รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
วิธีที่ทารกประกบปากแนบสนิทกับเต้านมโดยอมหัวนมและลานนมเข้าไปในปาก
เรียกว่า “การเข้าเต้า” หรือ “การคาบและอมหัวนมและลานนม” ของทารก
ซึ่งการเข้าเต้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการป้องกันปัญหาในระยะเริ่มต้นที่นำไปสู่การหย่านมก่อนวัยอันควร
ทารกปกติที่คลอดครบกำหนดจะเกิดมาพร้อมกับมีพฤติกรรมและปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติหลายอย่าง รวมถึงปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติที่จะกระตุ้นให้ทารกอ้าปากและหันเข้าหาเต้านมเมื่อหิวที่เรียกว่า “รูทติ้งรีเฟล็กซ์ (rooting reflex)” การแตะเบา ๆ ที่ตรงกลางของริมฝีปากบนของทารกจะช่วยกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัตินี้ เมื่อมารดานำทารกเข้าเต้า มารดาควรจัดทิศทางหัวนมให้เล็งมุ่งไปที่เพดานปากของทารกขณะที่ทารกอ้าปากกว้าง เมื่อนั้นทารกจะยื่นลิ้นลงไปข้างหน้าเหนือเหงือกล่างเพื่อช่วยดึงหัวนมเข้าปาก จะทำให้เกิดการประกบปากแนบชิดกับเต้านม และอมหัวนมและลานนมอย่างเหมาะสม ทารกที่กำลังร้องไห้จำเป็นต้องมีการปลอบให้ทารกสงบลงก่อน เนื่องจากโดยปกติลิ้นจะยกขึ้นระหว่างร้องไห้แต่ขณะที่ทารกจะทำการเข้าเต้าและดูดนมแม่ ลิ้นของทารกจะต้องขยับลงและยื่นไปข้างหน้า และเมื่อทารกเข้าเต้าได้อย่างถูกต้องริมฝีปากของทารกที่ประกบกับเต้านมจะปลิ้นออกเหนือบริเวณลานนม 1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การจัดท่านอนตะแคงข้างให้นมลูก ทำโดยจัดให้มารดาและทารกนอนเคียงข้างกัน ตะแคงตัวเข้าหากันโดยให้แขนท่อนล่างของมารดายื่นออกมาหรืออาจใช้ประคองตัวทารก ท่านี้มารดาสามารถพักผ่อนไปพร้อมกับการให้นมลูกได้ และยังเหมาะสำหรับมารดาที่ผ่าตัดคลอด เพราะทารกจะไม่ไปกดทับบริเวณแผลผ่าตัดขณะกินนม
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ท่าอุ้มขวางตัก
ทารกนอนอยู่บนตักของมารดา ศีรษะของทารกวางอยู่บนแขนท่อนล่างของมารดาหรืออยู่ในมือของมารดาข้างที่ให้นม ศีรษะของทารกไม่ควรอยู่ตรงข้อพับแขนของมารดาเพราะจะทำให้ตำแหน่งทารกอยู่ทางด้านข้างมากเกินไป ทำให้ทารกต้องก้มศีรษะไปข้างหน้าและไม่สามารถเอาคางและลิ้นเข้าไปใต้หัวนมได้1
ท่าอุ้มขวางตักประยุกต์
ทารกนอนอยู่บนตักของแม่ แขนที่ประคองลำตัวและคอทารกจะเป็นด้านตรงข้ามกับเต้านมที่ทารกกินและคอตรงข้ามของแม่
การใช้ท่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับทารกแรกเกิดและทารกตัวเล็กมาก โดยจะทำให้แม่ควบคุมศีรษะและคอของทารกได้ดีกว่าท่าอุ้มขวางตัก1
ท่าอุ้มฟุตบอล
ในท่านี้ทารกและมารดาจะอยู่ในท่านั่ง โดยทารกนั่งหันหน้าเข้าหามารดา ขาของทารกจะอยู่ใต้แขนมารดา มือของมารดาจะรองรับหลังและคอของทารก ท่านี้จะทำให้มารดาให้นมได้สะดวกในกรณีที่มารดามีการผ่าตัดคลอด เนื่องจากน้ำหนักของทารกจะไม่กดทับบริเวณแผลผ่าตัด และในทารกที่ง่วงนอนการให้นมท่านี้อาจช่วยให้ทารกตื่นตัวและกินนมได้ดีขึ้นจากการที่ลำตัวทารกอยู่ในท่าตั้งตรงมากขึ้น1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การจัดท่าให้นมลูก หากมารดาอยู่ในท่านั่ง
ควรจัดท่าให้ทารกอยู่ในระดับเดียวกับเต้านมของมารดา โดยหันหน้าท้องของทารกเข้าไปหาหน้าท้องของมารดาในลักษณะ
“หน้าท้องชิดหน้าท้อง” และหนุนรองรับลำตัวของทารกด้วยหมอน
สำหรับการจัดท่าให้นมลูกแบบทารกนำ หรือจัดตามลักษณะทางชีวภาพ มารดาควรได้รับคำแนะนำให้อยู่ในท่าเอนหลัง จากนั้นวางทารกถูกไว้บนหน้าอกของมารดาและเปิดโอกาสให้ทารกได้ใช้ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติและพฤติกรรมตามธรรมชาติที่จะค้นหาเต้านม อมหัวนมและลานนม และเริ่มการกินนมแม่เองได้1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในระหว่างการให้นม
มือของมารดาที่ประคองเต้านม
นิ้วหัวแม่มือและนิ้วที่เหลือของมารดาควรอยู่ห่างจากลานนม เพื่อให้ทารกสามารถประกบปาก
อมหัวนมและลานนมได้โดยนิ้วมือที่ประคองเต้านมจะไม่รบกวนหรือขัดขวางการอมหัวนมและลานนม
บ่อยครั้งที่เราเห็นมารดาขยับเต้านมให้หาทารกโดยใช้การวางนิ้วมือแบบกรรไกร ซึ่งจะเป็นการประคองจับหัวนมให้อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง
ในลักษณะเช่นนี้ นิ้วของมารดาจะมีโอกาสที่จะอยู่ใกล้กับลานนม
ทำให้เกิดการรบกวนการอมหัวนมและลานนมของทารกได้ และทำให้การเข้าเต้านั้นไม่เหมาะสม1
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study
modules, level 1,
fourth edition. In: International
W, ed.2014.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)