เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

มารดาที่สุขใจขณะให้นมลูกจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นาน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การที่มารดามีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ยังพบว่า การที่มารดารู้สึกมีความสุขในการให้นมลูกจะช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นาน1 ซึ่งการที่มารดารู้สึกมีความสุขในระหว่างการให้นมลูกจะสัมพันธ์กับการที่สามีสนับสนุนมารดาให้ให้นมลูกและทั้งสองมีความสุขที่ได้ใกล้ชิดลูก ดังนั้น จะเห็นว่าความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะเป็นแรงผลักดันที่ช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดีขึ้น ขณะที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ช่วยในการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้มีเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

1.            Granberg A, Ekstrom-Bergstrom A, Backstrom C. First-Time Mothers’ Enjoyment of Breastfeeding Correlates with Duration of Breastfeeding, Sense of Coherence, and Parental Couple and Child Relation: A Longitudinal Swedish Cohort Study. Nurs Res Pract 2020;2020:8194389.

การให้นมแม่แก่ทารกแรกเกิดพร้อมกับพี่คนโต

มารดาบางคนอาจมีความวิตกกังวลว่าสามารถจะให้นมทารกแรกเกิดไปพร้อมกันกับพี่คนโตที่เรียกร้องจะกินนมแม่ได้หรือไม่ คำตอบคือสามารถทำได้โดยไม่ต้องกลัวเรื่องน้ำนมไม่พอหรือจะรบกวนการกินนมของทารกแรกเกิด นอกจากนี้นมแม่ยังคงมีประโยชน์สำหรับเด็กหรือพี่คนโตด้วย

การเริ่มนมแม่เร็วหลังคลอดช่วยลดการใช้หัวนมหลอกของทารก

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การใช้หัวนมหลอกของทารกมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่าทารกที่เริ่มนมแม่เร็วภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะลดการใช้หัวนมหลอกในปีแรกร้อยละ 25 และทารกที่เริ่มกินนมแม่ภายใน30 นาทีถึง 6 ชั่วโมงหลังคลอดจะลดการใช้หัวนมหลอกในปีแรกร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับทารกที่เริ่มกินนมแม่หลังจากนั้นหรือทารกที่ไม่ได้กินนมแม่1 ดังนั้น การแนะนำและให้คำปรึกษากับมารดาและครอบครัวถึงประโยชน์ของการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วนอกจากจะช่วยเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วนั้น ยังจะช่วยลดการใช้หัวนมหลอกในทารกในช่วงขวบปีแรกได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

1.        Braga VS, Vitolo MR, Kramer PF, Feldens EG, Feldens CA. Breastfeeding in the First Hours of Life Protects Against Pacifier Use: A Birth Cohort Study. Breastfeed Med 2020;15:516-21.

การรวมกลุ่มของมารดาในสื่อเครือข่ายสังคมช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจุบันมือถือถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่คนในสังคมจำเป็นต้องมี ในประเทศไทยร้อยละ 80 ของประชากรมีมือถือ และพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่มีมือถือจะมีการใช้สื่อเครือข่ายสังคมทางอินเตอร์เน็ตอย่างน้อย 1 แอปพริเคชั่น โดยในคนไทยจะมีการใช้ line สูงสุด รองลงมาคือ facebook มีการศึกษาพบว่า การรวมตัวเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือกันในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา และช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย1 ดังนั้น เทคโนลีโยในการสื่อสารในยุคใหม่ อาจเป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

1.        Black R, McLaughlin M, Giles M. Women’s experience of social media breastfeeding support and its impact on extended breastfeeding success: A social cognitive perspective. Br J Health Psychol 2020;25:754-71.