เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

ช่วงใกล้คลอดกินน้ำมะพร้าวเยอะๆ ลูกจะไม่มีไขจริงหรือ?

ช่วงใกล้คลอดกินน้ำมะพร้าวเยอะๆ ลูกจะไม่มีไขจริงหรือ?

 

? ? ? ? ? ? ? ??ไขของทารก?ปกติจะเกิดทุกรายในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายของทารกแรกเกิด แต่จะมากหรือน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับสภาพแวดล้อมในครรภ์ การรับประทานน้ำมะพร้าวเยอะๆ แล้วลูกจะไม่มีไข ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ยืนยัน

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

เขาว่ากันว่ากินส้มมากๆ แล้วลูกจะผิวสวยจริงหรือไม่?

เขาว่ากันว่ากินส้มมากๆ แล้วลูกจะผิวสวยจริงหรือไม่?

 

? ? ? ? ? การที่ลูกจะผิวสวยส่วนหนึ่งเป็นจากพันธุกรรม อีกส่วนเป็นจากสิ่งแวดล้อม การรับประทานส้ม?ซึ่งมีประโยชน์และมีวิตามินซีสูงเป็นสิ่งที่ดี หากคุณแม่รับประทานได้อย่างเหมาะสมและมีสุขภาพดี ลูกที่เกิดมาก็จะมีสุขภาพดีตามไปด้วย ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับอนาคตในการดูแลผิวพรรณของเด็กจนถึงเมื่อเติบใหญ่

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

ถ้าแพ้ท้องมากลูกจะเป็นอันตรายไหม?

ถ้าแพ้ท้องมากลูกจะเป็นอันตรายไหม?

? ? ? ? ? ? ? ??การแพ้ท้องเป็นกลไกที่เกิดตามธรรมชาติ ในกรณีที่คุณแม่ยังรับประทานอาหารได้น้ำหนักไม่ลด ไม่น่ากังวลและไม่มีอันตรายต่อทารกเลย แต่หากการแพ้ท้องเกิดมากจนคุณแม่น้ำหนักลดมาก ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากอาจเป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติได้

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

จำเป็นไหมหลังคลอดแล้วต้องอยู่ไฟ?

จำเป็นไหมหลังคลอดแล้วต้องอยู่ไฟ?

 

? ? ? ? ? ??การอยู่ไฟ ในสมัยโบราณ มีประโยชน์โดยช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และการรับประทานเกลือก็เป็นการช่วยชดเชยเกลือแร่ในร่างกาย แต่ในปัจจุบัน การติดตามอุณหภูมิร่างกาย สารน้ำ และเกลือแร่ได้ชดเชยในการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเพียงพอแล้วจึงไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ไฟ แต่หากเป็นความเชื่อที่ทำแล้วสบายใจ ก็สามารถทำได้โดยระมัดระวังเรื่องอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไป และรับประทานน้ำ5และเกลือแร่ให้พอเพียง

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

อะไรคือการเข้าเต้า?

การเข้าเต้า

 

? ? ? ? ?คุณแม่และครอบครัวอาจจะเคยได้ยินบุคลากรทางการแพทย์เอ่ยถึงการเข้าเต้าในการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่อาจฟังไปเพลินๆ ไม่ได้ติดใจอะไร แต่เมื่อสอบถามว่า อะไรคือการเข้าเต้า คุณแม่มักอ้ำอึ้ง ไม่แน่ใจในความหมาย

? ? ? ? ?การเข้าเต้า หมายถึง การนำทารกเข้าสู่เต้านมแม่ เพื่อให้ดูดนม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า ?Latch on? โดยกลไกการเข้าเต้านั้น เริ่มตั้งแต่การนำทารกเข้าสู่เต้านมแม่ ให้การกระตุ้นด้วยสัมผัสของเต้านมกับริมฝีปากล่างก่อนซึ่งจะกระตุ้นให้ทารกอ้าปาก จากนั้นประกบเต้านมเข้ากับริมฝีปากบนเพื่อให้ทารกงับกลุ่มของหัวนมและลานหัวนมเข้าไปในปาก1 กระบวนนี้จะนำไปสู่การกระตุ้นดูดนมจากเต้านมแม่ การเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสมจะทำให้ทารกดูดนมได้ดี อาจกล่าวได้ว่า ?การเข้าเต้าเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? เมื่อเข้าเต้าได้แล้ว จะดูอย่างไรว่าเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม มีการคิดคะแนนประเมินการเข้าเต้าจากข้อมูล ลักษณะการเข้าเต้า การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะหัวนม การสะดวกสบายและการอุ้มประคองทารก ดังตารางที่ 1 หรือเรียกว่า Latch score โดยใช้ตัวย่อของ LATCH มาใช้เป็นหัวข้อในการช่วยจำและให้คะแนน เพื่อทำนายความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ?การให้คะแนนประเมินการเข้าเต้า หากพบว่าคะแนนที่ประเมินมากกว่า 8 จะทำนายโอกาสของความสำเร็จของระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อครบหกสัปดาห์หลังได้สูงกว่า 1.7 เท่าของคุณแม่ที่ได้คะแนนต่ำกว่า2 ดังนั้น การรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ คงจะทำให้คุณแม่เข้าใจและเตรียมตัวได้ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ตารางที่ 1 แสดงคะแนนการประเมินการเข้าเต้าหรือ Latch score

ตารางที่ 1 แสดงคะแนนการประเมินการเข้าเต้าหรือ Latch score

 

 

หนังสืออ้างอิง

  1. Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Dis Mon 2008; 54:343-411.
  2. Kumar SP, Mooney R, Wieser LJ, Havstad S. The LATCH scoring system and prediction of breastfeeding duration. J Hum Lact 2006; 22:391-7.

 

การเข้าเต้า

 

 

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์