การหยุดนมแม่เร็วเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการออทิสติก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ปัจจุบันโรคออทิสติกพบมากขึ้น ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมหรือสภาพสังคมและค่านิยมที่เปลี่ยนไป ลักษณะหรืออาหารการกินที่มีการเปลี่ยนแปลง ล้วนมีผลกระทบต่อกลุ่มอาการออทิสติก มีการศึกษาพบว่า การใช้ยาแก้ปวด การใช้ยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อที่หู และการหยุดให้นมแม่เร็วเพิ่มความเสี่ยงในทารกที่จะเกิดกลุ่มอาการออทิสติก1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในระยะหลังคลอดโดยไม่จำเป็น ระมัดระวังอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อที่หู และสนับสนุนให้แม่ให้นมลูกตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้น ให้ทารกกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนครบสองปีหรือตามความต้องการของมารดาและทารก ซึ่งก่อนการให้การดูแลรักษา ควรมีการให้ข้อมูลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มี เพื่อให้มารดาและครอบครัวมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยความเต็มใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Bittker SS, Bell KR. Acetaminophen, antibiotics, ear infection, breastfeeding, vitamin D drops, and autism: an epidemiological study. Neuropsychiatr Dis Treat 2018;14:1399-414.