช้จุกนมหลอกมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น 3.2 เท่า (CI95%: 2.490-4.228)1ดังนั้น การใช้ขวดนมหรือจุกนมหลอกจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นให้อาหารตามวัยร่วมกับนมแม่จนครบสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Rigotti RR, Oliveira MI, Boccolini CS. Association between the use of a baby’s bottle and pacifier and the absence of breastfeeding in the second six months of life. Cien Saude Colet 2015;20:1235-44.

มารดาได้รับยาระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_9305

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ?ปัจจุบัน การใช้ยาในสตรีมีมากรวมทั้งการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร มีรายงานว่าสตรีหลังคลอดได้รับยาอย่างน้อยหนึ่งชนิดร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่าสตรีครึ่งหนึ่งในช่วงที่ให้นมบุตรได้รับยาอย่างน้อยหนึ่งชนิด1 ยาแต่ละชนิดจะมีความเสี่ยงในการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอด และช่วงให้นมบุตรแตกต่างกันได้ แต่การที่ยามีจำนวนมากและข้อมูลที่จะชี้แจงหรือแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังมีอยู่จำกัด ทำให้การที่มารดาจะได้รับรู้เรื่องข้อดีข้อเสีย หรือความเสี่ยงจากการใช้ยามีน้อย องค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ปรับเปลี่ยนการให้ข้อมูลของการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์จากเดิมที่แบ่งเป็นกลุ่ม A, B, C, D และ X เป็นการบังคับให้บริษัทยาเขียนรายละเอียดข้อมูลของการศึกษาการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรไว้ในฉลากยาสำหรับยาที่ขึ้นทะเบียนใหม่โดยเริ่มการบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน 2558 และบังคับให้ยาที่ขึ้นทะเบียนมาก่อนหน้านี้ต้องปรับเปลี่ยนฉลากตามข้อกำหนดภายในสามปี ดังนั้นสิ่งนี้อาจจะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลความรู้ของการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดเพิ่มขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Saha MR, Ryan K, Amir LH. Postpartum women’s use of medicines and breastfeeding practices: a systematic review. Int Breastfeed J 2015;10:28.

 

 

การฝังใจของทารกกับเต้านมแม่

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? เมื่อแรกเกิด หากนำทารกมาวางไว้บนอกของมารดา ทารกจะคืบคลานเข้าหาเต้านมและเริ่มที่จะดูดนมได้ ในระยะแรกเกิดทารกจะมองเห็นในระยะใกล้ๆ และการแยกสีจะยังไม่ดี เต้านมของมารดามีการปรับตัวให้สีคล้ำเข้มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทารกมองเห็นเต้านมได้ชัด และกลิ่นของน้ำนมช่วยให้ทารกเคลื่อนเข้าหาเต้านมด้วย การที่ทารกได้เริ่มดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ระยะนี้จะมีกลไกตามธรรมชาติที่จะทำให้เกิดการฝังใจ ทารกจะฝังใจกับเต้านมของแม่ โดยจะมีการฝังใจกับการสัมผัสทางปาก (oral tactile imprinting) กับเต้านมมารดา1 สิ่งนี้จะช่วยในการเข้าเต้าและการกินนมแม่ในระยะต่อมา และยังช่วยในระบบของการพัฒนาการต่างๆ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Mobbs EJ, Mobbs GA, Mobbs AE. Imprinting, latchment and displacement: a mini review of early instinctual behaviour in newborn infants influencing breastfeeding success. Acta Paediatr 2016;105:24-30.

 

มารดาที่มีน้ำนมน้อยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

IMG_9420

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยและพบมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากมารดามีแนวโน้มที่จะแต่งงานและมีบุตรช้า ทำให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นในช่วงที่มารดามีอายุมากขึ้น โอกาสในการพบโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์สูงขึ้น ในมารดาที่เป็นเบาหวานจะมีน้ำนมมาช้าและมีน้ำนมมาน้อย ในทางกลับกัน ในมารดาที่มีน้ำนมมาน้อยพบว่ามีโอกาสตรวจพบมารดาเป็นเบาหวานมากกว่าถึง 2.4 เท่า1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์พบมารดาที่มีน้ำนมมาน้อยอาจจะต้องระมัดระวังว่ามารดาอาจมีโรคเบาหวานอยู่ ซึ่งการดูแลและควบคุมเบาหวานอย่างเหมาะสม จะส่งผลดีต่อการดูแลมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Riddle SW, Nommsen-Rivers LA. A Case Control Study of Diabetes During Pregnancy and Low Milk Supply. Breastfeed Med 2016;11:80-5.

โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ พรีไบโอติกธรรมชาติช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารก

S__45850789

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?โอลิโกแซคคาไรด์ที่มีในนมแม่จะช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อในลำไส้ และช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อลง โดยมีการศึกษาในการช่วยป้องกันการติดเชื้อโรต้าไวรัส (Rotavirus)1,2 โนโรไวรัส (Norovirus)3 ป้องกันพิษของ Clostridium difficile4 และยังเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อถิ่นที่อยู่ในลำไส้ (probiotics) ซึ่งอาจจะช่วยในการลดการเกิดภาวะลำไส้เน่าตาย (Necrotizing enterocolitis)5,6 และการติดเชื้อรา Candida abican7 ในลำไส้ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้5,6 ดังนั้น โอลิโกแซคคาไรด์ที่มีในนมแม่จึงเป็นพรีไบโอติกตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อหาหรือเติมแต่งเพิ่มเติม แต่ควรมีการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัว รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพรีไบโอติก

เอกสารอ้างอิง

  1. Li M, Monaco MH, Wang M, et al. Human milk oligosaccharides shorten rotavirus-induced diarrhea and modulate piglet mucosal immunity and colonic microbiota. The ISME journal 2014;8:1609-20.
  2. Hester SN, Chen X, Li M, et al. Human milk oligosaccharides inhibit rotavirus infectivity in vitro and in acutely infected piglets. Br J Nutr 2013;110:1233-42.
  3. Weichert S, Koromyslova A, Singh BK, et al. Structural Basis for Norovirus Inhibition by Human Milk Oligosaccharides. J Virol 2016.
  4. Nguyen TT, Kim JW, Park JS, et al. Identification of Oligosaccharides in Human Milk Bound onto the Toxin A Carbohydrate Binding Site of Clostridium difficile. J Microbiol Biotechnol 2015.
  5. Underwood MA, Gaerlan S, De Leoz ML, et al. Human milk oligosaccharides in premature infants: absorption, excretion, and influence on the intestinal microbiota. Pediatr Res 2015;78:670-7.
  6. Wickramasinghe S, Pacheco AR, Lemay DG, Mills DA. Bifidobacteria grown on human milk oligosaccharides downregulate the expression of inflammation-related genes in Caco-2 cells. BMC microbiology 2015;15:172.
  7. Gonia S, Tuepker M, Heisel T, Autran C, Bode L, Gale CA. Human Milk Oligosaccharides Inhibit Candida albicans Invasion of Human Premature Intestinal Epithelial Cells. J Nutr 2015;145:1992-8.