การให้ลูกกินนมแม่ในมารดาที่อ้วน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การที่มารดาอ้วนมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร โดยมีโอกาสที่จะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดเพิ่มขึ้น โอกาสที่จะผ่าตัดคลอดสูงขึ้น การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ช้า และระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มักจะสั้นกว่ามารดาที่มีน้ำหนักปกติ มีการศึกษามุมมองของมารดาที่อ้วนต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า มีความท้าทายสามเรื่องที่มารดาต้องเผชิญ เรื่องแรกคือ มารดายังคงมีการตั้งความหวังว่าจะให้ลูกได้กินนมแม่ การที่มารดามีน้ำนมจะทำให้มารดาปลาบปลื้ม เนื่องจากให้นมลูกแสดงถึงบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร เรื่องที่สอง แม้ว่าการให้นมลูกจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทราบเทคนิคในการที่จะนำลูกเข้าเต้าเพื่อการดูดนมได้อย่างเหมาะสม เรื่องที่สามคือ การที่มารดาจะต้องนมแม่ในที่สาธารณะ ความวิตกกังวลในการที่ต้องเปิดเผยส่วนของร่างกายที่อ้วนอาจส่งผลต่อจิตใจและความมั่นใจของมารดาในการที่จะให้นมแม่ในที่สาธารณะ1 จะเห็นว่า เรื่องที่มารดาที่อ้วนมีความวิตกกังวลมีความคล้ายคลึงกับมารดาโดยทั่วไป แม้ว่ามารดาที่อ้วนจะมีความเสี่ยงในการที่จะหยุดนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น การติดตามหรือให้คำปรึกษาและดูแลมารดาและทารกอย่างใกล้ชิดจะลดปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Claesson IM, Larsson L, Steen L, Alehagen S. “You just need to leave the room when you breastfeed” Breastfeeding experiences among obese women in Sweden – A qualitative study. BMC Pregnancy Childbirth 2018;18:39.