เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

ทารกดูดนมไม่มีประสิทธิภาพและข้อควรระวังในการช่วยจัดท่าทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การสังเกตการดูดนมที่ไม่มีประสิทธิภาพ1 สังเกตได้จาก

  • ไม่ได้ยินเสียงกลืนนมของทารก
  • การดูดนมของทารกจะมีลักษณะที่ขยับถี่ ๆ คือจะสั้นและเร็ว
  • แม่อาจรู้สึกเจ็บปวด

สำหรับข้อควรระวัง หากมีผู้ช่วยที่จะช่วยมารดาในการเข้าเต้ามือของผู้ช่วยควรประคองศีรษะ คอและไหล่ ในลักษณะที่อยู่ใต้ท้ายทอยของทารก เพราะหากอยู่เหนือท้ายทอย เวลาเคลื่อนทารกเข้าเต้า แรงที่เคลื่อนทารกจะไปกดศีรษะให้ก้ม ทำให้การเข้าเต้าที่เหมาะสมของทารกทำได้ยาก1

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

จะสังเกตได้อย่างไรว่าทารกเข้าเต้าไม่เหมาะสม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

หากทารกเข้าเต้าได้ไม่ดีหรือไม่เหมาะสม1 จะสังเกตเห็น

  • ริมฝีปากของทารกเม้มแน่น
  • จะพบช่องว่างระหว่างคางทารกกับเต้านมมารดา
  • จะพบช่องว่างระหว่างจมูกของทารกและเต้านมมารดา
  • ริมฝีปากล่างของทารกจะม้วนเข้าด้านใน
  • แม่อาจรู้สึกเจ็บปวด
  • หัวนมมารดาจะแบนลงหลังจากให้นม
  • อาจพบหัวนมมารดาถลอกหรือแตก

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

จะสังเกตได้อย่างไรว่าทารกเข้าเต้าได้ดี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

หากทารกมีการเข้าเต้าได้ดีหรือถูกต้อง1 จะสังเกตเห็น

  • ริมฝีปากของทารกจะปลิ้นออก
  • ปากของทารกจะอ้ากว้าง
  • คางของทารกจะชิดเต้านม
  • มองเห็นลานนมของมารดาเหนือริมฝีปากบนมากกว่าด้านล่างของริมฝีปากล่างหากมารดามีลานนมขนาดใหญ่ โดยลักษณะการเข้าเต้าลักษณะนี้จะเรียกว่า “การเข้าเต้าแบบไม่สมมาตร (asymmetrical latch)”

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

ขั้นตอนในการนำทารกเข้าเต้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ขั้นตอนในการนำทารกเข้าเต้า เริ่มจากกระตุ้น รูทติ้งรีเฟล็กซ์(rooting reflex) โดยการสัมผัสริมฝีปากบนของทารกด้วยหัวนมของมารดา จากนั้น เคลื่อนทารกเข้าหาเต้านมขณะที่ทารกอ้าปากกว้างเพื่อที่จะอมหัวนมและลานนม1

หากทารกมีการเข้าเต้าได้ดีหรือถูกต้อง จะสังเกตเห็น

  • ริมฝีปากของทารกจะปลิ้นออก
  • ปากของทารกจะอ้ากว้าง
  • คางของทารกจะชิดเต้านม
  • มองเห็นลานนมของมารดาเหนือริมฝีปากบนมากกว่าด้านล่างของริมฝีปากล่างหากมารดามีลานนมขนาดใหญ่ โดยลักษณะการเข้าเต้าลักษณะนี้จะเรียกว่า “การเข้าเต้าแบบไม่สมมาตร (asymmetrical latch)”

แสดงดังรูปที่ 1-5 ตามลำดับ

เอกสารอ้างอิง

1.        Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.

กลไกการทำงานภายในช่องปากขณะทารกเข้าเต้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ตำแหน่งการทำงานของลิ้นขณะที่ทารกเข้าเต้ามีความสำคัญ ซึ่งขณะที่ทารกเข้าเต้านั้น การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของลิ้นของทารกจะต้องมีการกดหัวนมและลานนมเข้ากับเพดานแข็งในปากทารก จากนั้นการมีการขยับลงบริเวณด้านหลังของลิ้นและเพดานอ่อนทำให้เกิดสุญญากาศ โดยความดันภายในช่องปากที่ลดลงนี้ จะส่งผลให้น้ำนมจากลานนมไหลเข้าไปในปากทารก ซึ่งจะไปกระตุ้นการดูดและการกลืนในรูปแบบที่เป็นจังหวะของทารก

อย่างไรก็ตาม มารดาควรมีการประเมินการเข้าเต้าว่าปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมก่อนอนุญาตให้มารดากลับบ้าน สำหรับการให้ความช่วยเหลือมารดาในการเรียนรู้วิธีการเข้าเต้าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันปัญหาและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หมายเหตุ: ควรทำการสังเกตการให้นมบุตรทุกครั้งก่อนเข้าไปขัดจังหวะและแนะนำการรักษา เพราะมารดาและทารกอาจทำได้ดีอยู่แล้วและอาจต้องการเพียงกำลังใจเท่านั้น1

เอกสารอ้างอิง

1.            Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.