ทำไมต้องกินนมแม่
คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด
การดูแลสุขภาพหลังคลอด
case study 25
การขาดการฝังใจของทารกกับเต้านมแม่
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? หากทารกมีการฝังใจ (imprinting) กับเต้านมแม่จากการให้ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาเนื้อแนบเนื้อ เข้าเต้า อมหัวนมและลานนม (latching) แล้ว จะทำให้เกิดพฤติกรรมการยึดติด (attachment) กับมารดา และสร้างสายสัมพันธ์ (bonding) ระหว่างมารดาและทารก มารดาที่ให้นมลูกจะได้รับการกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรัก ทำให้การหลั่งน้ำนมดีขึ้น เช่นเดียวกัน ก็จะก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกเช่นกัน1
? ? ? ? ?หากทารกถูกล่อหลอกด้วยสิ่งเร้าลวง ได้แก่ หัวนมเทียมหรือจุกนมหลอก หรือหัวแม่มือ พฤติกรรมการฝังใจอาจถูกเบี่ยงเบนจากสิ่งเร้าเหล่านี้ ทำให้ขาดพฤติกรรมการยึดติดและขาดการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก ทารกอาจไปฝังใจกับสิ่งเร้าผิด คือ หัวนมเทียมหรือจุกนมหลอก ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งในมารดาที่มีความเสี่ยงสูงในการทอดทิ้งทารก เช่น มารดาวัยรุ่น ดังนั้น สิ่งที่จะป้องกันการเกิดการทอดทิ้งทารก ต้องเริ่มตั้งแต่ การให้ทารกฝังใจกับเต้านมแม่ที่จะนำไปสู่การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกที่เหนียวแน่นได้
เอกสารอ้างอิง
- Mobbs EJ, Mobbs GA, Mobbs AE. Imprinting, latchment and displacement: a mini review of early instinctual behaviour in newborn infants influencing breastfeeding success. Acta Paediatr 2015.
ประโยชน์การฝังใจของทารกกับเต้านมแม่
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมการฝังใจ (imprinting) ในช่วงระยะแรกของการเกิด เพื่อช่วยให้รับรู้ถึงมารดาและสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตเพื่อการเจริญเติบโตและวิวัฒนาการต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากสิ่งมีชีวิตประเภทนก เช่นเป็ด เมื่อแรกออกจากไข่ ก็จะจดจำสิ่งที่เคลื่อนไหว เดินและติดตามโดยสำคัญว่าเป็นแม่ ในมนุษย์ก็เช่นกัน เมื่อแรกเกิดในระยะแรกหลังคลอดใหม่ ทารกจะมีการฝังใจกับเต้านมแม่ ด้วยสิ่งเร้าจากกลิ่น และสีคล้ำของเต้านมเป็นสิ่งกระตุ้น การได้สัมผัสเต้านมและหัวนมผ่านปากของทารกจะกระตุ้นพฤติกรรมการฝังใจ ซึ่งเป็นกลไกที่จะช่วยให้ทารกรอดชีวิตและเจริญเติบโตไปได้อย่างเหมาะสม1 ดังนั้น การจะช่วยสนับสนุนให้ทารกเกิดพฤติกรรมนี้ จำเป็นต้องให้ทารกมีการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อบนอกของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ให้เวลาให้ทารกได้พัฒนาการสัมผัสเต้านมและหัวนมผ่านการดูดนม ซึ่งทารกจะรู้สึกปลอดภัย หลับและมีการพัฒนาการการเชื่อมโยงของระบบสื่อประสาทสัมผัสระหว่างการนอนหลับนั้น โดยจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการพัฒนาของสมองต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
- Mobbs EJ, Mobbs GA, Mobbs AE. Imprinting, latchment and displacement: a mini review of early instinctual behaviour in newborn infants influencing breastfeeding success. Acta Paediatr 2015.
โรคอ้วนในเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่ควรทราบ
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ปัจจุบัน โรคอ้วนในเด็กพบเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในประเทศบราซิล พบเด็กอายุ 6 ขวบที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนร้อยละ 12-15 ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551 ถึง 2556 โรคอ้วนในเด็กอนุบาลหรือวัยก่อนเรียน พบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 เป็น 7.9 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูง ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคอ้วนในเด็ก1 ได้แก่ ปัจจัยของมารดา การคลอด การให้นมบุตร และปัจจัยในเรื่องสภาพแวดล้อม
? ? ? ? ? ปัจจัยของมารดา คือ มารดามีโรคอ้วน
? ? ? ? ? ปัจจัยด้านการคลอด คือ ทารกคลอดโดยการผ่าตัดคลอด
? ? ? ? ? ปัจจัยด้านการให้นมบุตร คือ ทารกไม่ได้กินนมแม่
? ? ? ? ? สำหรับปัจจัยเรื่องสภาพแวดล้อม จะรวมถึงสภาพแวดล้อมของครอบครัว สังคม และวัฒนธรรม โดยทั่วไป ชนชาติเอเชียจะพบโรคอ้วนน้อยกว่าชนชาติตะวันตก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัตน์ โรคอ้วนก็พบเพิ่มขึ้นด้วย
? ? ? ? ? จะเห็นว่า การป้องกันปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่ การดูแลสุขภาพของมารดาก่อนการตั้งครรภ์ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ โอกาสที่จะคลอดบุตรปกติทางช่องคลอดก็จะมีสูง หลังคลอดให้ทารกกินนมแม่ และดูแลสภาพแวดล้อมในบ้านให้เป็นครอบครัวที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้จักกินแต่พอดี เลือกอาหารที่มีประโยชน์อย่างสมเหตุสมผล และใช้การออกกำลังกายเป็นภูมิคุ้มกัน ก็จะช่วยป้องกันโรคอ้วนที่จะเกิดกับลูก ที่ต่อไปจะเจริญเติบโตเป็นอนาคตของชาติได้
เอกสารอ้างอิง
- Portela DS, Vieira TO, Matos SM, de Oliveira NF, Vieira GO. Maternal obesity, environmental factors, cesarean delivery and breastfeeding as determinants of overweight and obesity in children: results from a cohort. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:94.