คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

โปรตีนในนมแม่ ความแตกต่างที่ควรรู้

hand expression x2-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ธรรมชาติจะสร้างมาให้เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มนุษย์ก็เช่นกัน ในนมแม่จะมีลักษณะที่จำเพาะของโปรตีน นมแม่จะมีสัดส่วนของเวย์ต่อเคซีนโปรตีนเท่ากับ 70:30 ขณะที่นมวัวจะมีสัดส่วนของเวย์ต่อเคซีนโปรตีนเท่ากับ 18:82 เวย์โปรตีนจะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่า ซึ่งเวย์โปรตีนในนมแม่จะมีอัลฟาแลคตาบูมิน ขณะที่นมวัวจะเป็นเบต้าแลคตาบูมิน นอกจากนี้?เวย์โปรตีนในนมแม่ยังมีแลคโตเฟอริน ไลโซไซม์ และ secretory immunoglobulin A ที่มีความจำเพาะสำหรับมนุษย์ที่ช่วยเป็นภูมิคุ้นกันป้องกันการติดเชื้อในช่องทางเดินอาหาร

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd 2014.

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ลดเบาหวาน โรคอ้วน และมะเร็ง

S__45850759

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่มีประโยชน์มากมายในหลายๆ ด้าน โดยอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การป้องกันโรคเรื้อรังในระยะยาวรวมทั้งมะเร็งในเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเป็นปัญหามากขึ้นในยุคนี้ที่มีวิถีชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวาน และได้รับสารปนเปื้อนจากชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการเกิดเบาหวาน โรคอ้วน มะเร็งในเด็ก รวมทั้งการเสียชีวิตเฉียบพลันของทารก พอจะสรุปได้ดังนี้

? ? ?-ลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งต้องพึ่งพาการรักษาด้วยอินซูลินร้อยละ 30 หากทารกกินนมแม่มากกว่า 3 เดือน และลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 40 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ?-ลดการเกิดโรคอ้วนร้อยละ 24 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ?-ลดการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กร้อยละ 15-20 หากทารกกินนมแม่มากกว่าหกเดือน

? ? ?-ลดการเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันของทารกโดยไม่ทราบสาเหตุ (sudden infant death syndrome) ร้อยละ 73 หากทารกกินนมแม่อย่างเดียว

? ? ?จะเห็นว่า นอกจากการป้องกันโรคติดเชื้อ ภาวะภูมิแพ้ การต้านการอักเสบแล้ว นมแม่ยังช่วยให้ทารกมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว โดยลดความเสี่ยงจากโรคเบาหวาน โรคอ้วนที่จะนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ป้องกันมะเร็งในเด็ก ซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่ดีของทารกจะที่เจริญเติบโตไปเป็นกำลังที่แข็งแรงและมีคุณภาพของประเทศชาติ

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการอับเสบและภูมิแพ้

S__46162111

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่มีประโยชน์มากมายในหลายๆ ด้าน ซึ่งในด้านการต่อต้านการอักเสบและภูมิแพ้ ประชาชนทั่วไปยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้น้อย มีการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในด้านการต่อต้านการอักเสบและภาวะภูมิแพ้ต่างๆ พอจะสรุปได้ดังนี้

? ? ?-ลดการเกิดโรคทางเดินอาหารอักเสบ (inflammatory bowel disease) ร้อยละ 31 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ?-ลดการเกิดโรคแพ้กลูเตน (celiac disease) ร้อยละ 52 หากทารกกินนมแม่และได้รับสารกลูเตนมากกว่าสองเดือน

? ? ?-ลดการเกิดผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในทารกที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวร้อยละ 42 และลดการเกิดผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในทารกที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวร้อยละ 27 หากทารกกินนมแม่มากกว่า 3 เดือน

? ? ?-ลดการเกิดหอบหืดในทารกร้อยละ 40 ในทารกที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว และลดการเกิดหอบหืดในทารกร้อยละ 27 ในทารกที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เมื่อทารกกินนมแม่ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

? ? ?จะเห็นว่า นมแม่ช่วยลดภาวะภูมิแพ้ต่างๆ และต้านการอักเสบได้ ดังนั้น ในครอบครัวที่มีประวัติภูมิแพ้ นมแม่ยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ

S__45850772

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่มีประโยชน์มากมายในหลายๆ ด้าน โดยสารอาหารในนมแม่มีมากกว่า 200 ชนิดและเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาให้เหมาะสมกับลูก ซึ่งมีความจำเพาะสำหรับลูกของมนุษย์ มีการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในด้านการป้องกันโรคติดเชื้อ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

? ? ? ประโยชน์ของนมแม่ในการป้องกันโรคติดเชื้อ

? ? ? -ลดการเกิดหูชั้นกลางอักเสบร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่มากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่สามเดือน

? ? ? -ลดการเป็นซ้ำของหูชั้นกลางอักเสบร้อยละ 49 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่มากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่ 4-6 เดือน

? ? ? -ลดการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมมากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่น้อยกว่าหกเดือน

? ? ?-ลดการเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างร้อยละ 77 เมื่อเปรียบเทียบทารกที่กินนมแม่มากกว่าหกเดือนกับทารกที่กินนมแม่ 4-6 เดือน

? ? ?-ลดการเกิดการอักเสบของหลอดลมฝอยโดยเชื้อ Respiratory Syncyitial Virus หรือ RSV ร้อยละ 74 เมื่อทารกกินนมแม่มากกว่า 4 เดือน

? ? ?-ลดการเกิดภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย (necrotizing enterocolitis) ร้อยละ 77 หากทารกกินนมแม่อย่างเดียว

? ? ? -ลดการเกิดกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ร้อยละ 64 หากทารกได้กินนมแม่

? ? ? ? จะเห็นว่า ทารกที่กินนมแม่จะได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันและสารต่อต้านการติดเชื้อที่มีอยู่ในน้ำนมแม่ ซึ่งจะส่งผลในการป้องกันและลดการเสียชีวิตของทารกจากการติดเชื้อที่พบได้บ่อยในช่วงวัยทารก เมื่อทารกเจ็บป่วยน้อยลง มารดาก็ลดความวิตกกังวลหรือความเครียดในการดูแลทารกที่เจ็บป่วย สิ่งนี้จะเพิ่มความสุขให้กับมารดาและครอบครัวในการเลี้ยง ดูแล ติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกที่ไม่สามารถซื้อหาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

บทบาทของกุมารแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_9389

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? กุมารแพทย์เป็นแพทย์ที่จะดูแลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยบางครั้งต้องมีการให้คำปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวก่อนการเกิดของทารกในกรณีที่มีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดแก่ทารก กุมารแพทย์จะเป็นผู้ดูแล ติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกให้เป็นไปตามวัย ดังนั้น กุมารแพทย์จะมีความคุ้นเคยกับครอบครัวตั้งแต่หลังคลอดจนกระทั่งทารกเติบใหญ่ จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? ข้อแนะนำบทบาทของกุมารแพทย์ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่

??????????????? –สนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่เหมาะที่สุดสำหรับการเลี้ยงดูทารกแรกเกิด

??????????????? -มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างน้ำนมและการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างดี

??????????????? -มีทักษะในการประเมินความเพียงพอของน้ำนมและความเหมาะสมของการดูแลให้ลูกกินนมแม่

??????????????? -ให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ที่ศึกษาต่อหลังปริญญา ในเรื่องการสร้างน้ำนมและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? -สนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? -ร่วมมือกับสูติแพทย์ในการส่งเสริมการดำเนินงานให้การรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบผลสำเร็จ

??????????????? -ร่วมมือกับชุมชนและบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.