เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

ผลของการให้ยาแก้ปวดและยาระงับความรู้สึกที่มีต่อทารกระหว่างการคลอดกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ยา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??ผลของการให้ยาแก้ปวดและยาระงับความรู้สึกที่มีต่อทารก ส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าและอาจทำให้ทารกง่วงซึม1,2 ไม่พร้อมที่จะดูดนมในระยะแรกหลังคลอด ดังนั้น การใช้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวด ควรมีการอภิปรายถึงข้อดีข้อเสียต่างๆ กับมารดาตั้งแต่ระยะก่อนการคลอด อธิบายถึงลักษณะการเจ็บครรภ์คลอดและทางเลือกในการลดความเจ็บปวดจากการคลอดด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา เพื่อให้มารดาเข้าใจ ลดความกลัว ความวิตกกังวล หรือความคาดหวังถึงความรุนแรงของการเจ็บครรภ์คลอดซึ่งจะส่งผลต่อความรุนแรงต่อการเจ็บครรภ์ขณะเข้าสู่ระยะคลอด3 โดยอธิบายข้อดีของการให้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวดจะทำให้มารดามีอาการปวดน้อยลง ไม่ต้องทนหรือมีประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากการคลอด สำหรับข้อเสียหรือความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวด นอกจากส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าและอาจทำให้ทารกง่วงซึมแล้ว ยังมีผลเสียอื่นๆ ได้แก่ การคลอดยาวนานขึ้น มีโอกาสการใช้หัตถการสูงขึ้น4 การให้ทารกแรกเกิดได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มช้าลง2 เสี่ยงต่อการทำให้เกิดการแยกมารดาจากทารกหลังคลอด ทำให้ทารกง่วงซึมและปลุกตื่นยาก ลดกลไกการดูดนมของทารก น้ำนมลดลง ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดอาการตัวเหลือง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และน้ำหนักตัวขึ้นน้อย การให้การช่วยเหลือหรือเวลาที่มากขึ้นอาจจำเป็นในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการสร้างความสัมพันธ์ของมารดากับทารกเมื่อมีการใช้ยาระงับความรู้สึกหรือยาแก้ปวด

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Lind JN, Perrine CG, Li R. Relationship between use of labor pain medications and delayed onset of lactation. J Hum Lact 2014;30:167-73.

2.???????????? Riordan J, Gross A, Angeron J, Krumwiede B, Melin J. The effect of labor pain relief medication on neonatal suckling and breastfeeding duration. J Hum Lact 2000;16:7-12.

3.???????????? Chang MY, Chen SH, Chen CH. Factors related to perceived labor pain in primiparas. Kaohsiung J Med Sci 2002;18:604-9.

4.???????????? Hwa HL, Chen LK, Chen TH, Lee CN, Shyu MK, Shih JC. Effect of availability of a parturient-elective regional labor pain relief service on the mode of delivery. J Formos Med Assoc 2006;105:722-30.

 

 

 

 

 

การเคลื่อนไหวของมารดาระหว่างการรอคลอดที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

w39

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนการปฏิบัติระหว่างการคลอดมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และมารดาควรทราบเพื่อการเลือกหรือตัดสินใจในการวางแผนการคลอดและการดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างเหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? ?การให้อิสระกับมารดาในการเคลื่อนไหวในระหว่างการรอคลอด มารดาควรมีทางเลือกในการมีการเคลื่อนไหวในระหว่างการรอคลอด ตามทฤษฎีแล้วการมีการเคลื่อนไหวจะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้นซึ่งจะช่วยในกลไกการคลอด และการมีทางเลือกในการมีอิสระในการเคลื่อนไหวของมารดาจะลดความเครียดในระหว่างการรอคลอดซึ่งส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าได้1-3 นอกจากนี้การที่มารดามีการเคลื่อนไหวเช่น การเต้นหรือขยับอุ้งเชิงกรานพร้อมกับการนวดหลังช่วยลดการเจ็บครรภ์ระหว่างการรอคลอดได้4

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Grajeda R, Perez-Escamilla R. Stress during labor and delivery is associated with delayed onset of lactation among urban Guatemalan women. J Nutr 2002;132:3055-60.

2.???????????? Dewey KG, Nommsen-Rivers LA, Heinig MJ, Cohen RJ. Risk factors for suboptimal infant breastfeeding behavior, delayed onset of lactation, and excess neonatal weight loss. Pediatrics 2003;112:607-19.

3.???????????? Chapman DJ, Perez-Escamilla R. Identification of risk factors for delayed onset of lactation. J Am Diet Assoc 1999;99:450-4; quiz 5-6.

4.???????????? Abdolahian S, Ghavi F, Abdollahifard S, Sheikhan F. Effect of dance labor on the management of active phase labor pain & clients’ satisfaction: a randomized controlled trial study. Glob J Health Sci 2014;6:219-26.

 

 

 

 

 

การให้อาหารว่างและน้ำระหว่างการคลอดที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ขั้นตอนการปฏิบัติระหว่างการคลอดมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และมารดาควรทราบเพื่อการเลือกหรือตัดสินใจในการวางแผนการคลอดและการดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างเหมาะสม

? ? ? ? ? ? ?การให้อาหารว่างและน้ำกับมารดาในช่วงการคลอดระยะเริ่มต้น ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดจะมีการงดน้ำงดอาหาร และให้สารน้ำโดยการให้น้ำเกลือ ซึ่งน้ำเกลือโดยปกติจะให้ผสมน้ำตาลร้อยละ 5 และความเร็วในอัตราการให้มักให้ไม่เกิน 120 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง โดยหากคำนวณพลังงานที่มารดาจะได้รับมักได้รับน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความพลังงานที่มารดาต้องการต่อวัน ในระยะคลอดมารดาต้องการพลังงานสูง ขณะที่พลังงานได้รับต่ำ ยิ่งมารดาที่อยู่ในระยะคลอดนาน ยิ่งอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า จนอาจมีกำลังในการเบ่งคลอดน้อย ขณะเดียวปริมาณที่ได้จะน้อยกว่าความต้องการของร่างกายเช่นกัน การให้อาหารว่างที่ย่อยง่ายและน้ำกับมารดาในระยะการคลอดเริ่มต้น จะช่วยให้พลังงานกับมารดา ลดความอ่อนเพลียเหนื่อยล้า และความเครียดต่อมารดาในระหว่างการรอคลอดซึ่งส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าได้1-3

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Grajeda R, Perez-Escamilla R. Stress during labor and delivery is associated with delayed onset of lactation among urban Guatemalan women. J Nutr 2002;132:3055-60.

2.???????????? Dewey KG, Nommsen-Rivers LA, Heinig MJ, Cohen RJ. Risk factors for suboptimal infant breastfeeding behavior, delayed onset of lactation, and excess neonatal weight loss. Pediatrics 2003;112:607-19.

3.???????????? Chapman DJ, Perez-Escamilla R. Identification of risk factors for delayed onset of lactation. J Am Diet Assoc 1999;99:450-4; quiz 5-6.

 

 

 

 

 

วิธีการคลอดบุตรที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก

latch on

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนการปฏิบัติระหว่างการคลอดมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์และมารดาควรทราบเพื่อการเลือกหรือตัดสินใจในการวางแผนการคลอดและการดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างเหมาะสม

? ? ? ? ? ? วิธีการคลอดบุตร โดยปกติหากมารดาสามารถคลอดบุตรได้ด้วยวิธีการคลอดปกติจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรก เพื่อจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม มีการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับสตรีตั้งครรภ์ วางแผนการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักมารดาให้พอเหมาะกับดัชนีมวลกาย เจาะเลือดเพื่อตรวจดูความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยหากมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองเบาหวานจะช่วยในการตรวจวินิจฉัย เพื่อให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก หากได้มีการดูแลครรภ์ได้ดี โอกาสการผ่าตัดคลอดจะประมาณร้อยละ 15 เมื่อมีความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอดต่ำ จะเป็นผลดีต่อการเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า การผ่าตัดคลอดมีความเสี่ยงในการมีน้ำนมมาช้า 2.40 เท่า (95%CI 1.28-4.51)1 และมารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2-4 การเลือกการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีความจำเป็น เช่น การขอผ่าตัดคลอดจากการกลัวการเจ็บครรภ์ การเลือกวันเวลาคลอดของทารก หรือการกลัวช่องคลอดไม่กระชับจากการคลอดควรหลีกเลี่ยง

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Scott JA, Binns CW, Oddy WH. Predictors of delayed onset of lactation. Matern Child Nutr 2007;3:186-93.

2.???????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

3.???????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

4.???????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

 

 

 

 

การเตรียมเต้านมและหัวนมในระหว่างฝากครรภ์

nipple length

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในระหว่างฝากครรภ์ควรมีการตรวจเต้านมและหัวนมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดยทั่วไปแล้วแม้ว่าเต้านมของมารดาจะมีความแตกต่างกันในขนาด ความยาวของหัวนม และความกว้างของลานนม แต่มารดาส่วนใหญ่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ หากมารดากังวลว่าเต้านมหรือหัวนมจะเหมาะสมสำหรับการให้นมแม่หรือไม่? บุคลากรทางการแพทย์ควรตรวจเต้านมและหัวนมพร้อมให้ความมั่นใจกับมารดาถึงขั้นตอนการดูแลและส่งเสริมให้มารดาให้นมลูกได้

องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำในเรื่องการตรวจความยาวหัวนมในระหว่างการฝากครรภ์เนื่องจากการตัดสินว่ามารดามีความยาวหัวนมสั้นอาจลดความเชื่อมั่นของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และความยาวของหัวนมมารดาสามารถเพิ่มขึ้นได้ระหว่างการเริ่มตั้งครรภ์จนถึงใกล้คลอดประมาณ 2 มิลลิเมตร1 ร่วมกับในการดูดนมทารกจะอ้าปากอมหัวนมและลานนมซึ่งลานนมที่นุ่มจะยืดยาวเข้าไปในปากทารก ทำให้ทารกสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้แม้จะมีหัวนมที่สั้น แต่ในประเทศไทยยังมีการตรวจประเมินเต้านมและความยาวหัวนมในขั้นตอนมาตรฐานของการฝากครรภ์ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการศึกษาการใช้ปทุมแก้วใส่ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ในมารดาที่มีหัวนมสั้นกว่า 7 มิลลิเมตรจะทำให้ความยาวหัวนมเพิ่มขึ้นได้โดยมีความปลอดภัยและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น2 และหากหัวนมมารดาในระยะหลังคลอดมากกว่า 7 มิลลิเมตรจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า3 ดังนั้นการตรวจเต้านมและหัวนมทำได้ในระหว่างการฝากครรภ์ แต่ไม่ควรตัดสินมารดาว่ามารดามีปัญหาหรือความผิดปกติของหัวนม ควรให้ความเห็นว่ามารดาอาจสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่จะมีโอกาสสำเร็จสูงขึ้นหากมีการเตรียมตัวและการปฏิบัติที่เหมาะสมหากพบมารดาที่มีหัวนมสั้นหรือหัวนมบอด

สำหรับการปฏิบัติโดยการทำให้หัวนมแข็งและตั้งขึ้นโดยการใช้ผู้เช็ดตัวถูหรือการใช้แอลกอฮอล์ทาหัวนมหรือการดึงหัวนมขึ้นไม่มีความจำเป็น เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลถึงประโยชน์ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์และอาจจะเกิดบาดแผลหรือความเสียหายต่อกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นอกจากนี้ การตรวจเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์จะมีประโยชน์ หากใช้ในกรณี ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในเรื่องขนาด? การเพิ่มขึ้นของเลือดที่ไปเลี้ยงเต้านม ตรวจดูว่ามีการบาดเจ็บหรือก้อนที่เต้านม และตรวจดูว่ามารดาเคยมีการผ่าตัดเต้านมหรือการผ่าตัดบริเวณหน้าอกมาก่อนหรือไม่ เนื่องจากมีการผ่าตัดเต้านมบางอย่างอาจทำลายท่อน้ำนมซึ่งมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Thanaboonyawat I, Chanprapaph P, Lattalapkul J, Rongluen S. Pilot study of normal development of nipples during pregnancy. J Hum Lact 2013;29:480-3.

2.???????????? Chanprapaph P, Luttarapakul J, Siribariruck S, Boonyawanichkul S. Outcome of non-protractile nipple correction with breast cups in pregnant women: a randomized controlled trial. Breastfeed Med 2013;8:408-12.

3.???????????? Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.