คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

ตัวอย่างรูปแบบการกินนมของทารก

latching2-1-o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ทารกแต่ละคนจะมีลักษณะหรือรูปแบบการกินนมที่แตกต่างกัน ซึ่งตัวอย่างรูปแบบการกินนมของทารกอาจแบ่งในรายละเอียด ได้ดังนี้

  • แบบจริงจัง (Barracuda) ทารกที่กินนมในลักษณะนี้จะอมหัวนมและลานนมพร้อมกับการดูดนมอย่างเต็มที่ 10-20 นาที
  • แบบขี้หงุดหงิด (Excited) ทารกจะตื่นตัวและควานหาเต้านม แต่จะหงุดหงิด กระวนกระวาย ร้องไห้ เมื่อไม่มีน้ำนม
  • แบบใจเย็น (Procrastinator) ทารกจะคอยจนกระทั่งมีน้ำนมเริ่มไหลมา จึงจะเริ่มดูด แต่เมื่อเริ่มดูดแล้วก็จะดูดได้ดี
  • แบบนักชิม (Gourmet) ทารกลักษณะนี้จะใช้ลิ้นตวัดเลียหยดน้ำนมจากหัวนมก่อน แล้วจึงค่อยๆ เริ่มการดูดนม การเร่งเร้าให้ทารกเข้าเต้าและดูดนมอาจทำให้ทารกต่อต้านได้
  • แบบช่างพัก (Rester) ทารกจะกินนมสองสามนาที แล้วพักอีกสองสามนาที จึงใช้เวลาในการกินนมนมกว่าทารกปกติทั่วไป

? ? ? ? ? ?จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นว่า หากมารดาทราบลักษณะนิสัยของทารกและจัดการให้นมให้สอดคล้องกับรูปแบบการกินของทารก การให้นมก็จะประสบความสำเร็จด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

Hunger Cues คืออะไร

IMG_9387

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? Hunger cues คือลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิว ในการให้ลูกกินนมแม่ มารดามักเข้าใจโดยทั่วไปว่า เมื่อลูกร้องคือลูกรู้สึกหิว แต่การร้องเป็นอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวในระยะท้าย ซึ่งหากรอให้ทารกร้อง การทำให้ทารกสงบหรือจะนำทารกเข้าเต้าเพื่อการดูดนมจะทำด้วยความลำบากมากขึ้น การที่ให้มารดาอยู่ร่วมกับทารกตลอด 24 ชั่วโมงจะทำให้มารดาได้มีโอกาสสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าทารกหิวในระยะแรกได้ ได้แก่ การที่ทารกตื่นตัวมากขึ้น ขยับงอแขนขา ขยับปากและลิ้น ส่งเสียงอ้อแอ้ เอามือหรือนิ้วเข้าปาก ดูดมือหรือนิ้ว ซึ่งการนำทารกเข้าเต้าก่อนที่ทารกร้องไห้ จะทำได้ง่ายกว่า ซึ่งทารกจะควบคุมการกินนม โดยหากกินนมเพียงพอแล้ว ทารกอาจจะอมหรือคาบหัวนมและลานนมเฉยๆ ทิ้งระยะนานโดยไม่ดูดนม ผ่อนคลาย และอาจสังเกตเห็นทารกง่วงหลับ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงอาการที่ทารกได้รับนมเพียงพอหรืออิ่ม โดยที่มารดาจะสังเกตได้เช่นกันเมื่อได้ให้นมและอยู่ร่วมกันตลอดเวลา

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

รูปแบบการกินนมแม่ของทารก

00024-5-1-smallรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำถามที่มารดามักมาปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการให้นมลูก ได้แก่ ลักษณะการกินนมของลูกอย่างไรจึงจะเป็นปกติ หรือการให้นมของแม่แก่ลูกที่ปกติเป็นอย่างไร การที่จะอธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจจำเป็นต้องทราบหลักการสำคัญในการให้นมแก่ทารก คือ การให้นมตามความต้องการของทารกและให้ทารกกระตุ้นดูดนมให้มีการสร้างน้ำนมที่เพียงพอ
??????????? การให้นมแม่ตามความต้องการของทารก ในช่วงวันแรกถึงวันที่สองหลังคลอด ขนาดกระเพาะทารกยังมีขนาดเล็กความจุใกล้เคียงกับขนาดลูกปิงปอง และค่อยๆ ปรับตัวขยายขนาดเพื่อรับปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในระยะแรกการที่มารดามีหัวน้ำนมที่มีปริมาณน้อยก็จะสอดคล้องกับความจุของกระเพาะอาหารของทารก จากนั้นเมื่อถึงวันที่สามหลังคลอดน้ำนมของมารดาจะมากขึ้น มีอาการตึงคัดเต้านม ความต้องการน้ำนมของทารกเพิ่มขึ้น ทารกจะดูดนมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทั่วไปนมแม่จะย่อยและดูดซึมได้ง่าย การกินนมของทารกจึงมักกินบ่อยราว 8-12 ครั้งต่อวัน โดยการกินนมในแต่ละเต้าใช้เวลาราว 10-15 นาที อย่างไรก็ตาม จำนวนครั้งและระยะเวลาในการดูดนมของทารกนั้นไม่ได้จำกัดว่าจำเป็นต้องได้ตามกำหนดอย่างนี้ จะขึ้นอยู่กับปริมาณและการไหลของน้ำนมมารดาและการดูดนมทารกในแต่ละคู่มากกว่า ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เริ่มดูดนมข้างที่ดูดไว้ในครั้งก่อนหน้านี้ให้เกลี้ยงเต้าก่อนการเปลี่ยนไปดูดนมจากอีกเต้าหนึ่ง ซึ่งการดูดนมให้เกลี้ยงเต้านี้เป็นกลไกสำหรับในการกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมที่เพียงพอสำหรับทารก

เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

ปัจจัยเสี่ยงของทารกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

imageรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากบุคลากรทางการแพทย์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่จะส่งผลต่อการให้นมลูกแล้ว ยังจำเป็นต้องทราบปัจจัยเสี่ยงของทารกที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย เพื่อการพิจารณาเลือกการให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงของทารก มีดังนี้
????????? ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน กายวิภาคและสรีรวิทยา
???????? ?? ? ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวน้อย
??????????? ? ทารกครรภ์แฝด
??????????? ? ทารกที่เข้าเต้าลำบากในเต้านมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
??????????? ? ทารกที่ดูดนมไม่ต่อเนื่องหรือดูดนมไม่มีประสิทธิภาพ
??????????? ? ทารกที่มีความผิดปกติของกายวิภาคในช่องปาก เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ คางเล็ก ลิ้นใหญ่
?????????? ? ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ตัวเหลือง น้ำตาลต่ำ หายใจเร็ว หรือมีการติดเชื้อ
?????????? ? ทารกที่มีปัญหาทางระบบประสาท ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อเกร็งตัว
?????????? ? ทารกที่ง่วงนอนอย่างต่อเนื่อง
?????????? ? ทารกที่น้ำหนักตัวลดมากหรือรุนแรง
??????? ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม
????????? ? การป้อนนมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด
????????? ? ทารกที่ยังกินนมได้ไม่ดีขณะที่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน
????????? ? ทารกและมารดาที่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเร็วเกินไป
????????? ? ทารกที่ใช้จุกนมหลอกตั้งแต่ในระยะแรก

เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

ปัจจัยเสี่ยงของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอนที่ 2

IMG_9483รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ปัจจัยทางด้านกายวิภาคและสรีรวิทยา
???????????? ? มารดาที่ไม่มีการขยายขนาดของเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์
???????????? ? มารดาที่มีหัวนมบอดหรือหัวนมแบน
???????????? ? มารดาที่มีลักษณะของเต้านมที่ผิดปกติ ได้แก่ เต้านมแตกต่างกันมากระหว่างสองเต้า เต้านมขาดการพัฒนาการสำหรับการให้นมที่เหมาะสมคือ เต้านมที่ไม่มีเนื้อของต่อมน้ำนมหรือต่อมน้ำนมน้อย (hypoplastic breast) หรือเต้านมเป็นทรงท่อ (tubular breast)
??????????? ? มารดาที่มีการผ่าตัดเต้านมที่มีการตัดหรือไปรบกวนท่อน้ำนมหรือปลายประสาทที่รับความรู้สึกที่หัวนม
??????????? ? มารดาที่มีการผ่าตัดเต้านมเพื่อการแก้ไขลักษณะที่ผิดปกติหรือการเจริญเติบโตที่บกพร่องของเต้านม
????????? ? ? มารดาที่เคยเป็นฝีที่เต้านมมาก่อน
???????? ?? ? มารดาที่มีอาการเจ็บหัวนมมากหรือมีอาการเจ็บหัวนมเรื้อรัง
???????? ?? ? มารดาที่เต้านมขาดการพัฒนาการสร้างน้ำนมในระยะที่ 2 (failure of lactogenesis stage 2)
??????? ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
??????????? ? มารดาที่จำเป็นต้องแยกจากทารกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.