คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ฮอร์โมน บทบาท และภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของมารดา ซึ่งจะพบมากขึ้นในมารดาที่อายุมาก และได้รับการผ่าตัดคลอด โดยหากพบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะสัมพันธ์กับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำ จากการที่มารดาหยุดการให้นมลูกก่อนเวลาอันควรนทางกลับกัน หากมารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตั้งแต่ในระยะแรก จะพบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดากลุ่มนี้น้อย ซึ่งแสดงถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลในการช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาได้1 อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์ควรเอาใจใส่กับมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้คำปรึกษารวมถึงการกระตุ้นให้เกิดการสนับสนุนการช่วยเหลือจากสามีและครอบครัว การสังเกต การให้การวินิจฉัยและให้การดูแลมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ตั้งแต่ในระยะแรก นอกจากจะช่วยลดระยะเวลาในการให้การดูแลรักษา ยังอาจจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Chiu HC, Wang HY, Hsiao JC, et al. Early breastfeeding is associated with low risk of postpartum depression in Taiwanese women. J Obstet Gynaecol 2020;40:160-6.

ท่าที่ใช้บ่อยในการให้นมลูก

วิดีโอสอนท่าที่ใช้บ่อยในการให้นมลูก 4 ท่า ซึ่งมารดาควรฝึกการจัดท่าให้นมลูกให้ได้อย่างเหมาะสมอย่างน้อย 2 ท่า เพื่อใช้สลับเปลี่ยนท่าระหว่างการให้นมลูกหากมีความเมื่อยล้า

การทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บน้ำนม

แนะนำวิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเก็บน้ำนม

การเก็บรักษาน้ำนม

แนะนำวิธีการเก็บรักษาน้ำนม ทั้งที่เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง และเมื่อเก็บโดยการแช่เย็นหรือแช่แข็ง

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมไฟฟ้า

แนะนำขั้นตอนและเทคนืคการบีบน้ำนมด้วยมือ พร้อมแสดงตัวอย่าง