เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศไทย

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาอย่างต่อเนื่อง และได้ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนไว้ที่ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2025 ในปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนโดยภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 39

? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทยปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.2547 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย แนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2544-2549) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ไว้ว่า ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนอย่างน้อยร้อยละ 30 ?แต่จากการติดตามผลการดำเนินการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยสี่เดือนในปี 2536-2544 พบตั้งแต่ร้อยละ 1.0-16.31 ในปี พ.ศ.2549 องค์กรยูนิเซฟสำรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนร้อยละ 5.4 ในปี พ.ศ.2552 จากการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ (National Reproductive Health Survey) ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนร้อยละ 15.52

? ? ? ? ? ? และในปี พ.ศ. 2555 องค์กรยูนิเซฟได้มีการสำรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนในประเทศไทยซ้ำ พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนเท่ากับร้อยละ 12.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ.2549 จะเห็นว่าตัวเลขของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่บรรลุเป้าหมาย แต่จากข้อมูลของกรมอนามัยในปี พ.ศ.2555 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเท่ากับร้อยละ 47.5 โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลจากฐานข้อมูลในโรงพยาบาลซึ่งจะมีความแตกต่างจากข้อมูลที่สำรวจในชุมชน ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ได้ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 50 ซึ่งขยับเป้าหมายสูงขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายนี้เป็นสิ่งท้าทายที่จำเป็นต้องความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมทั้งความตื่นตัวของกระแสสังคมและการสนับสนุนในด้านนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
  2. Kongsri S, Limwattananon S, Sirilak S, Prakongsai P, Tangcharoensathien V. Equity of access to and utilization of reproductive health services in Thailand: national Reproductive Health Survey data, 2006 and 2009. Reprod Health Matters 2011;19:86-97.

 

 

อุปกรณ์ในการช่วยป้อนนม จำเป็นหรือไม่

DSC00123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ทารกที่ดูดนมจากเต้าได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติสร้างมา โดยให้ทารกได้รับทั้งความอบอุ่น สัมผัสที่กระตุ้นพัฒนาการ สายตาที่จะจดภาพจำ จมูกที่รับกลิ่นน้ำนมที่เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของทารกแรกเกิด

? ? ? ? ?แต่สำหรับทารกบางคนที่ไม่มีความพร้อมในการดูดนมจากเต้า ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด? ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ ทารกที่มีความผิดปกติของช่องปาก หรือทารกที่เจ็บป่วยรุนแรง การใช้อุปกรณ์ในการช่วยป้อนนมอาจมีความจำเป็น

? ? ? ? ?การใช้อุปกรณ์ช่วยป้อนนมที่เต้านม (at-breast feeders) ในทารกที่พอจะดูดนมจากเต้าได้ แต่ดูดน้ำนมได้น้อยไม่เพียงพอ หรือดูดแล้วมีอาการหอบเหนื่อย การใช้อุปกรณ์ช่วยป้อนนมที่เต้านมจะเป็นช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น โดยในระหว่างที่ทารกดูดนม อุปกรณ์ป้อนที่มีถุงเก็บน้ำนมและมีสายมาวางติดที่เต้านมจะป้อนน้ำนมให้ไหลผ่านสายยางมาที่ปากและให้กับทารกขณะที่อมหัวนมและลานนมและดูดนมที่เต้า และการขณะเดียวกัน การดูดนมของทารกจะไปกระตุ้นกลไกการสร้างน้ำนมของมารดาเพิ่มขึ้นด้วย วิธีการนี้ ในโรงพยาบาลอาจทำโดยใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาและนำมาให้ทารกในลักษณะเดียวกันได้

? ? ? ? ?การป้อนนมด้วยถ้วย ในทารกที่ไม่สามารถดูดนมจากเต้านมได้โดยตรง การป้อนนมด้วยถ้วยอาจพิจารณาการใช้ขณะที่รอทารกแข็งแรงขึ้น มีพัฒนาการที่ดีขึ้น อาการเจ็บป่วยมีความรุนแรงน้อยลง การป้อนนมด้วยถ้วยจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทารกได้รับนม และเป็นการฝึกทักษะเบื้องต้นในการดูดนมแม่จากเต้า เนื่องจากในการป้อนนมด้วยถ้วยในระหว่างที่ป้อนนม ทารกจะต้องแลบลิ้นออกมา เพื่อช้อนน้ำนมจากถ้วยขึ้นไป ซึ่งลักษณะนี้จะเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดูดนมจากเต้านมเช่นกัน ดังนั้น บางครั้งในมารดาบางคน บุคลากรทางการแพทย์จะแนะให้มารดาฝึกป้อนแก้วระหว่างที่รอทารกสมบูรณ์และพร้อมที่จะดูดนมจากเต้า

? ? ? ? ?การป้อนนมด้วยช้อน ลักษณะการป้อนควรมีการฝึกให้ทารกได้แลบลิ้นออกมา เลียหรือช้อนนมเข้าปากไป ซึ่งจะช่วยในกลไกการดูดนมจากเต้าเมื่อทารกมีความพร้อม การป้อนนมด้วยช้อนมักใช้ในมารดาและทารกที่มีลักษณะเช่นเดียวกับทารกที่ป้อนนมด้วยถ้วย แต่น้ำนมที่ป้อนมีปริมาณน้อย เช่น หัวน้ำนมที่มารดามีในสองสามวันแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. .2nd?ed Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การแบ่งปันเครื่องปั๊มนม ควรหรือไม่อย่างไร

electric expression x1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?การแบ่งปันเป็นสิ่งที่ดี แต่เครื่องปั๊มนมต้องถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานเป็นการส่วนตัวอย่างหนึ่งที่ต้องใส่ใจหากจะมีการให้หรือแบ่งปัน เครื่องปั๊มนมมีส่วนประกอบหลายส่วนที่อาจเป็นที่สะสมและแพร่เชื้อโรคได้ เมื่อไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม การใช้เครื่องปั๊มนมของมารดาท่านหนึ่งและให้มารดาอีกท่านหนึ่งยืมไปใช้ เป็นเรื่องไม่ควรกระทำ เนื่องจากมารดาอาจไม่มีเวลาหรือไม่รู้ขั้นตอนที่จะทำความสะอาดหรือป้องกันการแพร่เชื้อจากมารดาท่านหนึ่งไปอีกท่านหนึ่งหรือไปสู่ทารกได้ เชื้อที่อาจจะแพร่ไปได้แก่ ไวรัสเอชไอวี หรือ ไวรัสตับอักเสบ ซึ่งหากมีการติดเชื้อผ่านเครื่องปั๊มนม อาจไม่คุ้มค่ากับการมักง่ายหรือเห็นเป็นเรื่องที่ลดค่าใช้จ่ายได้ การใช้เครื่องปั๊มนมมือสองก็เช่นกัน เนื่องจากบริษัทที่ผลิตเครื่องปั๊มนมออกแบบสำหรับการใช้เป็นการส่วนตัว ยกเว้น เครื่องปั๊มนมที่มีมาตรฐานคุณภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลที่ออกแบบสำหรับการใช้งานของผู้ใช้หลายคนและมีการดูแลระหว่างผู้ใช้แต่ละคนเป็นไปตามมาตรฐานจึงสามารถใช้ได้ด้วยความปลอดภัย

? ? ? ? ? สุดท้าย การพึ่งพาอุปกรณ์เทคโนโลยีอาจมีข้อจำกัดหลากหลายอย่าง การใช้วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มารดามีติดตัวตลอด จึงน่าจะเหมาะสำหรับการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการใช้ชีวิตแบบสไลว์ไลฟ์ (slow life) ที่เป็นสิ่งที่คนยุคปัจจุบันถวิลหา อยากย้อนยุคกลับไปสู่รากเหง้าพื้นฐานดั้งเดิมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

 

การปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม

 

hand expression x3-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ??การปั๊มนม? เป็นวิธีหนึ่งในการเก็บน้ำนมแม่ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ซึ่งเป็นค่านิยมที่พึ่งพาเทคโนโลยีตามกระแสสังคม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลืมหรือละเลยทักษะพื้นฐานที่มารดาควรปฏิบัติได้คือ การบีบน้ำนมด้วยมือ การใช้เครื่องปั๊มนมควรปฏิบัติในการดูแลความสะอาดของเครื่องปั๊มนมตามคำแนะนำที่มีของคู่มือการใช้งานของเครื่องปั๊มนมอย่างเคร่งครัด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ประกอบเครื่องปั๊มนมมีหลายชนิด แต่ละชนิดอาจต้องการการทำความสะอาดที่แตกต่างกัน ซึ่งในการปั๊มเก็บนมความสะอาดของเครื่องมือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่หากขาดการใส่ใจอาจสร้างผลเสียที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือท้องเสียได้

? ? ? ? ? ข้อดีของการใช้เครื่องปั๊มนมที่มีคือ หากมารดาใส่หัวปั๊มนมที่พอเหมาะและใช้แรงดูดที่เหมาะสมแล้ว ขณะมารดาปั๊มนมหากใส่ชุดช่วยประคองเครื่องปั๊มนม มารดาอาจสามารถทำงานอย่างอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย และอาจปั๊มนมพร้อมกันทั้งสองเต้าพร้อมกัน ซึ่งจะลดเวลาในการปั๊มเก็บน้ำนมลงได้

? ? ? ? ? ข้อเสียคือ การต้องพึ่งพาอุปกรณ์ บางครั้งต้องพึ่งพาถ่านไฟฉาย หรือไฟฟ้าที่เป็นตัวช่วยในการปั๊มนม และต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบในการเก็บน้ำนมเป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

ขั้นตอนการบีบน้ำนมด้วยมือ

hand expression7-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ?การบีบน้ำนมด้วยมือ? เป็นทักษะที่จำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้

???????? ?-ล้างมือให้สะอาด

???????? -เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้เก็บน้ำนม โดยใช้แก้วน้ำที่สะอาด หรือเป็นมารดามือใหม่ที่เพิ่งเริ่มบีบเก็บน้ำนมอาจใช้แก้วน้ำที่มีปากกว้างหรือชามก็ได้

???????? -นวดเต้านมเบาๆ ไล่จากเต้านมมาที่หัวนม จากนั้น ค่อยๆ จับหัวนมให้ยืดยาวออกเพื่อกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโตซินที่ช่วยในการหลั่งของน้ำนม

???????? -วางนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านบนและนิ้วชี้ไว้ด้านล่างของเต้านมบริเวณลานนมหรือเหนือลานนมเล็กน้อย จากนั้นกดนิ้วในทิศทางไปที่หน้าอกก่อนที่จะบีบนิ้วเข้าหากัน โดยไม่ควรใช้การเลื่อนหรือไถลนิ้วเข้าหาเต้านม การบีบน้ำนมควรบีบเป็นจังหวะ โดยช่วงจังหวะการบีบราว 1 ครั้งต่อหนึ่งวินาทีให้คล้ายกับการดูดน้ำนมของทารก

?????? ?-อุปกรณ์ที่เก็บน้ำนมอาจวางบนโต๊ะ หากมารดายืนบีบน้ำนม หรือาจอยู่บนตัก หากมารดานั่งบีบน้ำนม มารดาควรฝึกการบีบน้ำนมให้ลงในลงตรงกับภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนม

?????? -บีบน้ำนมในลักษณะและตำแหน่งเดิมจนกระทั่งน้ำนมที่ไหลเริ่มช้าลง

????? ?-ย้ายตำแหน่งการบีบน้ำนมไปจนบีบน้ำนมครบรอบเต้านม

????? -หลังจากบีบน้ำนมจากเต้านมเต้าแรกเสร็จแล้ว ย้ายไปบีบน้ำนมเต้านมอีกข้างในลักษณะเดียวกัน โดยในมารดาที่มีความชำนาญอาจบีบน้ำนมได้พร้อมกันจากสองเต้า แต่ต้องเตรียมอุปกรณ์เก็บน้ำนมสองอันด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.