รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การชักนำการคลอดคือ การกระตุ้นให้มารดาที่ยังไม่เข้าสู่ระยะคลอดให้เข้าสู่ระยะคลอดหรือเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งการตัดสินใจชักนำการคลอดจะใช้ในกรณีที่การคลอดจะเป็นผลดีต่อมารดาและทารกมากกว่าการปล่อยให้มารดารอเจ็บครรภ์คลอดเอง ดังนั้น มารดาที่ได้รับการชักนำการคลอดส่วนหนึ่งปากมดลูกยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ระยะคลอด จึงต้องใช้ยาในการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์ โดยยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ออกซิโตซินสังเคราะห์ สำหรับระยะเวลาของการรอคลอดในมารดากลุ่มนี้ มักใช้เวลานานกว่ามารดาที่เจ็บครรภ์คลอดเองและเข้าสู่ระยะของการคลอดแล้ว จึงอาจมีผลเสียต่อการเริ่มต้นการให้ลูกกินนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด1 เนื่องจากการคลอดที่ใช้เวลานาน จะทำให้เกิดการอ่อนเพลียของมารดาและทารก ทำให้มารดาและทารกขาดความพร้อมที่เริ่มกินนมในระยะแรกหลังคลอด ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการชักนำการคลอด บุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลมารดาและทารกในกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดเสมือนกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการที่จะมีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า
เอกสารอ้างอิง
1. Bryanton J, Montelpare W, Drake
P, Drake R, Walsh D, Larter K. Relationships Among Factors Related to
Childbirth and Breastfeeding Outcomes in Primiparous Women. J Obstet Gynecol
Neonatal Nurs 2020.
การบีบน้ำนมด้วยมือเพื่อระบายน้ำนมสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดจากการตึงคัดเต้านมได้ โดยในมารดาที่มีน้ำนมมาดี จะเห็นลักษณะของน้ำนมพุ่ง
ท่านอนตะแคงให้นมลูก เป็นท่าที่เป็นประโยชน์แก่มารดา เนื่องจากสามารถพักผ่อนไปพร้อมกับให้นมลูกและยังเหมาะกับมารดาหลังผ่าตัดคลอด
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ในด้านต่าง
ๆ การพัฒนาการด้านการทำงานของกล้ามเนื้อ และความเฉลียวฉลาด แต่เมื่อเร็ว ๆ
นี้มีการศึกษาที่สนับสนุนข้อมูลนี้โดยพบว่า ทารกเพศหญิงที่กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยสามเดือนที่เจริญเติบโตเข้าสู่วัยเด็กก่อนวัยเรียนจะมีพัฒนาการทางด้านการรับฟังภาษาดีกว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่โดยไม่ขึ้นกับตัวแปรของไอคิว
อายุ และดัชนีมวลกายของมารดา1 ดังนั้นนี่อาจจะเป็นข้อมูลอีกหนึ่งข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่มีต่อพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้หรือความฉลาดที่พบมากกว่าในทารกที่แม่มีโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
เอกสารอ้างอิง
1. Guzzardi MA, Granziera F,
Sanguinetti E, Ditaranto F, Muratori F, Iozzo P. Exclusive Breastfeeding
Predicts Higher Hearing-Language Development in Girls of Preschool Age.
Nutrients 2020;12.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
แม้ว่าความตั้งใจ
ความมุ่งมั่นและความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ยังมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมถึงตำแหน่งที่ที่มารดาอยู่ก็ยังมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย
เหตุผลของความสัมพันธ์นี้เกิดจากการที่แต่ละพื้นที่มีองค์กรที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ไม่เท่าเทียมกัน
ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าถึงการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดามีความแตกต่างกัน
ทำให้ผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดามีความแตกต่างกันด้วย1 ดังนั้น การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ทำให้มารดามีโอกาสจะเข้าถึงจากทุก
ๆ ที่โดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจเป็นคำตอบที่จะช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันของการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละพื้นที่
เอกสารอ้างอิง
1. Grubesic TH, Durbin KM.
Geodemographies of Breastfeeding Support. J Hum Lact 2020:890334420941416.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)