คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การสนับสนุนของครอบครัวส่งผลดีกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2095

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? แน่นอนในปัจจุบัน มารดาทุกคนต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ เนื่องจากมีการทราบถึงคุณประโยชน์ที่หลากหลายของการที่ลูกได้กินนมแม่ อย่างไรก็ดี การสนับสนุนของครอบครัวมีส่วนช่วยส่งเสริมมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 นอกจากนี้ มารดาที่มีแม่เคยเล่าเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ฟัง จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า2

? ? ? ? ? ?สำหรับประเทศไทย ในชนบทยังเป็นครอบครัวขยาย ปู่ย่าตายายซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในบ้าน มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกด้วย โดยความคิดเห็นของยายมีผลต่อการตัดสินใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา3 แต่ในบางประเทศ ยายจะมีอิทธิพลต่อการให้น้ำหรือชาสมุนไพรในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่4 เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยที่ย่าหรือยาย มักมีอิทธิพลต่อการให้อาหารเสริมอื่นนอกเหนือจากนมแม่ในช่วงหกเดือนแรก ซึ่งอาจเป็นคำแนะนำที่ได้จากประสบการณ์ดั้งเดิมของย่าหรือยายที่เคยเลี้ยงดูลูกอย่างนี้มาก่อน แต่ขนาดของปัญหา ยังขาดการวิจัยศึกษา อย่างไรก็ตาม การให้ความรู้เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ควรครอบคลุมถึงคนในครอบครัวและบุคคลที่มีอิทธิพลที่จะมีผลต่อการเลือกให้อาหารแก่ทารกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu X, Liu L, Wang Y. Utilizing a Newly Designed Scale for Evaluating Family Support and Its Association with Exclusive Breastfeeding. Breastfeed Med 2016.
  2. Ekstrom A, Widstrom AM, Nissen E. Breastfeeding support from partners and grandmothers: perceptions of Swedish women. Birth 2003;30:261-6.
  3. Odom EC, Li R, Scanlon KS, Perrine CG, Grummer-Strawn L. Association of Family and Health Care Provider Opinion on Infant Feeding with Mother’s Breastfeeding Decision. J Acad Nutr Diet 2014;114:1203-7.
  4. Giugliani ERJ, do Esp?rito Santo LC, de Oliveira LD, Aerts D. Intake of water, herbal teas and non-breast milks during the first month of life: Associated factors and impact on breastfeeding duration. Early Human Development 2008;84:305-10.

ปัจจัยทางสังคมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2195

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนรวมทั้งปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ อายุมารดาที่ตั้งครรภ์ การศึกษา การแต่งงานหรือการอยู่กับคู่ครอง โดยมารดาที่มีอายุน้อย การศึกษาของมารดาที่ต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย การที่มารดาไม่ได้แต่งงานหรือไม่ได้อยู่กับคู่ครองมีแนวโน้มที่จะเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและมีระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนน้อยกว่า ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยเรื่องการศึกษาเป็นปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนมากที่สุด1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์ใส่ใจกับข้อมูลเบื้องต้นของมารดาที่มีความเสี่ยง และให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ ติดตามและดูแลมารดาเหล่านี้อย่างใกล้ชิด น่าจะช่วยเพิ่มการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu Y, Hernandez LM, Mueller P, Dong Y, Hirschfeld S, Forman MR. Predictive Models for Characterizing Disparities in Exclusive Breastfeeding Performance in a Multi-ethnic Population in the US. Matern Child Health J 2016;20:398-407.

 

case study 50

IMG_1550

case-study-50

case study 49

IMG_1531

case-study-49

case study 48

image

case-study-48