คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

ความสำคัญของท่าในการให้นมลูก

DSC00087-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ท่าในการให้นมลูกที่ถูกต้องจะทำให้การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การดูดและกลืนน้ำนมของทารกทำได้อย่างเหมาะสม ตำแหน่งในการดูดนมของทารกในแต่ละท่า? ทารกจะดูดนมในตำแหน่งหรือจากต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนมเดิม ขณะที่ต่อมน้ำนมหรือน้ำนมในท่อน้ำนมอื่นๆ อาจจะไม่ได้รับการดูดและยังมีการขังของน้ำนมอยู่ในต่อมน้ำนม1 เป็นที่ทราบกันแล้วว่า การดูดนมให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้มีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น แม้ว่าการดูดนมให้หมดในต่อมน้ำนมตำแหน่งหนึ่งๆ จะช่วยในการสร้างน้ำนมได้ แต่หากการปรับจัดท่าให้เหมาะสมและสามารถกระตุ้นการดูดนมให้เกลี้ยงเต้าในทุกตำแหน่งของเต้านม ก็น่าจะช่วยให้การสร้างน้ำนมดีเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น หากมารดาเรียนรู้ท่าในการให้นมที่หลากหลายท่า นอกจากจะทำให้มารดาสามารถปรับเปลี่ยนท่าเพื่อลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อแล้ว ท่าที่เปลี่ยนไปจะมีการดูดนมในตำแหน่งที่แตกต่างกันของเต้านม ซึ่งน่าจะช่วยให้ผลในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Gardner H, Kent JC, Hartmann PE, Geddes DT. Asynchronous Milk Ejection in Human Lactating Breast: Case Series. J Hum Lact 2015.

 

 

สื่ออินเตอร์เน็ตสำคัญแค่ไหนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

371834_9510806_7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารในสื่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตในระบบโทรศัพท์มือถือ 3G หรือ 4G ส่งเสริมทำให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น ระบบการให้ข้อมูลหรือข่าวสารจากหนังสือ แผ่นพับ หรือการให้คำปรึกษารายบุคคลหรือรายกลุ่มเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระบบเดิมยังมีความสำคัญ แต่ระบบที่ควรเพิ่มเติมและส่งเสริมให้รองรับการเข้าถึงข้อมูลทางสื่ออินเตอร์เน็ตที่สูงขึ้น จำเป็นต้องมีให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้ที่ทำให้ผู้รับข้อมูลสามารถเลือกนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ ซึ่งจะพบว่ามารดาหรือครอบครัวที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีการค้นหาข้อมูลการแก้ไขหรือการปฏิบัติตัวจากอินเตอร์เน็ต1 ช่องทางนี้ อาจเป็นช่องทางที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเข้าถึงที่ง่าย สะดวก ประหยัด หากข้อมูลที่ได้รับเป็นประโยชน์ สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ จะช่วยให้การสนับสนุนหรือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจทำได้ง่ายขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Giglia R, Cox K, Zhao Y, Binns CW. Exclusive breastfeeding increased by an internet intervention. Breastfeed Med 2015;10:20-5.

 

 

ชนชาติไหนให้นมแม่มากที่สุด

371834_9510140_3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? แต่ละชนชาติ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า ชนชาติเอเชียมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชนชาติละตินอเมริกา คนผิวขาว คนพื้นเมืองอินเดียแดง คนพื้นเมืองอลาสก้า คนพื้นเมืองฮาวาย และคนผิวดำ1 ซึ่งการศึกษานี้ศึกษาในสหรัฐอเมริกา มีความน่าสนใจ ขณะที่ในประเทศไทยที่ก้าวไปสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ชนชาติพื้นเมืองในประเทศไทย คนไทยเชื้อสายเวียดนาม คนไทยเชื้อสายมอญ คนไทยเชื้อสายสายจีน คนไทยชาวเขา คนไทยมุสลิม และกลุ่มคนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความเข้าใจถึงลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมในแต่ละเชื้อชาติชน จะทำให้การให้คำแนะนำการมารดาในแต่ละเชื้อชาติ ทำได้อย่างเหมาะสม และนัดติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดในกลุ่มชนที่มีการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็ว สิ่งนี้จะทำให้การให้บริการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำได้อย่างมีความเข้าใจในบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป และไร้ขีดแบ่งกั้นด้านชนชาติใดที่มารับบริการ

เอกสารอ้างอิง

  1. Jones KM, Power ML, Queenan JT, Schulkin J. Racial and ethnic disparities in breastfeeding. Breastfeed Med 2015;10:186-96.

 

 

 

ความเอาใจใส่ในการให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_0306

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? บางครั้ง คนในสังคมอาจมีคำถามในใจว่า แพทย์ได้ให้ข้อมูล คำแนะนำแก่มารดาและครอบครัวเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากน้อยแค่ไหน ส่วนหนึ่งของคำตอบอาจได้จากการศึกษาที่พบว่า แพทย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงร้อยละ 29 และช่วงเวลาเฉลี่ยที่ให้ข้อมูลสั้นเพียงแค่ 39 วินาที1 และการให้ข้อมูลหรือคำแนะนำของแพทย์ประจำบ้านทางสูตินรีเวชน้อยกว่าผดุงครรภ์หรือผู้ช่วยพยาบาล สิ่งนี้สะท้อนถึงการให้ความสำคัญหรือการเอาใจใส่ต่อเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแพทย์ แพทย์เฉพาะทาง และแพทย์ประจำบ้าน แต่อาจเป็นเพราะภารกิจของแพทย์ที่มีหลากหลายจนทำให้การให้เวลากับผู้ป่วยอาจจะมีน้อย? อย่างไรก็ตาม การจัดระบบให้มีทีมงานสหสาขาร่วมมือกันโดยเฉพาะพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลและสร้างบรรยากาศให้บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะแสดงถึงความเอาใจใส่ในการให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่มารดาและทารก และประเทศชาติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Demirci JR, Bogen DL, Holland C, et al. Characteristics of breastfeeding discussions at the initial prenatal visit. Obstet Gynecol 2013;122:1263-70.

 

 

การสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208304

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน ทั้งด้านความพอเพียงของผู้มีความรู้ที่จะให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นโยบายของสถานพยาบาล ทัศนคติของบุคลากรและแพทย์ผู้บริการ ความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สภาวะของครอบครัว สภาพแวดล้อม สวนสาธารณะ ร้านค้า ร้านอาหาร หรือสถานบริการที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสถานประกอบการที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ในวันที่ 1-7 สิงหาคม 2558 นี้ เป็นสัปดาห์นมแม่โลก องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ให้ช่วยเหลือคุณแม่ที่ทำงานให้ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากสาเหตุที่สำคัญในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา1 ดังนั้น กำลังสำคัญที่จะสนับสนุนให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือน ได้แก่ ภาคส่วนของสถานประกอบการ ในประเทศไทยควรถือโอกาสเนื่องในวันแม่แห่งชาติ นอกจากจะมีการระลึกถึงพระคุณของแม่ที่มีมากล้นแล้ว การเชิญชวนให้ระลึกถึงคุณค่าของนมแม่และช่วยให้แม่ที่ต้องทำงานให้ได้ให้นมแม่แก่ลูกได้ น่าจะเป็นการช่วยที่ประเสริฐสุด ซึ่งการช่วยสร้างกระแส ?ช่วยแม่ทำงานให้ ให้นมลูกได้? น่าจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยที่มีความเอื้อเฟื้อและเห็นอกเห็นใจ โดยการให้ 3 การให้ คือ ให้พื้นที่ ให้โอกาส และให้เวลาแก่มารดาที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  • ให้พื้นที่ คือ การจัดสถานที่ที่เหมาะสำหรับการบีบเก็บน้ำนมสำหรับแม่ที่ทำงานเก็บไว้ให้ลูกกินที่บ้าน
  • ให้โอกาส คือ มีนโยบายสนับสนุนช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในขณะแม่กลับมาทำงาน
  • ให้เวลา คือ การจัดเวลาพักให้มารดาบีบเก็บน้ำนมระหว่างวัน เพื่อช่วยคงการสร้างนมแม่

การให้สิ่งเหล่านี้จากสถานประกอบการ น่าจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province J Med Health Sci 2009;16:116-23.