รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้นมลูก
มารดาควรนั่งโดยหนุนหลังให้พอเหมาะหรือนอนในท่าที่สบาย และนำทารกเข้ามาใกล้ตัว มารดาควรจัดท่าให้นมทารกในลักษณะที่ช่วยให้ปากของทารกแนบสนิทกับเต้านมได้ดี
โดยอาจประคองเต้านมด้วยนิ้วทั้งสี่ด้านล่างและนิ้วหัวแม่มือวางอยู่บนเต้านมเบา ๆ
ซึ่งมักเรียกว่า “การประคองเต้านมในลักษณะรูปตัวซี (C
hold)” และควรทำการขยับทารกเข้าใกล้เต้านมโดยให้จมูกของทารกตรงกับตำแหน่งหัวนม
จากนั้นขยับศีรษะทารกให้เอนไปด้านหลังเล็กน้อย เพื่อให้ปากทารกประกบเข้าที่หัวนมโดยให้คางของทารกแนบชิดกับเต้านมและอยู่ใต้ลานนม1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
ในการให้นมแก่ทารก
ทารกควรอยู่ในช่วงที่หลับตื้น หรืออยู่ในสภาพตื่นตัวที่สงบ แต่ต้องไม่ร้องไห้ หากทารกร้องไห้ควรทำให้ทารกสงบลงก่อนที่จะกระตุ้นให้ทารกเริ่มดูดนมแม่
ทารกที่ง่วงนอนจะไม่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติและอาจไม่ยอมอมหัวนมและลานนมหรือเข้าเต้า
การคลายผ้าที่ห่อตัว และการเปลื้องผ้าทารกออก อาจช่วยปลุกทารกที่ง่วงนอนได้
การนวดหลังหรือฝ่าเท้าของทารกอย่างนุ่มนวลก็อาจช่วยได้เช่นกัน1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลและหลังจากมารดาและทารกได้รับอนุญาตให้กลับบ้านจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ โรงพยาบาลสามารถช่วยส่งเสริมการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้ด้วยการสนับสนุนการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอด นอกจากนี้ การให้คำปรึกษาก่อนคลอดและการอนุญาตให้กลับบ้านควรมีหัวข้อการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออยู่ด้วย โดยบิดาและผู้ใหญ่คนอื่นที่เป็นสมาชิกในครอบครัวก็สามารถมีส่วนร่วมในการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้ในเวลาที่มารดานอนพัก อาบน้ำหรือจัดการภาระงานอื่น ๆ1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
มีการพบหลักฐานเพิ่มขึ้นที่บ่งชี้ว่า
คู่มารดาและทารกที่มีโอกาสจัดวางให้ทารกแรกเกิดที่ไม่ได้ห่อผ้าให้ผิวทารกสัมผัสกับผิวของมารดาทันทีหลังคลอด
(skin
to skin contact) จะพบปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยลง (รูปที่ 2.5)
การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะกระตุ้นการสร้างน้ำนมและเพิ่มความพึงพอใจของทารก
สำหรับทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับผลกระทบยาที่ใช้ในระยะคลอด
การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยให้ทารกสามารถแสดงพฤติกรรมการคืบคลานเข้าไปหาเต้านมของมารดา
โดยที่บางคนจะสามารถเริ่มดูดนมแม่ได้ภายในชั่วโมงแรก นอกจากนี้ยังพบว่า
การคงการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อต่อเนื่องไปจากในระยะคลอดช่วงแรกจะช่วยสนับสนุนความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
โดยแม้แต่ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอด
การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อก็สามารถทำได้โดยการวางทารกไว้ที่บริเวณหน้าอกมารดาทันทีที่มารดาตื่นตัว
และยังพบอีกด้วยว่าทารกที่ได้รับการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อหลังคลอดจะพบปัญหาในการเข้าเต้ายากได้น้อยกว่า1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน
พัวพรพงษ์
ในระหว่างที่ทารกกินนมแม่
ทารกอาจมีการกระตุ้นกลไกน้ำนมพุ่งได้หลายครั้ง
โดยที่ในแต่ละครั้งที่ทารกดูดนมออกมาจะพบว่าน้ำนมมีไขมันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยน้ำนมส่วนหน้าที่มีอยู่ในเต้านมในช่วงเริ่มต้นของการกินนมแม่
จะมีไขมันประมาณร้อยละ 1.5-2 ในขณะที่น้ำนมส่วนหลังที่อยู่ในตอนท้ายของการกินนม
จะมีไขมันประมาณร้อยละ 5-6 การให้ทารกกินนมตามความต้องการโดยไม่จำกัดเวลาจะช่วยให้ทารกได้รับ
“น้ำนมส่วนหลัง” ที่มีปริมาณไขมันสูงมากขึ้นรวมทั้งได้รับวิตามินที่ละลายในไขมัน
และได้รับพลังงานเพียงพอที่เพิ่มน้ำหนักให้แก่ทารก และช่วยให้ทารกสามารถรอคอย 2-3
ชั่วโมงจากการให้นมครั้งแรกจนถึงการเริ่มให้นมครั้งต่อไป
ความถี่ในการให้นมเป็นตัวควบคุมปริมาณน้ำนม ยิ่งทารกดูดระบายน้ำนมออกบ่อยเท่าไหร่ ยิ่งมีการสร้างปริมาณน้ำนมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม หากทารกที่หลับนานครั้งละหลายชั่วโมงในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หรือกินนมเฉลี่ยน้อยกว่า 8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ความถี่ในการให้นมจะไม่เพียงพอในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม จะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง การควบคุมลักษณะนี้ เรียกว่า “กฎแห่งอุปสงค์และอุปทาน” และเนื่องจากเต้านมแต่ละข้างจะตอบสนองต่อการดูดระบายน้ำนมและสร้างน้ำนมตามที่ทารกต้องการ จึงเป็นไปได้ที่จะให้นมแม่อย่างเดียวมากกว่าหนึ่งคนต่อครั้งหรือใช้เพียงเต้าเดียวในการเลี้ยงลูกหนึ่งคน แต่หากในระยะแรกน้ำนมแม่ไม่ได้มีการระบายออกจากเต้า น้ำนมจะเต็มเต้าและมีอาการคัดตึงในที่สุด และเมื่อถึงจุดนั้นสารในน้ำนมเองจะตอบสนองโดยการยับยั้งการสร้างน้ำนม (feedback inhibitor of lactation) ทำให้น้ำนมลดลง1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)